การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชดัดแปลงพันธุกรรม
วันที่เขียน 15/3/2559 9:46:06     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 8:17:00
เปิดอ่าน: 4004 ครั้ง

ประเทศไทยมีการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม เช่น ถั่วเหลืองต้านทานยาปราบวัชพืช และข้าวโพดต้านทานหนอนเจาะฝัก มาเพื่อใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ซึ่งในกระบวนการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้จะต้องผ่านการตรวจสอบการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารก่อน โดยกระบวนการประเมินเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างองค์การอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่ง สวทช.จะต้องคณะผู้เชี่ยวชาญมาประเมินพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น โดยมีกรอบประเด็นการประเมินอยู่ 4 ด้านคือ ด้านชีววิทยาโมเลกุล ด้านโภชนาการ ด้านการก่อพิษ และการก่อภูมิแพ้ การประเมินจะประเมินบนพื้นฐานความเทียบเท่าโดยสาระสำคัญ (substantial equivalence)โดยพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะนำเข้านั้นจะต้องมียีน ลักษณะการแสดงออก การถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นไปตามคุณสมบัติของพืชดัดแปลงพันธุกรรมนั้น พร้อมทั้งมีสารอาหารที่ครบถ้วนไม่แตกต่างจากพืชคู่เทียบ(ไม่มีการตัดแปลงพันธุกรรม) และโปรตีนที่เกิดจากยีนที่ใส่เข้าไปจะต้องไม่ก่อให้เกิดพิษและก่อภูมิแพ้ หรือไม่มีหลักฐานชี้นำที่จะก่อพิษและก่อภูมิแพ้เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลสารพิษและสารก่อภูมิแพ้

ข้าพเจ้า นางสาวนฤมล เข็มกลัดเงิน ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเรื่องการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชดัดแปลงพันธุกรรม หลักสูตรขั้นประยุกต์ ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพมหานคร ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมการอบรมเลขที่ ศธ 0523.4.9.1/031 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

ประเทศไทยมีการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) หลายชนิด ทั้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารต่างๆ ซึ่งในการนำเข้าพืชจีเอ็มโอเหล่านี้จะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชจีเอ็มโอเหล่านี้ก่อน ซึ่งการประเมินความปลอดภัยนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยบริษัทที่ต้องการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องยื่นเอกสารข้อมูลของพืชนั้นๆ มาที่ อย. แล้วทางอย. จึงส่งข้อมูลดังกล่าวมาที่สวทช. เพื่อให้คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชชนิดนั้น โดยการประเมินจะประเมินบนพื้นฐานความเทียบเท่าโดยสาระสำคัญ (substantial equivalence ) ของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมกับอาหารดั้งเดิม (conventional counterpart) โดยประเมิน 4 ประเด็นหลัก คือ ด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) ด้านโภชนาการ (nutrition) ด้านการก่อพิษ (toxicity) และการก่อภูมิแพ้ (allergenicity) ซึ่งการประเมินในแต่ละประเด็นจะประเมินดังนี้

  1. ด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล จะตรวจสอบเกี่ยวกับการข้อมูลโดยทั่วไปของพืชที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรม วิธีการดัดแปลงพันธุกรรม ยีน/ข้อมูลองค์ประกอบของยีนที่ใช้ให้เกิดลักษณะที่ต้องการ ข้อมูลการแทรกของยีนในจีโนม ทั้งตำแหน่งและจำนวน การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมและการคงอยู่ของลักษณะนั้นๆ รวมถึงการตรวจสอบระดับการแสดงออกของโปรตีนที่เนื้อเยื่อต่างๆของพืช รวมถึงโอกาสการทำให้เกิดการถอดรหัสใหม่และการถ่ายทอดไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเช่นกัน
  2. ด้านโภชนาการ จะประเมินว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีองค์ประกอบทางด้านโภชนาการครบถ้วนเทียบเท่ากับพืชที่ไม่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่ โดยพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าได้กับพืชที่ใช้เป็นคู่เทียบ โดยคู่เทียบจะเป็นพืชสายพันธุ์ที่ใช้ก่อนการดัดแปลงพันธุกรรม
  3. ด้านการก่อพิษ จะประเมินลักษณะทางเคมี บทบาทหน้าที่ และปริมาณของโปรตีนใหม่ที่เกิดจากยีนที่ใส่เข้าไปในพืช  ความคล้ายคลึงของโปรตีนใหม่กับสารพิษในฐานข้อมูล ความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อความร้อน (Heat stability) ความเสถียรของโปรตีนใหม่ต่อระบบจำลองของกระเพาะและลำไส้ Simulated Gastric Fluid (SGF) / Simulated Intestinal Fluid (SIF) ข้อมูลการทดสอบความเป็นพิษของโปรตีนใหม่ในสัตว์ทดลอง โดยโปรตีนใหม่จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมจะต้องไม่ก่อให้เกิดสารพิษทั้งแบบรุนแรงและเรื้อรังกับสัตว์ทดลองที่ใช้
  4. ด้านการก่อภูมิแพ้ การประเมินด้านนี้จะต้องประเมินถึงแหล่งที่มาของดีเอ็นเอ น้ำหนักโมเลกุลของโปรตีนใหม่ โดยโปรตีนใหม่นี้จะต้องไม่มีความคล้ายคลึงกับโปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในมนุษย์โดยเทียบกับฐานข้อมูลสารก่อภูมิแพ้ในปัจจุบัน

 ทั้งนี้ในการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านอาหารของพืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้จะประเมินจากข้อมูลที่เกิดการจากทดลองที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทางบริษัทส่งมาให้ โดยพืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้จะต้องมีลักษณะตรงตามที่บริษัทกล่าวอ้าง มีลักษณะทางโภชนาการที่เทียบเท่ากับคู่เทียบ ไม่ก่อให้เกิดพิษและก่อภูมิแพ้ ตามฐานข้อมูลสารพิษและสารก่อภูมิแพ้ที่มีในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญประเมินความปลอดภัยตามประเด็นที่กล่าวข้างต้นแล้วจะส่งผลการประเมินไปยังอย.เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการอนุญาตการนำเข้าต่อไป

จากการอบรมในครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนทั้งวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (วท 101) และวิชาพันธุศาสตร์เบื้องต้น (ชว 340) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ในการประเมินด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลไปใช้ในงานวิจัยได้อีกด้วย

  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=485
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 14:31:04   เปิดอ่าน 17  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 18/4/2567 16:48:13   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 19/4/2567 4:33:02   เปิดอ่าน 74  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง