1.การแสดงออกของโปรตีนตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงขนาดเล็ก (OsHSP18) จากข้าวไทยในแบคทีเรีย E.coli จากการทดลองพบว่ายีนชนิดนี้จะมีการแสดงออกมากขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้นและจากการศึกษาโปรตีน OsHSP18 พบว่าสารนี้น่าจะเป็นพิษต่อแบคทีเรียและไม่พบโดเมน PATSDND จึงทำให้เซลล์ที่มีโปรตีน OsHSP18 มีการรอดชีวิตไม่แตกต่างจากเซลล์เจ้าบ้าน 2.การวิเคราะห์การแสดงออกและลำดับบางส่วนของยีน OsDFR ในข้าวขาวและข้าวดำ จากการทดลองพบว่า ข้าวดำทุกพันธุ์มีการแสดงออกของยีนOsDFRในเมล็ดสูงกว่าในใบ ข้าวขาว กข 6 อาจมียีน OsDFR ที่มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งอื่น ส่วนการวิเคราะห์ลำดับเบสและกรดอมิโนบริเวณ exon ที่ 2 พบว่าข้าวดำพันธุ์ก่ำมีลำดับเบสเหมือนข้าวดำลืมผัว 3.การพัฒนาการถ่ายยีนเข้าสู่ embryo ของเมล็ดข้าวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง จากการทดลองพบว่าใช้วิธีSAATกับVIAATของข้าว กข 41เป็นการถ่ายยีนโดยไม่ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อพัฒนาข้าวดัดแปลงพันธุกรรมสำหรับใช้ศึกษาบทบาทหน้าที่ของยีนและใช้เป็นวิธีในการสร้างพันธุ์ข้าวใหม่ต่อไป 4.การใช้เครื่องหมายRAPD (Random Amplification Polymorphic DNA) จากการทดลอง พบว่า RAPD ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งในการทำลายพิมพ์ DNAโดยใช้เทคนิค PCR โดยมีหลักการที่จะสุ่มเลือก Primer ใด ๆ สามารถในการตรวจสอบความแตกต่างระหว่างลำไยลูกผสมพันธุ์แห้วกับพันธุ์ดอก้านแข็งโดยใช้ไพรเมอร์ c14 G08และ I20และลูกผสมที่เกิดขึ้นจะใช้ในการศึกษาลักษณะทางการเกษตรต่อไป 5.การผลิตก๊าซชีวภาพจากฟางข้าวโดยกระบวนการย่อยสลายในสภาวะไร้อากาศแบบแห้ง ทำให้ได้มีเทนสูงประมาณ 50%หรือคิดเป็นปริมาณก๊าซชีวภาพได้ 905.28 ล./กก. และในระยะเวลาหมัก 30 วันจะได้ปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมทั้งหมด 263.21 ล./กก.ส่วนประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งระเหยได้ 54.25% ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของมหาวิทยาลัยที่พัฒนาการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต