ความปลอดภัยทางชีวภาพ และชีวนิรภัย (Biosafety and Biosecurity)
วันที่เขียน 23/2/2559 20:01:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 20:34:15
เปิดอ่าน: 8336 ครั้ง

ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญและรับรองในหลักการทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหากต้องการให้งานวิจัยของหน่วยงานเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการของโลก ก็ต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ โดยอาศัยหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพนี้เป็นแนวทาง

การสัมมนา หัวข้อ Biosafety and Biosecurity for Microbiologist ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยเครือข่ายศูนย์เก็บรักษาจุลินทรีย์แห่งประเทศไทย (Thailand Network on Culture Collection: TNCC) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ ศูนย์จุลินทรีย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริงเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ และชีวนิรภัย ให้กับนักวิจัยที่ดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์และเทคโนโลยีชีวภาพ

          ข้าพเจ้า ในฐานะที่เป็นนักวิจัยที่ใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อจุลินทรีย์จึงมีความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อดังกล่าวนี้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและมีมาตรฐาน อีกทั้งยังได้รับผิดชอบการสอนหัวข้อ ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) ในรายวิชา ชว351 เทคโนโลยีชีวภาพ2 อีกด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการบรรยายของวิทยากรมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนหัวข้อความปลอดภัยทางชีวภาพได้เป็นอย่างดี

          คำว่า “ความปลอดภัยทางชีวภาพ” และ “ชีวนิรภัย” เป็นหลักการด้านความปลอดภัยที่เน้นให้ความสำคัญต่อการลดอันตรายที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากสิ่งมีชีวิตที่กำลังศึกษาหรือใช้ประโยชน์อยู่  โดยความหมายของสองคำนี้มีความแตกต่างกันคือ “ความปลอดภัยทางชีวภาพ” จะเน้นหามาตรการเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์ แต่ “ชีวนิรภัย” จะเน้นหามาตรการป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตหรือสารจากสิ่งมีชีวิตหลุดรอดไปยังภายนอกแล้วทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและมนุษย์  แต่เนื่องจากซึ่งสิ่งมีชีวิตมีหลายประเภท และแต่ละประเภทส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงได้มีการจัดประเภทสิ่งมีชีวิตออกเป็นหลายกลุ่มตามอันตรายที่ก่อ ยกตัวอย่างเช่นจุลินทรีย์ที่ถูกจัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ Risk group 1-4 โดยกลุ่มที่ 4 จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีความอันตรายสูงสุด ไม่มียารักษา ดังนั้นห้องปฏิบัติการที่มีจุลินทรีย์กลุ่มนี้อยู่ จำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด นั่นคือห้องปฏิบัติการระดับ BSL4 

          ขั้นตอนการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ สามารถสรุปได้คือ

 

 

 

 

 

          ปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญและรับรองในหลักการทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพนี้ เพื่อประโยชน์ดังที่กล่าวไว้แล้ว ดังนั้นหากต้องการให้งานวิจัยของหน่วยงานเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการของโลก ก็ต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ โดยอาศัยหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพนี้เป็นแนวทาง  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=453
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง