สรุปความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์”
วันที่เขียน 4/9/2558 13:08:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 10:17:19
เปิดอ่าน: 9038 ครั้ง

พันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในเชิงวิชาการที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น ด้านการแพทย์ การเกษตร นิเวศวิทยา การอนุรักษ์และศึกษาความหลากหลายชีวภาพ รวมถึงด้านการเรียนการสอน

ข้าพเจ้า นางสาวยุพเยาว์ คบพิมาย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 “พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์” เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซนเตอร์ จ.ขอนแก่น ตามหนังสืออนุญาตเดินทางไปราชการเลขที่ ศธ 0523.4.9.1/125  ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้

จากการเข้าร่วมประชุมพบว่าความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์ในประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสตร์ต่างๆ มากมาย ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการแพทย์ ด้านนิเวศวิทยา ด้านการอนุรักษ์และศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ และด้านการเรียนการสอน โดยในแต่ละด้านก็มีความก้าวหน้ามากขึ้น ใกล้เคียงกับความรู้ในต่างประเทศ จะขอยกตัวอย่างการศึกษาในกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. พันธุศาสตร์กับการแพทย์ ในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในทารกก่อนคลอดรูปแบบใหม่ แทนแบบเดิมที่ต้องใช้เข็มเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงอาจทำให้เกิดการแท้ง โดยวิธีใหม่นี้เรียกว่า noninvasive prenatal testing (NIPT) ซึ่งเป็นการตรวจดีเอ็นเอของลูกที่อยู่ในพลาสมาของแม่ และดูจำนวน copy ยีนของตัวอ่อน ถ้ามี 2 copy ก็ถือว่าปกติ ถ้ามี 3 copy ก็น่าจะเป็นดาวน์ ดังนั้นจึงใช้วิธีเจาะเลือดของแม่ แทนที่จะเจาะท้องแล้วดูดทำคร่ำ วิธีนี้ให้ความเชื่อมั่นร้อยละ 98-99 เท่ากับวิธีดั้งเดิม แต่ข้อด้อยของวิธีนี้คือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง ดังนั้นผู้ที่สมควรจะได้รับการตรวจโดยวิธี NIPT คือ

- สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุเกิน 35 ปี เมื่อนับถึงวันครบกำหนดคลอด

- ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางพันธุกรรมแล้วพบว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อโครโมโซมผิดปกติชนิด aneuploidy

- มีประวัติคลอดลูกเป็น Trisomy 21, 18 หรือ 13

- สตรีตั้งครรภ์หรือสามีเป็น balance robertsonian translocation และมีความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์เป็น trisomy 21 หรือ 13

- สตรีตั้งครรภ์มีผลการตรวจกรองกลุ่มอาการดาวน์โดยวิธีการตรวจสารชีวเคมีในซีรั่มว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงสูงต่อโครโมโซมผิดปกติชนิด aneuploidy

2. พันธุศาสตร์กับการเกษตร พันธุศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการการปรับปรุงพันธุ์อย่างแพร่หลาย เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวให้มีรสชาติหวาน เหมือนข้าวเหนียวโรยน้ำตาล และมีสีม่วงทั้งเมล็ด ซัง และไหม ทำให้มีสารแอนโทไซยานินสูง ที่สามารถใช้เป็นแหล่งของสารแอนโทไซยานินที่มีราคาถูก และการสกัดสารทำได้ง่ายกว่าที่ได้รับจากพืชอื่น และได้มีการนำข้าวโพดพันธุ์ใหม่นี้มาใช้แบบบูรณาการเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทั้งในระดับครัวเรือนและระดับอุตสาหกรรม ทำให้ข้าวโพดข้าวเหนียวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทั้งหมดได้รับประโยชน์ นับตั้งแต่เกษตรกร ผู้แปรรูป ผู้ค้าและผู้บริโภค

3. ด้านนิเวศวิทยา ความรู้ทางพันธุศาสตร์สามารถนำมาใช้ในด้านการศึกษานิเวศวิทยาได้ โดยการใช้ลำดับนิวคลีโอไทด์ในการระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า “ดีเอ็นเอบาร์โค้ด” วิธีนี้มีความแม่นยำมากกว่าการใช้เฉพาะลักษณะทางสัณฐานวิทยาอย่างเดียว เพราะสิ่งแวดล้อมมีผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางลักษณะ นอกจากนี้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครงสร้างทางสังคมของสิ่งมีชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างสังคมของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างสังคมเชิงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  การกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตได้ วิธีการทางพันธุศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการศึกษานิเวศวิทยาของแมลงลิ้นดำในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

4. ด้านการอนุรักษ์และศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับแหล่งที่อยู่อาศัย ระดับชนิด และระดับพันธุกรรมภายในชนิด ความรู้ทางด้านพันธุศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชนิด และระดับพันธุกรรมภายในชนิด โดยการศึกษาชนิดของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปจะใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาในการจำแนก แต่บางครั้งลักษณะทางสัณฐานวิทยาก็ผันแปรไปตามสภาพแวดล้อมหรือบางลักษณะก็ไม่ปรากฏให้เห็น ดังนั้นจึงยากต่อการจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิต การศึกษายีนที่อยู่ในสิ่งมีชีวิตจะช่วยให้จำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิตได้เพราะยีนของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันและไม่ผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม และยังสะดวกเพราะไม่ต้องรอให้สิ่งมีชีวิตเจริญเต็มที่ก็สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ยังสามารถใช้ตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันได้ และหาความใกล้ชิดทางพันธุกรรมระหว่างชนิดของสิ่งมีชีวิต และระหว่างพันธุ์ภายในชนิดเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ใช้ศึกษาความหลายหลายทางพันธุกรรมของพืชตระกูลแตง ของนกปรอทหัวโขน และของกล้วยไม้ในประเทศไทย

5. ด้านการเรียนการสอน โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงวิชาพันธุศาสตร์ นักเรียนนักศึกษามักจะคิดว่ายาก วิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และสนใจเรียนมากขึ้นคือการนำภาพยนตร์หรือละครมาฉายให้ผู้เรียนดู แล้วให้ผู้เรียนวิเคราะห์เรื่องที่ได้ดูโดยอาศัยหลักการทางพันธุศาสตร์ เช่น การฉายภาพยนตร์เรื่อง Gattaga ที่เสนอแนวทางการคัดเลือกคนโดยใช้ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นหลัก หรือให้นักศึกษาวิเคราะห์การถ่ายทอดลักษณะของยีนพ่อมดในเรื่อง Harry Potter ว่าเป็นไปตามหลักการที่เมนเดลค้นพบหรือไม่ นอกจากนี้ยังอาจให้ผู้เรียนฝึกเขียนพันธุประวัติจากละครที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนสนุกในการเรียนและเข้าใจวิชาพันธุศาสตร์มากขึ้น

ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้สอนในหลายวิชาตามความเหมาะสม เช่น วิชาพันธุศาสตร์ของเซลล์ และพันธุศาสตร์พืช เป็นต้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=410
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 8:33:46   เปิดอ่าน 15  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง