รายงานสรุปการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 (ก.ค. 2558)
วันที่เขียน 4/9/2558 11:51:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 21:18:24
เปิดอ่าน: 3565 ครั้ง

ข้าพเจ้านางสาวนฤมล เข็มกลัดเงินได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 ขอรายงานการประชุมวิชาการโดยขอสรุปเรื่องที่สนใจหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของข้าพเจ้าในหัวข้อ การศึกษายีน regulator กลุ่ม WD40 ในปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.) ในงานวิจัยนี้ได้แยกยีน WD40 จากปทุมมา แล้วจึงศึกษาระดับการแสดงออกของยีนนี้ใน ดอก กลีบประดับ และใบของปทุมมา พบว่ายีนนี้แสดงออกมากในกลีบประดับทุกระยะ ซึ่งสอดคล้องกับการสะสมของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่ายีนนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบประดับของปทุมมา

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ

ข้าพเจ้า นางสาวนฤมล เข็มกลัดเงิน ตำแหน่ง อาจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 19 "พันธุศาสตร์และจีโนมิกส์: จากการศึกษาระดับโมเลกุลสู่การประยุกต์" เมื่อวันที่ 15-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ. โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น ตามหนังสือขออนุญาตเข้าร่วมการประชุม เลขที่ ศธ. 0523.4.9.1/83 ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ซึ่งการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณ การพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ 2 ดังนั้นจึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของประชุมวิชาการดัง ต่อไปนี้

การศึกษายีน regulator กลุ่ม WD40 ในปทุมมา (Curcuma alismatifolia Gagnep.)

แอนโทไซยานิน (anthocyanins) เป็นเม็ดสีที่ทำให้เกิดสีสันต่างๆในดอกไม้หลายชนิด โดยทำให้เกิดสีตั้งแต่สีสีแดงจนถึงสีม่วง กระบวนการสังเคราะห์แอนโทไซยานินถูกควบคุมด้วยยีนหรือโปรตีนหลายชนิดที่ทำหน้าที่ร่วมกัน เช่น การทำงานของกลุ่มของโปรตีน MYB-bHLH-WD40 (โปรตีน 3 ชนิด) ทึ่ควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในระดับการแสดงออกของยีน (transcriptional level) โดยพบว่าโปรตีน WD40 (WD40 repeat proteins) เป็นโปรตีนที่ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน (protein-protein interaction) ในกระบวนการสังเคราะห์แอนโทไซยานิน เช่น ในพิทูเนีย โปรตีน AN11 ซึ่งเป็นโปรตีนในกลุ่มของ WD40 สามารถเกิดปฎิสัมพันธ์กับ MYB protein AN2 และ bHLH protein AN1 เกิดเป็นคอมเพลกซ์ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบดอกและเยื่อหุ้มเมล็ดได้ สำหรับในปทุมมางานวิจัยของ Sitchanukrit และคณะ จากสาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถแยกยีน WD40-repeat จากกลีบประดับของดอกปทุมมาได้ โดยแยกยีนบางส่วนจากส่วนอนุรักษ์ของยีนโดยใช้ degenerate RT-PCR ก่อน แล้วจึงแยกยีนทั้งหมดโดยใช้วิธี rapid amplification of cDNA ends (RACE) – PCR โดยพบว่าลำดับดีเอ็นเอที่ได้สามารถแปลรหัสเป็นกรดอะมิโน 330 กรดอะมิโน และพบว่าลำดับดีเอ็นเอนี้อยู่ในกลุ่มเดียวกับยีน PAC1 จากข้าวโพดที่เป็นยีนควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินเช่นเดียวกัน นอกจากนี้นักวิจัยในกลุ่มนี้ยังได้ศึกษาการแสดงออกของยีน CaWD40 (ยีน WD40 จากปทุมมา) ในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยวิธิ Semi-quantitative RT-PCR พบว่า ยีน CaWD40 แสดงออกสูงในกลีบประดับทุกระยะ ซึ่งเป็นระยะที่มีการสะสมของเม็ดสีแอนโทไซยานินด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามระดับการแสดงออกของยีนนี้พบน้อยมากในดอกปทุมมาระยะต้นๆและจะแสดงออกเพิ่มขึ้นในระยะปลายของการพัฒนาดอก และไม่พบการแสดงออกของยีนนี้ในใบของปทุมมาที่มีสีเขียว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ยีน CaWD40 น่าจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมการสังเคราะห์แอนโทไซยานินในกลีบประดับของปทุมมา

ที่มา: Sitchanukrit B, Duerasor K, Leelapon O, Teerakathiti T, Kuleung C and Chanvivattana Y. (2015) Molecular cloning and analysis of a WD40-repeat gene controlling anthocyanin pigmentation in Curcuma alismatifolia Gagnep. Proceeding in National Genetics Conference 2015. 15-17 July 2015 at Centara Hotel and convention center Khonkaen. pp. 119-124

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร » Data Science คืออะไร และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
Data Science หรือ วิทยาการข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บข้อมูล (Collect) การจัดการข้อมูล (Manage) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) ไปจนถึงขั้นตอนการนำข้อมูลมาช...
Data Science  วิทยาการข้อมูล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 24/4/2567 13:27:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 19:30:08   เปิดอ่าน 13  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 14:41:56   เปิดอ่าน 28  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 26/4/2567 18:10:07   เปิดอ่าน 49  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง