Phylogenetics Tree Reconstruction
วันที่เขียน 3/9/2558 13:12:30     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/7/2568 4:04:50
เปิดอ่าน: 8851 ครั้ง

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Phylogenetics Tree Reconstruction จัดอบรมโดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เป็นโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้าน Molecular Phylogenetics โดยได้รับฟังบรรยาย และฝึกทำปฏิบัติการ จาก รองศาสตราจารย์ ดร.เจษฏา เด่นดวงบริพันธ์ และผู้ช่วยวิทยากร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันศาสตร์และเครื่องมือทางด้าน Molecular Phylogenetics มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาความหลากหลายของสิงมีชีวิต เพราะเป็นการนำเอาองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ร่วมกับการใช้ข้อมูลทางชีววิทยาโมเลกุล ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจในการศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอนุรักษ์ ในอีกหลายสาขาวิชา ตลอดการเข้าร่วมฝึกอบรมจะเป็นการฟังบรรยาย โดยเน้นที่หลักการสำคัญเกี่ยวกับ Basic molecular evolution, Molecular phylogenetics tree, Phylogenetics inference method และฝึกทำปฏิบัติการ DNA and protein sequence searching, Multiple sequence alignment, Phylogenetics tree and distance method, Maximum likelihood method, Bayesian method ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในฐานะผู้ใช้โปรแกรม (User) ทำให้เข้าใจ วิธีการ การใส่ข้อมูล การเลือกตัวแปร (parameter) การวิเคราะห์ และการเลือกใช้โปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งการวิเคราะห์และแปลผลที่ได้จากการใช้วิธีต่างๆ (Model analysis) การศึกษาทางด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน คือ การตรวจสอบวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างยีน (Gene) กับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามรถใช้โปรแกรมวิเคราะห์และแสดงออกมาในรูปของ Phylogenetics Tree และการศึกษาทางด้านนี้จะต้องพิจารณาถึง Monophyletic group คือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน และบอกกล่าวได้ว่าสิ่งมีชีวิตไหนวิวัฒนาการก่อนหลัง ซึ่งจะสะท้อนประวัติศาสตร์วิวัฒนาการได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=405
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 15:41:51   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 23:12:46   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 22:04:19   เปิดอ่าน 208  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง