ISO/IEC 17065 คืออะไร
วันที่เขียน 20/3/2558 0:13:50     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 13:51:45
เปิดอ่าน: 7372 ครั้ง

ISO/IEC 17065 : Conformity assessment — Requirements for bodies certifying products, processes and services

        การรับรองระบบงานของหนวยรับรอง (Certified Body Accreditation ) คือ การยอมรับอยางเป็นทางการวา หนวยรับรอง (Certified Body) มีความสามารถและความเป็นกลางในการดําเนินการใหบริการงานตรวจรับรองเปนไปตามมาตรฐาน มอก. 17065 (ISO/IEC 17065) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อเป็นการประกันคุณภาพในการใหบริการงานตรวจรับรอง และลดการตรวจประเมินซ้ำซอนจากผูใชบริการต่างๆ

         สำหรับการรับรองระบบงานของหนวยตรวจรับรองในประเทศไทยเปนกิจกรรมใหม ซึ่งไดดําเนินการจัดตั้งเป็นส่วนรับรองหนวยรับรองสังกัดสํานักงานคณะกรรมการแหงชาติวาดวยการรับรองระบบงาน (Office of the National Accreditation Council) โดยไดดําเนินการจัดทําระบบการบริหารจัดการของสวนรับรองหน่วยรับรองใหเปนไปตามมาตรฐานสากล เพื่อรองรับการรับรองระบบงานของหนวยรับรองตางๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนของประเทศ

            ดังนั้นหนวยรับรองที่ประสงคจะไดรับการรับรองระบบงานจึงตองมีการจัดทําระบบการบริหารจัดการภายในองคกรของตนใหเปนไปตามมาตรฐาน มอก. 17065 : ขอกําหนดทั่วไปสําหรับหนวยรับรองซึ่งเปนมาตรฐานเชนเดียวกันกับมาตรฐานสําหรับหนวยตรวจของสากล คือ ISO/IEC 17065 : Conformity assessment — Requirements for bodies certifying products, processes and services

            ถามีหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าเปนหนวยตรวจและไดมีดําเนินการจัดทําระบบคุณภาพภายในองคกรตามมาตรฐาน มอก. 17065 ดังกลาวขางตน การไดรับการรับรองระบบงานจากสวนหนวยรับรองเปนการยืนยัน พิสูจนใหผูใชบริการเห็นวา หนวยงานมีการจัดองคกร ขั้นตอนการดําเนินงาน และบุคลากรเปนไปตามเกณฑมาตรฐานสากล และผานการตรวจประเมินโดยผูตรวจประเมินที่มีความรูความสามารถทางวิชาการ และประสบการณเพื่อใหเกิดความเชื่อมั่นในความสามารถและความเปนกลางของการตรวจรับรองเปนที่ยอมรับของผูใชบริการ

           ส่วนผู้ใชบริการงานตรวจรับรอง จากหนวยรับรองที่ไดรับการรับรองระบบงานจากหนวยงานที่เปนที่ยอมรับระดับประเทศนั้น เปนวิธีทางที่งายที่สุดในการใหความมั่นใจในรายงานผลการรับรองที่ไดรับ และเปนการสรางความนาเชื่อถือในวงการคาวา รายงานผลการรับรองดังกลาวที่ไดรับจากหนวยรับรองไดดําเนินการอยางมีระบบเปนไปตามมาตรฐานสากล 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=366
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
พัฒนาตนเอง -นงคราญ » AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัย
การใช้ AI ในการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการวิจัยสามารถช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ AI อย่างระมัดระวังและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
AI  AI สำหรับทบทวนวรรณกรรม  Connected Papers  Perplexity  ResearchRabbit  SciSpace  อบรม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 26/2/2568 18:03:01  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 13:49:00   เปิดอ่าน 418  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง