การเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เขียน 19/3/2558 17:38:33     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2566 14:29:43
เปิดอ่าน: 4981 ครั้ง

เนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การเสริมสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP ให้ก้าวไกลสู่ระดับสากลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

จากการเข้าร่วมการสัมมนาฯ และนำชุมชนเข้าร่วมการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ทำให้ได้ความรู้ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ดังนี้

1. สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

  • ความสะอาดและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะของกินต้องเน้นความสะอาดเป็นหลัก
  • การตลาด มีช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  • มีการยกระดับผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับ 1 - 2 ดาวให้เป็น 3 - 5 ดาว ตามเกณฑ์มาตรฐานของสินค้า OTOP
  • พัฒนาสินค้า OTOP ให้มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในเขต AEC
  • เน้นการดำเนินงานที่เพิ่มคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างคุณค่าและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
  • มีการสร้างอัตลักษณ์และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ให้ติดตลาด ให้เกิดความเชื่อมั่น
  • มีเรื่องราวให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น ที่มาของผลิตภัณฑ์ ใบประกาศ การรับรองคุณภาพ (อย. / มผช. / ได้รับดาว)

2. รูปแบบของผลิตภัณฑ์

  • ต้องมีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
  • สามารถดึงดูดความสนใจ
  • ใช้วัสดุที่มีมาตรฐาน  และไม่ก่อให้เกิดอันตราย (โดยเฉพาะอาหาร)

3. ช่องทางการจัดจำหน่าย

  • จัดงาน OTOP ระดับประเทศ ณ เมืองทองธานี (ทุกปี)
  • OTOP Event ระดับภูมิภาค / ศูนย์กระจายและจัดจำหน่ายสินค้า
  • OTOP ระดับจังหวัด
  • การจัดงานระหว่างประเทศ เช่น OTOP สานสัมพันธ์ 2 แผ่นดิน

  นอกจากนี้ยังได้รับความรู้ในการยื่นขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในส่วนของขั้นตอนการยื่นคำขอ การตรวจสอบสถานที่ผลิตและผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบสินค้าจากชุมชน

การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์หรือปรับใช้กับการทำงานของตนเอง

         ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้นำมาปรับใช้ในด้านการบริการวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือปรับใช้กับการทำงานของตนเอง ได้แก่ นำไปพัฒนาแนวทางการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีความเข้มแข็งในการปรับปรุงและจัดทำมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน และได้นำข้อควรปรับปรุงมาใช้ในการเผยแพร่ให้ชุมชนนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ได้นำมาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และทำสื่อเพื่อเผยแพร่ให้ชุมชน

 

ทั้งนี้ ได้มีการนำความรู้ไปเผยแพร่ในที่ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของชุมชนเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558 

สามารถ Download เอกสารการนำเสนอในที่ประชุมได้ที่ http://www.e-manage.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTI0ODM4

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=365
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) » การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) โดยใช้ chat gpt เข้ามาช่วย
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review) เป็นกระบวนการที่เรียบร้อยและเป็นระบบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่มีอยู่เพื่อสรุปข้อมูลและข้อสรุปที่มีค่าในสาขาวิชาต่าง ๆ การใช้ Chat GP...
Chat GPT Systematic Review     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน ศิรินภา อ้ายเสาร์  วันที่เขียน 26/9/2566 16:11:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2566 3:25:03   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
สรุปรายงานจากการอบรม » วิธีการเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อแสดงการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
การเตรียมสไลด์ถาวรเพื่อศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการเตรียมสไลด์ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหลักสูตรพันธุศาสตร์ ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับส...
สไลด์ถาวร การแบ่งเซลล์ ไมโอซิส meiosis     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 26/9/2566 11:21:21  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2566 7:31:03   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ฝึกอบรมการทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ » การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ (Systematic Review)
การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบหรือ Systematic Review คือกระบวนการวิจารณ์วรรณกรรมที่จัดทำโดยใช้ขั้นตอนและเครื่องมือที่มีระเบียบเพื่อสรุปผลลัพธ์จากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับหัวข้อห...
Chat GPT  การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบ  การอ่านอย่างมีระบบ  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 26/9/2566 3:20:07  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2566 7:14:54   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
สรุปรายงานจากการอบรม » Quantitative PCR (qPCR)
PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้ง...
PCR, qPCR     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน วริศรา สุวรรณ  วันที่เขียน 25/9/2566 13:14:19  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/10/2566 3:44:13   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง