การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการ เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ”
วันที่เขียน 16/3/2558 16:49:08     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 17:31:09
เปิดอ่าน: 3461 ครั้ง

การเลือกวารสารให้สอดคล้องกับบทความวิจัย การมีเทคนิคการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ดี และ การรู้มีโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเก็บบรรณานุกรมเพื่ออ้างอิงในบทความ เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเตรียมและเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัย ดังนั้นแล้วบุคลากรสายวิชาการจึงจำเป็นต้องเข้ารับการอบรมเพื่อฝึกทักษะต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

ข้าพเจ้า  นายพาสน์ ปราโมกข์ชน ตำแหน่ง  อาจารย์  สังกัด สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการ เรื่อง “การเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ”  เมื่อวันที่  24 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องช้องนาง สำหนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามหนังสือขออนุญาตบุคลากรเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการ เลขที่ ศธ 0523.4.6/98  ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558  ดังนี้

                   ได้ความรู้เกี่ยวกับ เทคนิคการเลือกวารสารให้สอดคล้องกับบทความวิจัย บรรยายโดย รศ. ดร.ด้วง พุธศุกร์ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย การแบ่งชนิดของบทความทางวิชการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีความแตกต่างกันซึ่งจะส่งผลต่อรูปแบบเนื้อหาการนำเสนอและวิธีการเขียนบทความ อาทิเช่น full length paper ก็จะมีเนื้อหางานวิจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า opinion หรือ review ที่จะเน้นเฉพาะความเห็นของผู้วิจัยหรือการนำเสนอภาพรวมของงานวิจัย เป็นต้น หลังจากเลือกชนิดของงานวิจัยแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนของการเขียนบทความ ที่จำเป็นต้องมีการทำ literature survey เพื่อหาขอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อนการทำวิจัย เพื่อให้การกำหนดหัวข้อ จุดประสงค์ และ ขอบข่ายงานวิจัยชัดเจน และทำให้สามารถทำงานวิจัยได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งงานวิจัยโดยสรุปแล้วคือการหาสิ่งที่ใหม่ อาจเป็นองค์ความรู้ หรือ วิธีการ หรือ การปรับปรุงใหม่ๆ อย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดการยอมรับ หรือ ปฏิเสธบทความ ในส่วนของงานเขียน จะต้องเป็นการเขียนอย่างเป็นระบบ (right format) ซึ่งบทความจะต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจนตามมาตรฐาน ซึ่งในงานอบรมก็ได้เห็นความแตกต่างว่าแต่ละชนิดของบทความก็จะมีโครงสร้างมาตรฐานที่แตกต่างกันในบางรายละเอียด ในส่วนภาษาที่ใช้ ผู้บรรยายได้เน้นย้ำเรื่องการใช้ภาษาการเขียนที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาอังกฤษแบบภาษาเขียน ที่ต้องกระชับและชัดเจน เพราะ ถ้าเนื้อหาดี แต่ภาษาไม่ดี จะถูก rejected มากกว่า returned ในตอนท้ายช่วงแรก ผู้บรรยายได้แนะนำรายละเอียดของวารสารวิชาการระดับนานาชาติ Maejo International Journal of Science and Technology (MIJST) ซึ่งเป็นวารสารของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้รับการยอมรับมาตรฐานระดับนานาชาติถูกบันทึกในฐานข้อมูล ISI knowledge และ Scopus

                   นอกจากนี้แล้ว  ในการอบรมยังมีการบรรยายเรื่องการใช้โปรแกรม Endnote เพื่อจัดเก็บบรรณานุกรม โดย คุณประภัย สุขอิน บรรณารักษ์ประจำสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการทางบรรณานุกรม เช่น การสืบค้น การจัดเก็บ การจัดการรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงที่ผู้ใช้ได้สืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถ import รายการอ้างอิงเหล่านั้นมาไว้ใน Endnote ได้โดยตรง เพื่อนำมาจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรม รายการอ้างอิงในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ และ manuscript ของวารสารที่นักวิจัยต้องการส่งพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ได้สะดวก          ในตอนสุดท้ายของการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยโดย ผศ.มรกต สกโชติรัตน์ ซึ่งมีเนื้อหาบรรยายเพิ่มเติมโครงสร้างการเขียนบทความเพิ่มเติมจากช่วงเช้า โดยลงรายละเอียดวิธีการเขียน พร้อมทั้งยกตัวอย่างทั้งวิธีการเขียนที่ถูกต้อง และ ตัวอย่างการเขียนที่ผิดรูปแบบ พร้อมทั้งยังได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนระหว่างผู้บรรยายและผู้เข้าอบรมและทดลองวิจารณ์งานเขียนตัวอย่างเพื่อเพิ่มทักษะการเขียนบทความอีกด้วย

                    โดยความรู้ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานี้ ถือได้ว่ามีประโยชน์ต่อข้าพเจ้าเป็นอย่างมากในการที่จะได้นำไปปฏิบัติในภาระงานที่ได้รับมอบหมายของบุคลากรสายวิชาการ ในส่วนของงานวิจัยที่จะต้องมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนและการส่งบทความงานวิจัยที่จะสามารถเพิ่มโอกาสการยอมรับเพื่อเผยแพร่ตีพิมพ์มากขึ้นต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=359
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 9:43:49   เปิดอ่าน 16  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/4/2567 9:43:48   เปิดอ่าน 33  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/4/2567 16:51:10   เปิดอ่าน 72  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง