การแยกหรือสกัดสารธรรมชาติด้วย Preparative Liquid Chromatography
การแยกสาร หรือการสกัดสารจากผักหรือผลไม้ เพื่อนำมาผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติ โดยทั่วไปการสกัดสารจะใช้คอลัมน์แก้วที่มีขนาดใหญ่ใส่สารพวกซิลิกา หรืออะลูมินาเป็นตัวดูดซับ เรียกเทคนิคนี้ว่า โครมาโทกราฟฟี ซึ่งตองประกอบด้วยเฟส 2 ชนิด คือเฟสคงที่และเฟสเคื่อนที่ และเก็บสารที่แยกออกมาในแต่ละโซน (https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=KGTZ3XBEfyc)
แต่ผลเสียจากการแยกแบบนี้คือ ใช้เวลานาน การแยกไม่สารไม่ค่อยดี การไหลช้าตามแรงโน้มถ่วง ไม่สามารถใช้สารละลายตัวพาคือ เฟสเคลื่อนที่ได้หลากหลาย ในปัจจุบันการแยกสารทางโครมาโทกราฟีได้มีการพัฒนาเพื่อให้แยกได้รวดเร็ว การแยกดีมากขึ้น และสามารถแยกตัวอย่างที่เป็นของแข็งได้อีกด้วย คือโครมาโท- กราฟีแบบแฟลชกับแบบเตรียม HPLC โดยทั่วไปเราจะรู้จักเครื่อง HPLC สำหรับวิเคราะห์เชิงปริมาณมากกว่าเครื่องที่แยกเก็บสารแต่ละส่วน ที่เรียกว่า เครื่องเก็บตัวอย่างแยกส่วนแบบอัตโนมัติของ LC (Preparative Open-Bed Sampler/Collector)
โครมาโทกราฟีแบบแฟลชมักใช้เป็นขั้นตอนก่อนการทำให้บริสุทธิ์ ก่อน เช่นผ่านการสกัดด้วยเฟสของแข็งที่เรียกว่า Solid Phase Extraction (SPE) แล้วนำสารที่ได้ไปวิเคราะห์ ตัว SPE และเครื่องที่ใช้ในการแยกแบบสุญญากาศ ส่วน Prep HPLC ใช้เพื่อให้ได้สารแยกออกมาให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น (https://www.indiamart.com/proddetail/agilent-1260-infinity-ii-preparative-liquid-chromatography-system-23885490788.html?mTd=1)
พารามิเตอร์ของโครมาโทกราฟีแบบแฟลชเทียบกับการเตรียม HPLC ในตารางด้านล่าง:
(https://www.barts-blog.net/flash-chromatography-vs-prep-hplc-you-want-speed-or-precision/)
ข้อดีของเครื่อง Prep HPLC คือ กระบวนการรวดเร็ว มีความละเอียดสูง อัตราการไหลสูง สามารถใช้สารละลายตัวพร้อมกันได้หลายชนิด เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถแยกสารซ้ำได้หลายรอบ ไม่ต้องใช้ตู้ดูดควัน ข้อเสียคือ ค่าดูแลบำรุงรักษาเครื่อง และวัสดุสิ้นเปลื้อง ต้องมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ ดังนั้นการแยกสารในปัจจุบันที่ใช้เครื่องอัตโนมัติก็จะช่วยประหยัดเวลามากขึ้น และได้สารที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้นด้วย