การนำเสนอผลงานแบบบรรยายใน The Seventh International Symposium on Intelligent Systems Technologies and Applications (ISTA’23)
วันที่เขียน 10/1/2567 12:43:14     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 12:47:19
เปิดอ่าน: 163 ครั้ง

การประชุมวิชาการ "The Seventh International Symposium on Intelligent Systems Technologies and Applications (ISTA’23)" จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2566 เป็นงานประชุมวิชาการในระดับนานาชาติที่รวบรวมงานวิจัยจากนักวิจัยหลากหลายสาขา มีการแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ Intelligent Tools and Techniques, Applications using Intelligent Techniques, Intelligent Image Processing and Artificial Vision, Intelligent Techniques for Wireless Sensor Networks and IoT, Business Intelligence and Big Data Analytics และ Intelligent Distributed Computing โดยจากการที่เข้าร่วมงานประชุมฯ ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับฟังการนำเสนอผลงานและนำเสนองานวิจัยในหัวข้อ "Deep Learning Methods for Multivariate Stock Price Data using Differential Evolution Weight Optimization on the Linear Combination Technique" พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็นจากนักวิจัย นักวิชาการ ที่เข้าร่วมและนำเสนอผลงานทางวิชาการ นอกจากนี้ยังนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดแนวทางการวิจัยในระดับนานาชาติ และได้เรียนรู้ถึงแนวทางการทำงานวิจัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วม นำเสนอผลงานภาคบรรยาย ในรูปแบบออนไลน์ เรื่อง Deep Learning Methods for Multivariate Stock Price Data using Differential Evolution Weight Optimization on the Linear Combination Technique ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2566 ณ PES University, Bangalore, India นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมและนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้น     จึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

 

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ในรูปแบบออนไลน์ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The Seventh International Symposium on Intelligent Systems Technologies and Applications(ISTA’23) ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม 2566 ข้าพเจ้าได้รับฟังการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้แก่ Dr. C. Mohan, Distinguished Visiting Professor, Tsinghua University, China ในหัวข้อ Artificial Intelligence (AI): Past, Present, and Future, Dr. Nithin Nagaraj, Associate Professor, Consciousness Studies Programme, National Institute of Advanced Studies, Indian Institute of Science Campus, Bengaluru ในหัวข้อ Brain-Inspired Computing, Communication, and Machine Learning อีกทั้งยังได้รับฟังการนำเสนอผลงานจากนักวิจัยที่นำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้แก่  หัวข้อ A Study on Colour-Emotion Association for Happiness Among the Indian Youth Using Artificial Intelligence, หัวข้อ A Machine Learning Based Marine Vessel/Ship Classification Using Passive Sonar Signals - A Multi-Class Problem, หัวข้อ Identification of Taurine Cattle Breed Based on Convolutional Neural Network, หัวข้อ Transforming Education: The Impact of Generative AI เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ จากการที่ข้าพเจ้าได้นำเสนองานวิจัย ข้าพเจ้าได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานวิจัยครั้งต่อไปในอนาคต

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่   ได้แก่ เป็นการพัฒนาตนเองตามสมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัยด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาตนเองตามสมรรถนะประจำกลุ่มงานในทักษะด้านการวิจัยและนวัตกรรม  และเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคนิคในการทำงานวิจัยในครั้งต่อไป                                                                                                                                                                                
  2. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)  คือ เทคนิค/วิธีการในการทำวิจัยครั้งนี้สามารถถ่ายทอดสำหรับนักศึกษาที่สนใจจะทำงานวิจัยทางด้านการพยากรณ์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1416
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง