ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้า อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ วงศ์พระจันทร์ พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติและการจัดการสารสนเทศ เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง “จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ๒๕๖6 ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอรายงานสรุปเนื้อหา และประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้
- สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ
เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง)เป็นประธานในโครงการอบรม เรื่อง "จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ" ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ จัดโดย
ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน แสวงดี ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อมในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งมีบุคลากรเข้าร่วมโครงการทั้งรูปแบบ onsite และ online จำนวน 118 คน รองศาสตราจารย์ ดร.โยธิน
แสวงดี วิทยากรผู้ให้ความรู้ ได้กล่าวถึงจริยธรรมการวิจัยและจรรณยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งวิชาการ ดังนี้
การพิจารณาตำแหน่งวิชาการนั้น อนุกรรมการฯ จะพิจารณาเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น
- ประโยชน์ของงานวิจัย
- การได้รับความยินยอมจากอาสาสมัครที่ทำวิจัย เช่น การทำวิจัยกับคน ต้องเขียนไว้ในรายงานวิจัย ชี้รายละเอียดเกี่ยวกับ การผ่านจริยธรรมการวิจัย และรหัสทุนวิจัย (ถ้ามี)
- ตระหนักถึงกระบวนการวิจัยและสิทธิมุนษยชน
- สามัญสำนึกของคน ว่าอะไรควรทำ/ไม่ควรทำ ในการอยู่ในสังคมที่ดี
หลักจริยธรรมการวิจัย จะให้ความสำคัญกับการได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นหน่วยในการวิเคราะห์ฯ เช่น คน มนุษย์ สัตว์ สำหรับคน จะเน้นที่ The Belmont Report
จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในวิชาชีพนั้น ๆ ยืดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อสเยงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของต้น เน้นและให้ความสำคัญกับ ตัวนักวิจัย ผู้เป็นนักวิชาการ (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) บทความวิจัย ได้รับการตีพิมพ์แล้วผ่านจริยธรรมการวิจัยฯ จากหน่วยงานไหน ต้องแสดงในบทความวิจัยด้วย แต่ในรายงานวิจัยต้องมีแนบใบยินยอมการทำวิจัยก่อน
หลักจริยธรรมการวิจัยในคนทั่วไป หรือ The Belmont Report ประกอบด้วย
- หลักการด้านพิทักษ์สิทธิและเคารพต่อบุคคล (Respect for person)
ก่อนทำการวิจัย ต้องมีการยื่นขอความยินยอมและลงนามเพื่อใช้แนบในบทความวิจัย/รายงานวิจัยด้วย ไม่เช่นนั้นอาจไม่ผ่านการพิจารณาในการขอตำแหน่งวิชาการได้
- หลักการที่เน้นคุณประโยชน์ เน้นความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และเสียหายต่อบุคคล (Beneficence)
การแสดง Focus group ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย กรรมการจะให้แสดงหลักฐานการรักษาความลับ ถ้ารูปภาพจะต้องพยายามไม่ให้รู้ว่าเป็นใคร การเปิดหน้าอาจทำให้การขอตำแหน่งวิชาการไม่ผ่านได้
- หลักการที่เน้นความยุติธรรม (Justice)
กลุ่มเปาะบาง ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ นั้นต้องตระหนักถึงการคัดเลือกผู้เข้าร่วมเพื่อความยุติธรรม อย่าเน้นเพียงกลุ่มเดียว ส่วนใหญ่ข้อนี้นักวิจัยจะมีอยู่แล้ว
บทความวิจัยผ่านแต่ไม่มีเอกสารยินยอม/จริยธรรมการวิจัยแนบ อาจจะขอตำแหน่งวิชาการไม่ผ่านได้ ในฐาน Q1-Q4 จะมีช่องให้แสดงการพิสูจน์ Approve
ภูมิหลังของความสำคัญสำหรับการวิจัยในมนุษย์
โดยกฎนูเรมเบิร์ก (Nuremberg Code 1947) ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เพราะในระหว่างสงคราม ได้มีการทดลองของชาวนาซีในมนุษย์มากมาย คล้ายกับการรังแกมนุษยชาติอย่างไร้มนุษยธรรม ซึ่งผู้เขียนกฎนูเรมเบิร์ก ได้แก่ นักกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำวิจัยที่ถูกต้อง ถูกหลักการในทางจริยธรรม เน้นการยินยอม และตระหนักถึงสิทธิของบุคคลที่เป็นผู้ร่วมวิจัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้หมดสติ ผู้มีสติฟั่นเฟือน ผู้สูงอายุ เป็นต้น และในปี ค.ศ.164 ได้เกิดปฏิญญาเฮลซิงกิเกิดขึ้น โดยมีการปรับแก้จากเดิม มาเน้นที่นักวิจัย และผู้ร่วมวิจัย และในปี ค.ศ.2008 ได้มีการระบุขยายความครอบคลุมถึงผู้ให้ทุน กรรมการวิจัย ทีมงานวิจัย สถาบันวิจัย โดยผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งที่เป็นอาสาสมัครโครงการวิจัย เจ้าหน้าที่ ต้องรับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในเรื่อง การละเมิดสิทธิ และความถูกต้องของหลักการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย
สิ่งที่วงการวิชาการต้องตระหนักและคำนึงถึง กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะให้ความสำคัญอย่างมากคือ วารสารทุกฉบับและกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ จะให้ความสำคัญกับ
- Originality: การเป็นต้นฉบับที่ถูกต้อง ทำเอง ทั้งความคิดริเริ่ม การออกแบบ ฯลฯ
- Novelty: การเป็นผลงานวิจัยที่ใหม่ ได้ข้อค้นพบใหม่ ความแปลกใหม่ โดยอาจดูจากเอกสารอ้างอิง และตัวอย่างใหม่
- Reproducibility: ความสามารถในการทำซ้ำผลวิจัย ที่เน้นการวัด ทวนสอบหลายครั้ง หลายวิธี แต้ต้องสื่อสารเอง ไม่คัดลอก การทำซ้ำเพื่อดูว่าให้ผลการวิจัยเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ สามารถทำได้ แต่การเขียนและการอ้างอิงไม่ซ้ำกัน
- Fabrication: การสร้างข้อมูลโดยมิได้เกิดขึ้นจริง
- Falsification: การดัดแปลง ตัดต่อ ปกปิด เสริมต่อ บิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ให้ระวังการดัดแปลง อ้างอิงใน.... อาจจะตกได้ เพราะเราไม่รู้ว่าคนนั้นอ้างมาถูกต้องหรือไม่ ต่อให้ลงวารสารแล้วก็จะขอตำแหน่งวิชาการไม่ผ่านได้
- Plagiarism: การคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบ ปัจจุบันมีโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ อักขราพิสุทธ์ และ Turnitin เชิงอรรถไม่ควรอ้างซ้ำ ๆ เพราะทำให้รู้สึกว่าไปอ่านจากต้นฉบับยดีกว่า ระวังการอ้างคนเดิมมากเกินไป ระหวังเอกสารอ้างอิงคนเดิมปีเดิม และการซ้ำซ้อนควรอยู่ระหว่าง 9 – 22% ถ้าไม่มีซ้ำซ้อนเลย 0% ก็ไม่ได้เพราะถือว่าไม่มีความเป็นวิชาการ
- Misconduct in Authorship: การเป็นหรือไม่ได้เป็นผู้นิพนธ์โดยไม่เหมาะสม งานวิจัยที่จะมีความแตกต่างนั้น ส่วนใหญ่เป็นงานด้านการทดลอง แต่แตกต่างด้านพื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย และได้ผลแตกต่าง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้วางหลักไว้ 9 ประการ ได้แก่
- นักวิจัยต้องซื่อสัตย์ และมีคุณธรรมในทางวิชาการ และการจัดการ
- นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย
- นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำ
- นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย
- นักวิจัยต้องเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
- นักวิจัยต้องมีอิสระทางความติดปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการวิจัย
- นักวิจัยต้องนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
- นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
- นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
หลังจากนั้น วิทยากรได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทความวิจัย หนังสือ ตำรา ที่ใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการไว้ดังนี้
- บทความวิจัย
- ควรมี citation, impact factor
- การลงใน TCI1 การตรวจ prove ไม่ดีและบางครั้งไม่ส่งยื่นให้ผู้เขียน prove มีการพิมพ์ผิดเยอะมาก มีคำผิดเยอะ ต้องระวัง peer review
- ผู้ตรวจจะเป็นศาสตราจารย์ ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เขียน หนังสือ/ตำรา
- หนังสือ เช่น ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างทางประชากรศาสตร์
- ตำรา เขียนตามหลักการ ดังนั้นการเขียนหนังสือจะง่ายกว่าการเขียนตำรา ดังนั้นแนะนำให้ เขียนหนังสือและบทความวิจัย
- ผลงานทางวิชาการที่จะยื่นขอ ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยยื่นขอมาก่อน งานวิจัยที่เกี่ยวกับคน/สัตว์ ต้องผ่านคระกรรมการวิจัย ถ้าไม่ผ่านแต่มีหนังสือยินยอม ไม่รับรองจะขอตำแหน่งวิชาการผ่านหรือไม่ แล้วแต่กรรมการผู้ทรงฯ
- ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ต้องแม่นระเบียบ เพื่อแนะนำผู้ขอตำแหน่งวิชาการได้ถูกต้อง
- การยื่นขอรองศาสตราจารย์ ตีพิมพ์ใน scopus ดองงานมา 10 ปี มีงานเยอะ อยากยื่นงานวิจัย แต่ไม่มีจริยธรรมการวิจัยในช่วงเวลานั้น ทำให้ไม่สามารถนำมาขอตำแหน่งวิชาการในขณะนี้ได้
- ระวัง ตาราง รูปภาพ จะซ้ำซ้อนง่าย
- ระวัง citation อย่าอ้างซ้ำ
ต้องขอจริยะรรมการวิจัยกับมหาวิทยาลัยตัวเองเท่านั้น ไม่ให้ข้ามมหาวิทยาลัย นอกจากมีผู้ร่วมหลายสถาบัน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่มีความร่วมมือ MOU เนื่องจากอยู่ระหว่าง