สรุปการเข้าอบรบเรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม (1 ก.พ. 66)
วันที่เขียน 1/3/2566 17:02:18     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:48:55
เปิดอ่าน: 596 ครั้ง

ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดเดิม แรงจูงใจของเรื่องการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ครูอาจารย์เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ ควรจัดให้มีการเรียนการเรียนรู้หลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีแตกต่างกัน

สรุปการเข้าอบรบเรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมๆ ซึ่งได้มากจากตนเอง เกิดจากการใช้ความรู้พื้นฐาน (basic knowledge) และการใช้ทักษะหรือวิธีการร่วมกันพัฒนาเป็นความคิดสร้างสรรค์ หรือถ้าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ สร้างเป็นสิ่งคิดค้นแบบใหม่ๆ ก็จะกลายเป็นนวัตกรรมได้

นวัตกรรม เป็นการใช้องค์ความรู้ ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ ที่มีประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นกระบวนการใหม่ๆ ก็เป็นนวัตกรรมได้

ปัจจัยที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่

1) แรงจูงใจ หากผู้เรียนเห็นคุณค่า หรือมีแรงจูงใจเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน ก็จะกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายและมากขึ้น เช่น เป็นสิ่งที่ชอบ เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นต้น

2) สภาพแวดล้อม ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น การลองผิดลองถูก เป็นต้น

3) การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่ ควรฟังความคิดเห็นของลูก ไม่ดุ ไม่เข้มงวดเกินไป

4) บุคลิกภาพของครู ไม่เข้มงวดเกินไป รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา ควรสร้างกำลังใจให้นักศึกษา การถามคำถามควรเป็นคำถามปลายเปิดที่มีคำตอบได้หลากหลายแบบ

5) สมอง

วิธีการสอนที่ช่วยกระตุ้นการความคิดสร้างสรรค์ และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมมีดังนี้

1) การสอนแบบบรรยาย (Lecture) ต้องเป็นการสอนที่สั้น รวดเร็ว ต้องมีลีลาและบุคลิกภาพที่น่าสนใจ ควรมีรูปภาพประกอบ มีการให้ตัวอย่างเยอะ ๆ จะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ หรือทำให้เห็นประโยชน์ของเนื้อหา ควรกระตุ้นให้นักศึกษาคิด และมีส่วนร่วมในบทเรียนให้ได้มากที่สุด เช่น มีคำถามชวนคิด ทำให้นักศึกษาคิดตาม มีการยกตัวอย่าง และอภิปรายร่วมกัน และควรมีแนวทางการสอนที่หลากหลาย หากเป็นเนื้อหาที่ยาก ควรกระตุ้นให้นักศึกษาสร้างเทคนิคในการจำของตนเอง หรือครูอาจสร้าง trick ที่ช่วยให้นักศึกษาจำได้จ่ายขึ้นได้

2) การแสดงสาธิต (demonstration) ทำให้นักศึกษาให้เห็นกระบวนการจริงๆ

3) การทำการทดลอง (experiment) การลงมือปฏิบัติจริง เมื่อทดลองเสร็จแล้วควรมีคำถามเพิ่มเติมจากผลการทดลอง เพื่อให้เกิดความคิดเพิ่มเติม ความคิดต่อยอดได้มากขึ้น การมอบหมายงานอภิปรายการทดลองที่ต่างกันจะช่วยแก้ปัญหาการลอกงานกันได้

4) การสอนแบบให้หลักการ แล้วยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ แล้วจึงให้ทำแบบฝึกหัด หรือการสอนแบบยกตัวอย่างประกอบก่อน แล้วจึงสรุปเป็นหลักการ (deduction/induction) จะทำให้นักศึกษาคิดตามและเข้าใจเนื้อหามากขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้

5) การดูงานนอกสถานที่ (field trip) ควรมอบหมายงาน หรือมีใบงานให้นักศึกษา ให้นักศึกษาได้สะท้อนการดูงาน เช่น สะท้อนความรู้/ทักษะที่ได้จากการดูงาน สะท้อนสิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ อาจทำเป็นรายงาน หรือสรุปเป็นคลิปสั้น หรือทำเป็นวีดีโอประกอบ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นได้

6) การทำ small group discussion เป็นการสร้างให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ควรจัดจำนวนคนต่อกลุ่มให้เหมาะสม และควรจัดเวลาหรือให้เวลาในการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม และให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวเพื่อทำงานด้วย

7) การเล่นละครสวมบทบาท (role playing) เป็นการสร้างสถานการณ์ ให้นักศึกษาแสดงเป็นบทบาทสมมติต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาเข้าใจสถานการณ์ เข้าใจผู้อื่นๆมากขึ้น มักช่วยในเรื่องพฤติกรรม

8) การสร้างละคร (dramatization) มีการเขียนบท เป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์และศิลป์ เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สูง

9) Simulation การสร้างเป็น case study ของเนื้อหาที่เรียน มีการกระตุ้นสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดผลแตกต่างกัน สิ่งเร้าและผลที่เกิดขึ้นแบบต่างๆ จะทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เกิดการคิดวิเคราะห์โดยใช้หลักการ/ความรู้มากขึ้น

10) การทำงานเป็นกลุ่ม (cooperative learning) เมื่อมอบหมายงานเป็นกลุ่ม ควรมอบหมายให้ชัดเจน มีการตรวจสอบการวางแผนงานของนักศึกษา และควรให้นักศึกษาบอกบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน

11) การฝึกงาน (work-integrated learning) ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการทำงาน จากสถานประกอบการจริง แต่ควรเลือกสถานประกอบการที่เหมาะสมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของหลักสูตรฯ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จริงๆ

12) Phenomenon-based learning เรียนรู้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของเรา นำมาคิด/วิเคราะห์ร่วมกับนักศึกษา

13) Problem-based learning เช่น การทำปัญหาพิเศษ การศึกษาจากปัญหาต่างๆ เมื่อศึกษาแล้วต้องสร้างให้มีการเชื่อมต่อ/เชื่อมโยงถึงประเด็นการศึกษาให้ได้ และควรเป็นการเรียนรู้จากปัญหาที่มีจริงๆ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1332
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง