รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการอบรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียนมีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม
วันที่เขียน 1/3/2566 16:36:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/3/2566 4:42:37
เปิดอ่าน: 61 ครั้ง

การสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายวิธี หลักการที่สำคัญคือการสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความรู้สึก/ความคิดเห็น นอกจากนี้การสร้างแรงจูงใจจากการแก้ปัญหาในสิ่งใกล้ตัวก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจที่จะแก้ปัญหามากขึ้น

       ตามที่คณะวิทยาศาสตร์ ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมฟังบรรยายการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA V.4 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้นั้น

        บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังบรรยายดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

ความคิดสร้างสรรค์ จะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสม เช่น การอดทน ไม่ท้อถอย กล้าลงมือทำ กล้าแสดงออก เป็นต้น หลักการในการสอนให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

  1. ต้องจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนให้นักศึกษารู้สึกว่ามีความปลอดภัยต่อการแสดงความคิดเห็น ผ่อนคลาย ใส่ใจผู้เรียนทุกคน ชมเชยอย่างจริงใจ อาจารย์ไม่ตำหนิความคิดต่างของนักศึกษา หากต้องการแก้ไขข้อผิดพลาดควรพูดคุยเป็นการส่วนตัว ไม่ตำหนิต่อหน้าผู้อื่น
  2. อาจารย์ต้องสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ หากเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว/ชุมชนของนักศึกษาจะทำให้เกิดแรงขับจากด้านในเพื่อการแก้ปัญหานั้น

วิธีการสอนที่ให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. การบรรยาย (Lecture) ผู้สอนควรต้องมีรูปภาพประกอบการบรรยาย ต้องมีลีลาการสอน เรียงลำดับการสอนที่ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจได้ในเวลาสั้นๆ มีการหยุดให้นักศึกษาคิดเป็นช่วงๆ และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ใช้คำพูดให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และสนใจ เช่น ศัพท์วัยรุ่น ให้ผู้เรียนสร้างเทคนิคในการจำของตนเอง มีตัวอย่างให้เห็นภาพการนำไปใช้ประโยชน์ ยกตัวอย่างแล้วอธิบายหลักวิชาประกอบ และอย่าให้ผู้เรียนจับแนวทางการสอนของอาจารย์ได้เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจการเรียน
  2. การทดลอง (Experiment) /การแสดงให้ดู (Demonstration) หลังการทดลองให้เพิ่มการนำไปใช้ประโยชน์ เพิ่มคำถามต่อจากการทดลอง และถ้าเกิดความผิดพลาดจากการทดลองให้ผู้เรียนวิเคราะห์ว่าผิดพลาดเพราะอะไร
  3. รูปแบบการสอน (Deduction/Induction) อาจสอนจากทฤษฏีก่อนแล้วยกตัวอย่างประกอบ หรือเริ่มจากตัวอย่างแล้วยกทฤษฏีมาอธิบายก็ได้ เพื่อให้เกิดความหลากหลายในวิธีการสอน
  4. ทัศนศึกษา (Field Trip) พานักศึกษาไปทัศนศึกษานอกสถานที่ แล้วควรให้นักศึกษาสรุปว่าได้ความรู้อะไรบ้าง มีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร โดยอาจเป็นในรูปแบบการเขียน หรือ VDO clip ก็ได้ ซึ่งจะช่วยห้นักศึกษามีทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะด้าน IT เพิ่มขึ้นด้วย
  5. การแสดงความคิดเห็นกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) เพื่อให้เกิดการเปิดใจในการพูดคุย รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ดังนั้นอาจารย์ต้องสร้างบรรยากาศในการพูดคุยให้นักศึกษากล้าเปิดใจ และอย่าติหนินักศึกษาต่อหน้าคนอื่น จำนวนคนในกลุ่มขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่และอุปกรณ์ต้องพอดีกับจำนวนคนเพื่อให้สะดวกต่อการพูดคุย
  6. การกำหนดบทบาทสมมุติ (Role Playing) ให้นักศึกษาจำลองสถานการณ์โดยลองเปลี่ยนกันสวมบทบาทต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความรู้สึกของบุคคลแต่ละหน้าที่มากขึ้น ซึ่งวีธีนี้จะมีผลในการปรับพฤติกรรมของนักศึกษาได้ เช่น สมมุติให้นักศึกษาพยาบาลเป็นคนป่วย จะทำให้นักศึกษาเข้าใจความรู้สึกของคนป่วยมากขึ้น และนักศึกษาจะมีใจบริการ ดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น
  7. การแสดง (Dramatization) ช่วยให้ผู้เรียนสนใจ/สนุกในการเรียนมากขึ้น เช่น การทำ science show เป็นต้น
  8. การสร้างสถานการณ์ (Simulation) เป็นการเร้าด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ อาจมีการสร้าง 2 สถานการณ์เพื่อให้เปรียบเทียบกันและใช้หลักวิชามาวิเคราะห์
  9. การทำงานกลุ่ม (Cooperative learning) เป็นการสร้างบทบาทสมมุติของแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม
  10. การเรียนรู้ในที่ปฏิบัติงานจริง (Work-integrated learning) การเข้าไปเรียนรู้การทำงานในสถานประกอบการจริง จะทำให้ผู้เรียนเห็นสภาพแวดล้อมในการทำงาน และได้รับประสบการณ์จริงที่หาไม่ได้ในห้องเรียน
  11. เรียนรู้จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (Phenomenon-based learning) เป็นการเรียนรู้จากปรากฏการณ์/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงที่เกี่ยวการศาสตร์ที่เรียน แล้วนำมาวิเคราะห์
  12. การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) เช่น การทำโครงการวิจัย/ปัญหาพิเศษ เป็นต้น

 

 ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

  1. นำหลักการสอนที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพันธุศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาสนใจ เข้าใจ และสนุกในการเรียนมากขึ้น
  2. สามารถนำหลักการเดียวกันไปใช้กับการสอนวิชาพันธุศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

  1. ได้บุคลากรในหลักสูตรที่เข้าใจหลักการสอนมากขึ้น
  2. นักศึกษาในหลักสูตรมีความสนใจ เข้าใจ และสนุกในการเรียนมากขึ้น

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1330
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การสรุปเนื้อหาจากการอบรมทางวิชาการ วิชาชีพ การปฏิบัติการพยาบาล » จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์
สรุปเนื้อหาการอบรมเรื่องจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์จัดโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อกฎหมาย สภาการพยาบาล ณ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 11 กุ...
จริยธรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สภาการพยาบาล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน วารุณี ผ่องแผ้ว  วันที่เขียน 20/3/2566 16:03:30  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/3/2566 2:34:15   เปิดอ่าน 12  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การบรรยายพิเศษการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA V.4; Criterion 3 ข้อกำหนด R3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innovation, and an entrepreneurial mindset.
การบรรยายพิเศษการออกแบบการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA V.4; Criterion 3 ข้อกำหนด R3.5 The teaching and learning activities are shown to inculcate in students, new ideas, creative thought, innov...
การคิดค้นนวัตกรรม  การจัดการเรียนการสอน  ความคิดสร้างสรรค์  ความคิดใหม่     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 4/3/2566 22:46:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/3/2566 4:40:55   เปิดอ่าน 63  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานการอบรม ประชุมวิชาการ » สรุปการเข้าอบรบเรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม (1 ก.พ. 66)
ความคิดสร้างสรรค์ คือความคิดที่แตกต่างไปจากความคิดเดิม แรงจูงใจของเรื่องการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ครูอาจารย์เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ การจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นใ...
เทคนิคการสอน ความคิดสร้างสรรค์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นฤมล เข็มกลัดเงิน  วันที่เขียน 1/3/2566 17:02:18  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/3/2566 4:41:44   เปิดอ่าน 51  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การตระหนักรู้ในการรับรู้และใช้สื่ออย่างถูกต้อง ASEAN DIGITAL LITERACY PROGRAMME » อิทธิพลของสื่อต่อการตระหนักรู้ข้อมูลข่าวสาร
ในปัจจุบันมีผู้เข้าถึงสื่อสังคมดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว การบอกต่อข้อมูลที่เป็นเท็จให้คนใกล้เคียง เช่น ข้อมูลในไลน์ที่แชร์กันไปเรื่อย ๆ ซี่งเป็นข้อมูลที่ไม่รู้แหล่งที่มา แต่ผู้รับสื่อหลงเชื่อได้อย่า...
การตระหนักรู้  สื่อสังคมออนไลน์  อิทธิพล     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ก่องกาญจน์ ดุลยไชย  วันที่เขียน 10/2/2566 14:57:28  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/3/2566 22:12:53   เปิดอ่าน 78  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการในการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการเป็นสิ่งที่สำคัญ และพึงให้ความสำคัญ อีกทั้งในวงการวิชาการในการพิจารณาขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการนั้น ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ ดังนั้นการที่จะผลิตผลงานวิชาก...
กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  จรรยาบรรณ  จริยธรรม  วิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 10/2/2566 9:17:46  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/3/2566 3:01:32   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง