รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมอบรมการออกแบบการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA เวอร์ชั่น 4.0
วันที่เขียน 3/2/2566 16:23:58     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 12/10/2567 11:19:12
เปิดอ่าน: 4030 ครั้ง

การอบรมการออกแบบการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA เวอร์ชั่น 4.0 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมฯ 2 อาคารจุฬาภรณ์ฯ คณะวิทยาศาสตร์

ตามที่ข้าพเจ้าเข้าร่วมอบรมการออกแบบการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA เวอร์ชั่น 4.0 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังผู้เรียน มีความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นนวัตกรรม เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566  เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมฯ 2 อาคารจุฬาภรณ์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นั้น

ขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

       การจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนจะต้องประกอบไปด้วย แรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียน การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว บุคลิกภาพของผู้สอน สมองของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน ซึ่งมีเทคนิคการจัดเรียนการสอนได้หลายรูปแบบ เช่น

  1. การสอนแบบบรรยาย (Lecture) เป็นวิธีสอนที่อาศัยความสามารถของผู้สอนในการเรียบเรียงเนื้อหาสาระและการใช้เทคนิคในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้น่าสนใจ
  2. การสอนแบบสาธิต (Demonstration) เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อม ๆ กับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนจากการสาธิตนั้น ๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต
  3. การสอนแบบใช้การทดลอง (Experiment) เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง
  4. การสอนแบบนิรนัยและอุปนัย (Deduction and induction) การสอนแบบ นิรนัยเป็นการสอนที่เริ่มจากฎ หรือ หลักการต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน การสอนแบบอุปนัยเป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป
  5. การสอนโดยการไปทัศนศึกษา (Field Trip) เป็นวิธีการสอนโดยนำผู้เรียนออกไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่ที่เป็นแหล่งความรู้ในเรื่องนั้น
  6. การสอนแบบกลุ่มย่อย (Small group discussion) วิธีสอนโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 4-8 คน และให้ผู้เรียนในกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ในประเด็นที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
  7. การสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role playing) เป็นการสอนผ่านการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งเทคนิคการสอนรูปแบบนี้ นับว่าเป็นการสอนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
  8. การสอนแบบการแสดงละคร (Dramatization) เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยการสื่อสารทุกรูปแบบ ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์สังเคราะห์
  9. การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นการสอนที่จำลองสถานการณ์จริงมาไว้ในชั้นเรียน โดยพยายามทำให้เหมือจริงที่สุด มีการกำหนดกติกาหรือเงื่อนไข แล้วแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มให้เข้าไปเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ๆ
  10. การสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน (Cooperative leaning) เป็นการสอนแบบจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่ผู้เรียนทำงานร่วมกันและช่วยเหลือกันในชั้นเรียน
  11. การสอนแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน (Work- integrated learning) เป็นการสอนแบบ ผสมกลมกลืนระหว่างประสบการณ์ทำงานทางวิชาชีพนอกห้องเรียนกับการเรียนในห้องเรียน ทั้งในรูปแบบการศึกษาวิจัย การฝึกงาน การออกสหกิจศึกษา
  12. การสอนโดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน (Phenomenal based learning) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์ต่าง ๆ เป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยอาศัย แนวคิดพื้นฐานที่ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้เอง
  13. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem- based learning) หมายถึง การสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาจากโจทย์สถานการณ์ต่าง ๆ

ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ :ได้พัฒนาตนเองในด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทฺธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) :สามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1320
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 11/10/2567 3:36:00   เปิดอ่าน 43  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 8/10/2567 5:20:01   เปิดอ่าน 121  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง