การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2565 (AMM2022)
วันที่เขียน 24/5/2565 17:13:36     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 19:48:22
เปิดอ่าน: 1805 ครั้ง

การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 26 ประจำปี 2565 (AMM2022) ระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2565 โดยผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Zoom Meeting) ในหัวข้อ “Frontier in Mathematics for Smart and Sustainable Development คณิตศาสตร์แนวหน้าสำหรับการพัฒนาแบบฉลาดและยั่งยืน” โดยสาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้รับมอบหมายจากสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์โดยศูนย์ส่งเสริมการวิจัยคณิตศาสตร์ แห่งประเทศไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ประจำปีพุทธศักราช 2565 เป็นการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 26 และเป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 1 และมีเจ้าภาพร่วม คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

  1. สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

ในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีการบรรยายพิเศษและนำเสนอผลงานวิชาการทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบบรรยาย ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

  1. ได้รับฟังปาฐกถาพิเศษเรื่อง Mathematics: Science or Art? โดย Professor Efim Isaakovich Zelmanov, Department of Mathematics, University of California San Diego, USA ทำให้ได้ทราบว่าคณิตศาสตร์เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ คณิตศาสตร์มี 2 ด้าน ทั้งด้านอัตถประโยชน์และการพิสูจน์ สามารถนำมาใช้ในหลาย ๆ สาขา เช่น การประยุกต์ของทฤษฎีกราฟในการสร้างเครือข่าย (network) ที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่องวิทยาการรหัสลับ (Cryptography) เป็นต้น
  2. ได้รับฟังปาฐกถาพิเศษเรื่อง Mathematics in Fluid Mechanics and Oceanography โดย Professor Nikolay Ivanovich Makarenko, Lavrentyev Institute of Hydrodynamics, Novosibirsk, Russia ทำให้ได้ทราบว่าคณิตศาสตร์มีบทบาทในการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นน้ำ สมุทรศาสตร์ (Oceanography) เพื่อเข้าใจพฤติกรรมของคลื่นสำหรับวางแผนการเดินทางทางน้ำ เพื่อเตือนภัย ป้องกันหรือรับมือกับภัยพิบัติทางน้ำ
  1. ได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง Operations Research meets Communication Networks โดย ดร.สุชา สุพิทยภรณ์พงศ์ School of Information Science & Technology, Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology (VISTEC) ทำให้ได้ทราบถึงงานวิจัยเกี่ยวกับ Communication Networks ทำอย่างไรให้การสร้างเครือข่าย เสียค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด ลดความซับซ้อนของเครือข่าย ออกแบบให้ใช้ระยะทางที่สั้นที่สุด ซึ่งใช้ความรู้เกี่ยวกับ Optimization, Fundamental Analysis, Real Analysis, Convex Analysis และ Graph isomorphism
  2. ได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง โจทย์ประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างฉลาดและยั่งยืน โดยคุณณรงศักดิ์ พิมพ์พรรณชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำชุมชน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ทำให้ได้ทราบว่างานของสถาบันฯ จะดูแลเกี่ยวกับน้ำท่วม ภัยแล้ง และไฟป่า โดยมีคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง ปัจจุบัน จาก 51 หน่วยงาน 12 กระทรวง ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการนำข้อมูลมาสร้างแบบจำลองต่าง ๆ เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์สำหรับการวางแผนบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เช่น แบบจำลองการเกิดความเค็มของน้ำ จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งในการผลิตน้ำประปาให้คนกรุงเทพมหานครใช้บริโภค แบบจำลองน้ำท่วม แบบจำลองพยากรณ์ฝน ซึ่งยังต้องการบุคลากรมาช่วยพัฒนาให้แบบจำลองมีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และประชาชนสามารถติดตามข้อมูลได้จาก www.thaiwater.net หรือ แอบพลิเคชัน Thai Water
  1. ได้รับฟังปาฐกถาพิเศษเรื่อง Mathematics Graduates: Untapped Potential for Industries โดย Chee Wai Mak, Thailand HR Delivery, Western Digital Storage Technologies (Thailand) Ltd. ทำให้ได้ทราบว่าคณิตศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านดนตรี เช่น การประดิษฐ์เสียงต่าง ๆ จากอนุกรมฟูเรียร์ การนำคณิตศาสตร์ไปประยุกต์เกี่ยวกับ Signal Processing, Image Processing การค้นหาข้อมูล เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ควรได้รับการส่งเสริมในการนำไปใช้จริงต่อไป

   6. ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรอีกหลายท่านทั้งในและต่างประเทศ และได้รับฟังการนำเสนอผลงานแบบบรรยายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ทางด้าน           ทฤษฎีกราฟ พีชคณิต การวิเคราะห์ ทฤษฎีความน่าจะเป็น วิทยาการข้อมูล สถิติ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สมการเชิงอนุพันธ์ ปัญหากำหนดการเชิง         เส้น นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานแบบบรรยายทั้งด้านคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ศึกษา และวิทยาการคอมพิวเตอร์

       2. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

1. ได้รับความรู้ รับทราบประโยชน์ของคณิตศาสตร์ แขนงต่าง ๆ เป็นการเปิดโลกทรรศน์และมุมมอง มองเห็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการทำวิจัยทางคณิตศาสตร์

2. ได้มองเห็นแนวทางการทำวิจัย ควรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งอาจต้องใช้ความรู้หลาย ๆ ด้าน โดยผู้วิจัยศึกษาเพิ่มเติมหรือทำวิจัยเป็นหมู่คณะ

3. ได้รับประสบการณ์การจัดงานประชุมแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom

       3. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนคณาจารย์และนักศึกษาต่างสถาบัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอบรม “โครงการอบรมหลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งวิชาการ”
การเข้าร่วมอบรมโครงการ "หลักการเขียนตำราและหนังสือสำหรับขอตำแหน่งทางวิชาการ" ได้มุ่งเน้นเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการจัดทำตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 24/6/2568 11:16:29  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 15:41:51   เปิดอ่าน 38  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
CISA » CISA สำหรับหลักสูตรปรับปรุง 2570
กิจกรรม : การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accredit...
CISA  หลักสูตรปรัปปรุง 2570     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน อนรรฆอร ศรีไสยเพชร  วันที่เขียน 19/6/2568 10:43:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 17:11:11   เปิดอ่าน 45  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมการประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education Accreditation: CISA) และแผนผังการเสนอหลักสูตร
ได้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมชี้แจง ระบบสารสนเทศหลักสูตรเพื่อการรับรองมาตรฐานการอุดมศึกษาในหลักสูตรการศึกษา (ระยะที่ 1 การตรวจสอบหลักสูตรการศึกษา) (Curriculum Information System for Higher Education...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน เพชรลดา กันทาดี  วันที่เขียน 23/5/2568 17:27:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/7/2568 19:09:56   เปิดอ่าน 207  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง