โครงการ “การพัฒนาคณาจารย์ให้มีการสอนที่สร้างทักษะ 4C สอดแทรกในรายวิชา” รุ่นที่ 1
วันที่เขียน 14/5/2565 23:48:40     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 4:58:57
เปิดอ่าน: 1520 ครั้ง

โครงการ “การพัฒนาคณาจารย์ให้มีการสอนที่สร้างทักษะ 4C สอดแทรกในรายวิชา” ในวันที่ 24-25 มกราคม 2565 เวลา 09.00 -16.30 น.ในรูปแบบ online ระบบ Zoom Meeting โดยวิทยากรมืออาชีพ โค้ชโบ้ท คุณพชร ชมพูมิ่ง สุขตะ และทีมงานจากบริษัท อะบัสโบโต เอดูเคชั่นแนล เซอร์วิส เซนเตอร์ จำกัด ซึ่งจัดโดยสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

สรุปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ

  1. ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่อยากให้เกิดแก่ผู้เรียน ได้แก่ 4C ประกอบด้วย Collaboration, Communication, Critical Thinking, Creativity
  2. ผู้สอนควรเปลี่ยนบทบาทเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน (Facilitator) หรือเป็นโค้ช (Coach)
  3. การจัดกระบวนการเรียนการสอน ควรจัดตาม Facilitation Framework (6C Model) 6C ประกอบด้วย 1.Connect (สานสัมพันธ์) 2. Contract (สร้างสัญญา) 3. Content (สอนเนื้อหา) 4. Conversation/Facilitation (สนทนา) 5. Commit (สื่อเชื่อมใจ) 6. Conclude (ใส่พลังบวก)
  4. TAPS Model เป็นสิ่งที่ควรนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน คือควรมีการถามเพื่อระบุปัญหา หรือถามเพื่อให้หาทางออกเองแทนการบอกทุกเรื่อง
  5. วิทยากรได้มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เข้าอบรมมีการปรับหลักคิดต่อผู้เรียน คือมนุษย์ทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เห็น คือให้เชื่อมั่นในผู้เรียน และเปิดใจรับฟังปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข
  6. ผู้จัดการอบรม ได้จัดกิจกรรมในการอบรมเป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการเรียนการสอน ตาม 6C Model

ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

    1.ได้รับความรู้ และข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์อย่างมาก

    2. สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งแบบ online และ onsite และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้มีความน่าสนใจ ผู้เรียนมีส่วนร่วม สนุกสนานมากขึ้น

ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

    1. คณาจารย์สามารถจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีคุณภาพ และมีความน่าสนใจมากขึ้น 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1270
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 3:02:45   เปิดอ่าน 14  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 21:03:27   เปิดอ่าน 86  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 4/4/2568 1:48:33   เปิดอ่าน 129  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง