องค์ประกอบของ research articles
วันที่เขียน 30/9/2564 22:34:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 25/11/2567 4:13:39
เปิดอ่าน: 1964 ครั้ง

องค์ประกอบของ research article ประกอบด้วย Abstract Introduction Methodology Results และ Discussion/conclusion โดย Abstract จะแสดงถึงความสำคัญของเปเปอร์และจะทำให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าจะต้องการอ่านเปเปอร์นี้ต่อไปหรือไม่ สามารถแบ่ง Abstracts เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) criticle abstract 2) descriptie abstract 3) informative abstract และ 4) highlight abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอบรมเรื่อง การเขียนและนำเสนอผลงานวิชาการเป็นภาษาต่างประเทศ จากการอบรม สามารถสรุปเป็นข้อมูลดังนี้

          องค์ประกอบของ research article ประกอบด้วย Abstract Introduction Methodology Results และ Discussion/conclusion  โดย Abstract จะแสดงถึงความสำคัญของเปเปอร์และจะทำให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าจะต้องการอ่านเปเปอร์นี้ต่อไปหรือไม่ สามารถแบ่ง Abstracts เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) critical abstract เป็น abstract ที่อธิบายข้อมูลและการค้นพบที่สำคัญของงาน และมีการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนในงานของตนเอง โดยเปรียบเทียบกับงานของผู้อื่น บทคัดย่อชนิดนี้พบได้น้อย 2) descriptive abstract อธิบายข้อมูลของและสิ่งที่ค้นพบหลักในงานวิจัย โดยจะระบุวัตถุประสงค์ วิธีการ และขอบเขตของงานวิจัยอย่างคร่าวๆ แต่ไม่มีการอธิบายถึงผลการทดลอง และสรุปผลการทดลอง รวมถึงไม่มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยด้วย 3) informative abstract อธิบายงานทุกหัวข้ออย่างสรุป โดยจะเขียนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ วิธีการ ขอบเขตงาน ผล และสรุปผลงานวิจัยด้วย แต่ไม่มีการวิจารณ์ 4) highlight abstract เป็นการเขียนเพียงสั้นๆ เพื่อดึงดูดความสนในของผู้อ่าน มักไม่ใช้ในการเขียนทางวิชาการ การเขียน abstract ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ active voice ควรเขียนเป็นประโยคที่สมบูรณ์ แต่สั้น และกระชับ ควรใช้ past tense ควรมีเพียง 1 ย่อหน้า ควรเขียน abstract เป็นลำดับสุดท้าย โดยเอาข้อความสำคัญของแต่หัวข้อมาต่อกัน แล้วเขียนคำเชื่อมให้ต่อเนื่องกัน ประโยคสุดท้ายของ abstract ควรเป็นการสรุปงานวิจัย การเชื่อมโยงกับงานอื่น การใช้ประโยชน์ หรือคำแนะนำในการวิจัยต่อไป

          Introduction จะเขียนให้ผู้อ่านทราบตั้งแต่ข้อมูลทั่วไปจนถึงข้อมูลเฉพาะในงานวิจัยที่ศึกษา โดยจะสรุปงานวิจัยในปัจจุบัน ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย รวมถึงวัตถุประสงค์ของงานโดยจะอธิบายเป็นปัญหาที่พบ สมมติฐาน หรือการอธิบายวิธีการที่จะแก้ปัญหา หรือพิสูจน์สมมติฐาน และอธิบายถึงการค้นพบที่สำคัญของงานวิจัย (เปเปอร์) รวมถึงความอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำ (outline/ organization of paper) โดยบทนำที่ดีจะต้องอธิบาย ข้อมูลสรุปเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับปัญหาของงานวิจัย อธิบายข้อจำกัดของปัญหา อธิบายว่างานวิจัยนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ยังไง และอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎี การทดลอง หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เกี่ยวกับงานวิจัยของเรา ในการเขียนควรเขียนข้อมูลพื้นฐานที่ทำให้เข้าใจปัญหา/งานวิจัยของเรา โดยให้ข้อมูลเป็นลำดับขั้น/ทีละหัวข้อจากข้อมูลพื้นฐานที่กว้างๆ จนแคบมาถึงหัวข้อของเรา จนถึงปัญหาที่นำไปสู่งานวิจัยของเรา และท้ายที่สุดอธิบายถึงผลลัพธ์ (outcome) หรือการนำไปใช้ประโยชน์ของงานวิจัยเรา  สำหรับวิธีการทดลอง ผลการทดลอง และสรุปจะแตกต่างในแต่ละงานวิจัย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1226
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 24/11/2567 17:48:25   เปิดอ่าน 108  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง