Cofact Thailand กลไกการแก้ไขปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมดิจิทัล
วันที่เขียน 14/8/2564 23:55:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 19:22:22
เปิดอ่าน: 1448 ครั้ง

จากปัญหาการแก้ปัญหาข่าวลวงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้เกิดการร่วมตัวกันของหน่วยงาน องค์กร นักวิชาชีพ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการและประชาสังคม ที่ให้ความสนใจปัญหาข่าวลวงที่เกิดขึ้นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) โดย สสส. ได้เป็นมีการประสานกับภาคีต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ อีกทั้งมีเวทีระดมสมองนักคิดยุคดิจิทัลเพื่อสุขภาวะพลเมือง (Digital Thinkers’ Forum) เป็นพื้นที่กลางที่ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางด้านนโยบายสาธารณะในการรับมือกับผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อหาต้นแบบ ด้านมืดออนไลน์อย่างมีสุขภาวะ

จากปัญหาการแก้ปัญหาข่าวลวงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้เกิดการร่วมตัวกันของหน่วยงาน องค์กร นักวิชาชีพ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการและประชาสังคม ที่ให้ความสนใจปัญหาข่าวลวงที่เกิดขึ้นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) โดย สสส. ได้เป็นมีการประสานกับภาคีต่างๆ ที่ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ อีกทั้งมีเวทีระดมสมองนักคิดยุคดิจิทัลเพื่อสุขภาวะพลเมือง (Digital Thinkers’ Forum) เป็นพื้นที่กลางที่ทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางด้านนโยบายสาธารณะในการรับมือกับผลกระทบด้านลบจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อหาต้นแบบ ด้านมืดออนไลน์อย่างมีสุขภาวะ โดยมีหลายหน่วยงานเป็นองค์กรร่วมจัดเวทีหารือในประเด็นสำคัญๆทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น จึงนำไปสู่การรวมตัวกันเป็นเครือข่าย และ คณะทำงานเพื่อวางแนวทางการทำงานร่วมตลอดระยะในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมถึงได้มีการศึกษาวิจัยทบทวนวรรณกรรมต่างประเทศทั้งในมิติของทฤษฎี ข้อค้นพบเชิงประจักษ์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติการทำงานของข่าวลวงในสังคมไทยผ่านกรณีศึกษา พร้อมทั้งสังเคราะห์ข้อเสนอที่ตอบสนองต่อลักษณะปัญหาในบริบทไทยด้วยซึ่งจะเป็นฐานองค์ความรู้ใจการรณรงค์สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป โดยภาคี ๘ องค์กร อาทิ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกทั้งได้รับเกียรติจากคุณออเดรย์ ถัง (Audrey Tang) รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวัน (Digital Minister) มาเป็นวิทยากร องค์ความรู้การจัดการปัญหาข่าวลวงในไต้หวัน โดยใช้ทั้งเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของภาคประชานับเป็นการจุดประกายที่ทำให้ทุกฝ่ายในประเทศไทยอยากเห็นพื้นที่กลางที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการค้นหาความจริงในโลกดิจิทัลเหมือนกับไต้หวันโมเดล โครงการ “พัฒนากลไกการแก้ปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมยุคดิจิทัล” จึงได้เกิดขึ้น โดยรวมเครือข่ายด้านการสื่อสารทั่วประเทศดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดย ในช่วงปีแรกได้วางระบบเทคโนโลยี โคแฟค (Cofact) ทั้งในระบบเว็บ ( Web application ) โดยประยุกต์มาจาก Open Source ของไต้หวันและปรับระบบ Chatbot ในโปรแกรมไลน์แชท (Line Application) หรือการพูดคุยอัตโนมัติโดยปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้จากระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถดึงฐานข้อมูลข่าวมาช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบข่าวลวงในเวลาอันรวดเร็ว และ สะดวกกว่าการต้องไปค้นหาเอง ซึ่งทีมงานได้วางระบบโครงสร้างไว้เพื่อรองรับการทำงานที่ทุกฝ่าย สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันในการร่วมกันค้นหาความจริงโดยวางโครงสร้างเบื้องต้นไว้ให้ภาคีเครือข่ายทดลองนำไปใช้ เพื่อปรับระบบให้ง่ายกับการใช้งานและเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ทั้งนี้แนวคิดของโคแฟคที่ออกแบบไว้ เป็นการผสานการผลักดันการใช้เทคโนโลยีของภาคพลเมือง (Civic Tech) กับงานเชิงข่าวด้านวารสารศาสตร์ (Journalism) โดยมีกองบรรณาธิการร่วมกับอาสาสมัครในการกรองข่าว และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนโต้แย้งข้อเท็จจริงและความเห็นได้ ทั้งนี้ได้เชิญคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเครือข่ายด้านความร่วมมือ (In kind) จัด กิจกรรมพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวง (Cofact Thailand สัญจรภาคเหนือ) ภายใต้โครงการ "พัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมดิจิทัล ขึ้น เพื่อพัฒนาชุมชนผู้ตรวจสอบข่าวลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1197
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:48:02   เปิดอ่าน 19  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:48   เปิดอ่าน 39  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง