ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยายกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วันที่เขียน 23/4/2564 9:08:08     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:12:00
เปิดอ่าน: 1349 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) การเสนอผลงานวิชาการ แบบบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผ่านระบบ Microsoft Teams ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 “การเปรียบเทียบฤทธิ์การต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดระหว่างข้าวก่ำพันธุ์ดั้งเดิมกับข้าวก่ำ มช.107” พบว่าสารสกัดข้าวก่ำเจ้า มช.107 มีค่า DPPH Assay IC50 อยู่ 119 µg/mL สูงกว่าสารสกัดข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองดอยสะเก็ด และทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของมะเร็ง A549 พบว่า การสารสกัดข้าวก่ำเจ้าทั้งสองชนิดที่ระดับความเข้มข้น 200 µg/mL ต้านเซลล์มะเร็งปอดชนิด A549 ให้ผลแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย “ผลของน้ำหมักชีวภาพจากกล้วยตานีสุกต่อการจับตัวและคุณสมบัติทางกายภาพของยางก้อนกล้วย” กรดสังเคราะห์ที่ช่วยทำให้น้ำยางจับตัวนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและดินรวมทั้งชาวสวนยาง พบว่าการหมักกล้วยตานีสุก 2,000 กรัม ร่วมกับน้ำเปล่า 3 ลิตร และ พด.2 จำนวน 5 กรัม เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งปริมาณน้ำหมักชีวภาพต่อน้ำยาง 50:100 สามารถทำให้ยางก้อนกล้วยจับตัวได้ที่เวลา 14.31 นาที ช้ากว่าการใช้กรดฟอร์มิกที่ใช้เวลา 7.29 นาที “การศึกษากระบวนการทำข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอกต่อปริมาณสารกาบา สารประกอบ ฟีนอลิคและสารต้านอนุมูลอิสระ” เมื่อระยะเวลาบ่มนานขึ้น ทำให้สารกาบาสูงขึ้นตามระยะเวลาในการบ่ม ใช้ระยะเวลาในการบ่ม 36 ชั่วโมง เพื่อให้ได้สารกาบาสูงสุด ปริมาณสารประกอบฟินอลลิคมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม “การใช้ไมโครแคปซูลจากยีสต์ในการเพิ่มความเ สถียรของผลิตภัณฑ์ในสภาวะน้ำย่อยจำลองและการเก็บรักษาสารเคอร์คูมินอยด์” การผสมสารเคอร์คูมินอยด์ที่สกัดจากขมิ้นชัน เข้ากับสารผสม (wall meterials) ชนิดต่างๆ มีผลกระทบต่อการละลายน้ำของเคอร์คูมินอยด์ และเคอร์คูมินอยด์มีความสามารถในการละลายที่ต่างกัน ยังพบว่า เมื่อผสมยีสต์ เคอร์คูมินอยด์ และ sodium alginate ร่วมกันส่งผลให้การปลดปล่อยสาระสำคัญชะลอตัวลงได้ดี “การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่อง ECO- SMART ต่อการลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร” การทำงานของเครื่อง ECO- SMART ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร มีกระบวนการทำงานคล้ายกระบวนการทำ Flash pasteurization แต่มีระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ (contact time) ที่นานกว่าทำให้มีความสามารถในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้ และการนำขยะประเภทต่างๆ จากครัวเรือนมาบำบัด้วยเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียลงได้ เมื่อทดสอบทั้งในสภาวะมีอากาศและสภาวะไร้อากาศ “ผลของสูตรอาหารต่อการเพาะเลี้ยงอย่างง่ายก้วยไม้กะเรกะร่อน” พบว่าโปรโตคอร์มเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โปรโตคอร์มที่ได้มีลักษณะสีเขียวสมบูรณ์เริ่มเกิดที่ใบ และมีสัดส่วนโปรโตคอร์มขนาด ≥ 0.9 cm. มากที่สุด “ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและตายอดจากชิ้นส่วนใบดาวเรือง” การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วน ใบดาวเรืองบนอาหารสูตร MS ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ NAA ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้เกิดแคลลัสและราก แต่ไม่ส่งผลให้เกิดตายอด ส่วนการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบดาวเรืองบนอาหารสูตร EMS ที่มี BA 2 mg/L และ NAA 0.5 mg/L พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การเกิดตายอดดีที่สุด และเมื่อนำตายอดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร EMS มาเลี้ยงต่อบนอาหารสูตร MS ที่ไม่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ยอดจะมีการยืดยาวและแตกยอดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.5 ยอดต่อต้น ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ได้รับแนวคิด และมุมมองใหม่ในด้านการวิจัยหลากหลายด้าน ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการทดลองที่ต่างจากงานของตนเอง และได้เพิ่มทักษะในกระบวนการคิดวิเคราะห์ การทดลองด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) สามารถนำความรู้ที่ได้รับฟังจากการสัมมนา มาคิดวิเคราะห์ ประยุกต์มาใช้ประโยชน์ในการงานวิจัยและงานช่วยการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดและแนะนำนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่สนใจต่อไปได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1157
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
รุ่งทิพย์ กาวารี » #SFC เทคนิคการแยกสารด้วยวิธีโครมาโตกราฟีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เทคนิคโครมาโตกราฟีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ใช้คอลัมน์แบบเปิดในการแยกสาร ซึ่งใช้เวลานานมาก มีความละเอียดต่ำ มีอัตราการไหลต่ำ (ขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง) การทำ Gradient ไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องมี...
Flash  HPLC  Prep HPLC  SFC  Supercritical Fluid Chromatography     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 17/11/2567 16:18:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:54:07   เปิดอ่าน 140  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) » ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) มีความสำคัญในการป้องกันและควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับชีวภาพ โดยความปลอดภัยเน้นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ขณะ...
การรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety)     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน อนุชิดา วงศ์ชื่น  วันที่เขียน 24/9/2567 23:02:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:35:33   เปิดอ่าน 278  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เบญญาภา หลวงจินา » ความปลอดภัยในห้องปฏฺิบัติการเคมี
ปัจจุบันกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นที่ต้องนำสารเคมีหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางด้านการเกษตร ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรมและด้นอื่น ๆ รวมทั้งสารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ส...
ความปลอดภัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน เบญญาภา หลวงจินา  วันที่เขียน 29/8/2567 15:42:12  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 15:55:17   เปิดอ่าน 361  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รุ่งทิพย์ กาวารี » #การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
นโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดย นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อํานวยการสํานักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวถึง การลงทะเบียนเพื่อขอรับเ...
Peer Evaluation  การขอทุนวิจัยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ  ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานช่วยวิชาการ
ผู้เขียน รุ่งทิพย์ กาวารี  วันที่เขียน 29/8/2567 13:43:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:12:40   เปิดอ่าน 181  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง