Blog : ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ใน
รหัสอ้างอิง : 1642
ชื่อสมาชิก : ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร
เพศ : หญิง
อีเมล์ : panarin@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15/8/2557 10:34:23

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ใน
เข้าร่วมโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ใน » ประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยายกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) การเสนอผลงานวิชาการ แบบบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ผ่านระบบ Microsoft Teams ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 “การเปรียบเทียบฤทธิ์การต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดระหว่างข้าวก่ำพันธุ์ดั้งเดิมกับข้าวก่ำ มช.107” พบว่าสารสกัดข้าวก่ำเจ้า มช.107 มีค่า DPPH Assay IC50 อยู่ 119 µg/mL สูงกว่าสารสกัดข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองดอยสะเก็ด และทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของมะเร็ง A549 พบว่า การสารสกัดข้าวก่ำเจ้าทั้งสองชนิดที่ระดับความเข้มข้น 200 µg/mL ต้านเซลล์มะเร็งปอดชนิด A549 ให้ผลแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย “ผลของน้ำหมักชีวภาพจากกล้วยตานีสุกต่อการจับตัวและคุณสมบัติทางกายภาพของยางก้อนกล้วย” กรดสังเคราะห์ที่ช่วยทำให้น้ำยางจับตัวนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและดินรวมทั้งชาวสวนยาง พบว่าการหมักกล้วยตานีสุก 2,000 กรัม ร่วมกับน้ำเปล่า 3 ลิตร และ พด.2 จำนวน 5 กรัม เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งปริมาณน้ำหมักชีวภาพต่อน้ำยาง 50:100 สามารถทำให้ยางก้อนกล้วยจับตัวได้ที่เวลา 14.31 นาที ช้ากว่าการใช้กรดฟอร์มิกที่ใช้เวลา 7.29 นาที “การศึกษากระบวนการทำข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอกต่อปริมาณสารกาบา สารประกอบ ฟีนอลิคและสารต้านอนุมูลอิสระ” เมื่อระยะเวลาบ่มนานขึ้น ทำให้สารกาบาสูงขึ้นตามระยะเวลาในการบ่ม ใช้ระยะเวลาในการบ่ม 36 ชั่วโมง เพื่อให้ได้สารกาบาสูงสุด ปริมาณสารประกอบฟินอลลิคมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม “การใช้ไมโครแคปซูลจากยีสต์ในการเพิ่มความเ สถียรของผลิตภัณฑ์ในสภาวะน้ำย่อยจำลองและการเก็บรักษาสารเคอร์คูมินอยด์” การผสมสารเคอร์คูมินอยด์ที่สกัดจากขมิ้นชัน เข้ากับสารผสม (wall meterials) ชนิดต่างๆ มีผลกระทบต่อการละลายน้ำของเคอร์คูมินอยด์ และเคอร์คูมินอยด์มีความสามารถในการละลายที่ต่างกัน ยังพบว่า เมื่อผสมยีสต์ เคอร์คูมินอยด์ และ sodium alginate ร่วมกันส่งผลให้การปลดปล่อยสาระสำคัญชะลอตัวลงได้ดี “การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่อง ECO- SMART ต่อการลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร” การทำงานของเครื่อง ECO- SMART ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร มีกระบวนการทำงานคล้ายกระบวนการทำ Flash pasteurization แต่มีระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ (contact time) ที่นานกว่าทำให้มีความสามารถในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้ และการนำขยะประเภทต่างๆ จากครัวเรือนมาบำบัด้วยเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียลงได้ เมื่อทดสอบทั้งในสภาวะมีอากาศและสภาวะไร้อากาศ “ผลของสูตรอาหารต่อการเพาะเลี้ยงอย่างง่ายก้วยไม้กะเรกะร่อน” พบว่าโปรโตคอร์มเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โปรโตคอร์มที่ได้มีลักษณะสีเขียวสมบูรณ์เริ่มเกิดที่ใบ และมีสัดส่วนโปรโตคอร์มขนาด ≥ 0.9 cm. มากที่สุด “ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและตายอดจากชิ้นส่วนใบดาวเรือง” การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วน ใบดาวเรืองบนอาหารสูตร MS ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ NAA ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้เกิดแคลลัสและราก แต่ไม่ส่งผลให้เกิดตายอด ส่วนการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบดาวเรืองบนอาหารสูตร EMS ที่มี BA 2 mg/L และ NAA 0.5 mg/L พบว่า มีเปอร์เซ็นต์การเกิดตายอดดีที่สุด และเมื่อนำตายอดที่ได้จากการเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร EMS มาเลี้ยงต่อบนอาหารสูตร MS ที่ไม่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต ยอดจะมีการยืดยาวและแตกยอดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.5 ยอดต่อต้น ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ได้รับแนวคิด และมุมมองใหม่ในด้านการวิจัยหลากหลายด้าน ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการทดลองที่ต่างจากงานของตนเอง และได้เพิ่มทักษะในกระบวนการคิดวิเคราะห์ การทดลองด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) สามารถนำความรู้ที่ได้รับฟังจากการสัมมนา มาคิดวิเคราะห์ ประยุกต์มาใช้ประโยชน์ในการงานวิจัยและงานช่วยการเรียนการสอนภาคปฏิบัติการ และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดและแนะนำนักศึกษา/ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่สนใจต่อไปได้
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1349  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 23/4/2564 9:08:08  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 19:12:00
ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ใน » ข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ใน
ได้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรข้อกำหนดและการตรวจติดตามภายในระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหาร ISO 22000: 2018 และ FSSC 22000 Version 5 ในระหว่างวันเสาร์ที่ 21 และวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโดยงานบริการวิชาการและวิจัย สำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งการอบรมปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลให้ผู้ประกอบการ นักศึกษา บุคลากรและศิษย์เก่าของคณะวิทยาศาสตร์ โดยมีวิทยากร คุณธรรมรัตน์ รุ่งสังข์ ที่ปรึกษาอิสระ จากการเข้าร่วมฝึกอบรมครั้งนี้ทำให้เข้าใจข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้เห็นชัดถึงประเด็นสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน แนวคิดพื้นฐานใหม่ หลักการจัดการความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้เห็นความมุ่งมั่นของผู้บริหาร เพิ่มมุมมองที่กว้างขึ้นจากผู้ส่งมอบไปยังลูกค้า มุ่งเน้นไปยังอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เพิ่มนิยามศัพท์ที่ชัดเจน เน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น ปรับปรุงระบบให้ง่ายขึ้น สำหรับบริบทขององค์กร ทำให้เข้าใจถึงบริบทขององค์กร องค์กรต้องกำหนดประเด็นต่างๆทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์และประเด็นที่ส่งผลต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลต่างๆที่เข้าใจของระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร ทำให้เข้าใจถึงความคาดหวังของผู้ที่มีส่วยได้ส่วนเสีย การกำหนดขอบข่ายของระบบความจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารและระบบการจัดการความปลอดภัย องค์กรต้องพิจารณาขอบข่ายและการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการด้านคุณภาพเพื่อจัดทำขอบข่ายของระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร และจะต้องระบุถึงชนิดผลิตภัณฑ์และบริการ ขอบข่ายต้องระบุถึงกิจกรรม กระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ส่งผลถึงความปลอดภัยของอหารของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โครงสร้างและนิยามใหม่ ข้อกำหนดใหม่ ข้อกำหนดที่มีเปลี่ยนแปลงใหม่โดยเปรียบเทียบรายละเอียดระหว่าง version 4.1 และ version 5 ตลอดจนแนวทางการกำหนดแผนงาน เพื่อปรับเปลี่ยน version 4.1 สู่ version 5 ของ ISO 22000: 2018 FSSS22000 Version 5 Requirement and Interpretation สำหรับหัวข้อ ISO/TS 22002-1 Requirement Firstedition : 2009-12-15 (FSSC Clause 2.4) ทำให้ได้ทราบและเข้าใจถึงข้อกำหนดทั่วไปของการก่อสร้างและแผนผังของตัวอาคาร ต้องถูกออกแบบก่อสร้างและบำรุงรักษาอย่างแข็งแรงที่จะแสดงให้เห็นว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม ไม่ควรทำการผลิตอาหารในพื้นที่ที่มีสารอันตรายที่สามารถเข้ามาสู่ผลิตภัณฑ์ แผนผังของสถานที่และพื้นที่การทำงาน ต้องถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดี และเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากแหล่งที่มีโอกาสปนเปื้อน ช่องเปิดสำหรับส่งวัสดุต้องถูกออกแบบมาเพื่อลดการเข้ามา ทางเข้าของสิ่งแปลกปลอมและสัตว์พาหะ พื้นต้องถูกอกแบบมาเพื่อป้องกันน้ำท่วม ต้องมีท่อดักและถังปิด ระบบสาธารณูปโภค อากาศ น้ำและพลังงาน การกำจัดของเสีย ความเหมาะสมของอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องปฏิบัติการ เช่นห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ต้องถูกออกแบบและตั้งอยู่ ในลักษณะมีการป้องกันการปนเปื้อนและต้องไม่เปิดบริเวณผลิตได้โดยตรง ความเข้มของแสงควรเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน การทำความสะอาดการบำรุงและการรักษา ต้องมีระบบดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าของเสียได้ถูกกำจัดชี้บ่งชัดเจน การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การกำจัดในลักษณะที่ป้องกันการเกิดการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์ หรือพื้นที่ผลิต การบริหารจัดการทางจัดซื้อวัตถุดิบ มาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้าม การทำความสะอาดเชื้อโรค การควบคุมสัตว์รบกวน สุขลักษณะส่วนบุคคลและสิ่งอำนวยความสะดวกของพนักงาน การทำซ้ำ ขั้นตอนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ โกดังเก็บสินค้า การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเรื่องการป้องกันอาหารและการระมัดระวังทางด้านชีวภาพ การก่อการร้ายทางชีวภาพ การลดผลกระทบอาหารปลอม การจัดการสารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น จากข้อมูลความรู้เบื้องต้นมาตรฐานสากลด้านอาหารปลอดภัย ที่ได้รับจากวิทยากรที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อกำหนดและวิธีการจัดทำระบบมาตรฐานสากลที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตลอดเวลาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและงานวิจัยต่อไปได้
คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 3326  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน ภานรินทร์ ปรีชาวัฒนากร  วันที่เขียน 6/3/2563 9:16:48  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 18:54:07

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้