|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
Quantitative PCR (qPCR)
|
PCR (Polymerase chain reaction) เป็นเทคนิคที่มีการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต จากปริมาณ DNA ตั้งต้น เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านสำเนา ภายในระยะเวลาอันสั้น ขั้นตอนในการทำ PCR แบบดั้งเดิม ได้แก่ การทำให้ DNA เสียสภาพที่อุณหภูมิสูงและแยกตัวออกเป็นสายเดี่ยว (Denatulation) การจับกันของไพรเมอร์และดีเอ็นเอ โดยการลดอุณหภูมิลง ไพรเมอร์จะเข้าไปจับกับดีเอ็นเอแม่พิมพ์ (Annealing) และการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ โดย Taq DNA polymerase จะนำเบสต่างๆ (A, T, C, G) ไปสังเคราะห์ต่อจากไพรเมอร์จนได้ดีเอ็นเอสายคู่เหมือนเดิม (Extension)
Quantitative PCR (QPCR) หรือ PCR เชิงปริมาณ เหมาะสำหรับใช้ในหาปริมาณ DNA และสามารถตรวจสอบการขยายตัวของโมเลกุล DNA ได้ในระหว่างการทำ PCR ในเวลาจริง เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนามาจากการทำ PCR แบบดั้งเดิม โดยใช้การติดฉลากด้วยสารเรืองแสงประเภท fluorochrome ทำให้สามารถวัดปริมาณของดีเอ็นเอเป้าหมายตั้งต้นจากสิ่งต้องการตรวจวัดได้และสามารถวัดปริมาณดีเอ็นเอที่เพิ่มขึ้นมาได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้กระบวนการเสร็จสิ้นก่อน
|
คำสำคัญ :
PCR, qPCR
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
220
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
25/9/2566 13:14:19
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 19:12:32
|
|
|
สรุปรายงานจากการอบรม
»
การประยุกต์ใช้เทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ในงานวิจัย
|
ปัจจุบันเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำประโยชน์กับงานหลายๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ด้านอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพันธุ์พืช การนำเทคนิคทางอณูพันธุศาสตร์เข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม เริ่มจากการใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction เพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอเฉพาะส่วนที่ต้องการ ภายในระยะเวลาอันสั้นในหลอดทดลอง ซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ 3-4 ชั่วโมง และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR ในการทำ ซึ่งไม่เหมาะกับห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก หรือการทำงานภาคสนาม ดังนั้นจากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีการพัฒนาวิธีเพิ่มขยายยีนด้วยเทคนิค Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) ขึ้นมา วิธีการนี้สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ถึง 109 เท่า ภายในระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเพิ่มปริมาณ DNA จะใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิเดียว (60-65 ํC) โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PCR และการ run gel electrophoresis มีการใช้ primers 4 ชุด หรือ 6 ชุด ที่จำเพาะต่อกับสาย DNA แม่พิมพ์ 6 ตำแหน่ง จึงทำให้มีความจำเพาะต่อการตรวจสอบสูง และทำการเพิ่มปริมาณ DNA โดยใช้เอนไซม์ Bst DNA polymerase สำหรับการตรวจสอบยีนที่เพิ่มขยายได้ ในเทคนิค LAMP จะเกิดสาร pyrophosphate เป็น by product ในปฏิกิริยา สารดังกล่าวสามารถจับกับ magnesium กลายเป็น magnesium pyrophosphate ซึ่งจะเกิด ตะกอนสีขาวขุ่น ไม่ละลายน้ำ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจยืนยันผลด้วยเครื่อง spectrophotometry หรือสารฟลูออเรสเซ็นต์ ซึ่งจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณการเพิ่มขยายยีนนั้นๆ
|
คำสำคัญ :
LAMP, PCR, Loop-mediated isothermal amplification, เทคนิค LAMP
|
กลุ่มบทความ :
กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
|
หมวดหมู่ :
กลุ่มงานช่วยวิชาการ
|
สถิติการเข้าถึง :
เปิดอ่าน
3493
ครั้ง | แสดงความคิดเห็น
0
ครั้ง
|
ผู้เขียน
วริศรา สุวรรณ
วันที่เขียน
27/9/2565 15:43:55
แก้ไขล่าสุดเมื่อ
21/11/2567 22:43:08
|
|
|
|
|
|