สรุปประชุมวิชาการแม่โจ้ 2560
ข้าพเจ้า...นางทุเรียน ทาเจริญ ..ตำแหน่ง ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์... สังกัด ...สาขาพันธุศาสตร์ ...ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเจ้าร่วมประชุมวิชาการแม่โจ้ 2560 เมื่อวันที่.. 7-8 ธันวาคม 2560... ณ ห้องข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ....ตามหนังสืออนุญาตเลขที่... ศธ 0523.4.9.1/181 ....ลงวันที่ 21 พ.ย. 2560…
ดังนั้นจึงขอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการประชุมวิชาการดังต่อไปนี้
ความรู้ทางพันธุศาสตร์กับเกษตรเกี่ยวกับพืชชนิดต่างๆดังนี้คือ
1. ข้าว
1.1.การคัดเลือกลักษณะเรณูเป็นหมันที่ควบคุมด้วยยีนในไซโตพลาสซึมจะมียีนแก้ความเป็นหมันของเรณู (Rf) อยู่ในนิวเคลียส ในระบบ Wild abortive- cytoplasmic male sterility สามารถจัดกลุ่มของข้าวด้วย % ความมีชีวิตของเรณูและ%เมล็ดดีของลูกผสมโดยมียีนแก้ความเป็นหมันของเรณูตำแหน่ง Rf4ใช้เป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอ ทำให้สามารถจัดกลุ่มข้าวไทยพันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 และกข 47 ด้วย% ความมีชีวิตของเรณูและ%เมล็ดดีร่วมกับการคัดเลือกด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอต่อตำแหน่ง Rf4 ทั้งชนิด SSR และที่จำเพาะกับยีนทำให้สามารถสรุปได้ว่าข้าวทั้ง 3 พันธุ์เป็นกลุ่มแก้ความเป็นหมันของเรณูและนอกจากนี้ยังพบว่า เครื่องหมาย RM 6100, RMS_PPR9_4 และ PPR_9InDel สัมพันธ์กับความสามารถในการแก้ความเป็นหมันของเรณู แสดงว่าข้าวไทยนั้นมียีนแก้ความเป็นหมันที่ตำแหน่ง Rf4 แตกต่างกัน
1.2 การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวโดยใช้การตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี1 และชัยนาท 80 ทำให้สามารถร่นระยะเวลาให้ลดลงจากวิธี conventional breeding ได้เป็นอย่างดีในด้านการคัดเลือกสายพันธุ์โดยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก
1.3 การถ่ายยีนเข้าไปในข้าวศึกษาพบว่าการทำงานของยีน Rc ของข้าวพันธุ์หอมสุโขทัย 1อาจต้องมีการทำงานร่วมกับยีนโครงสร้างอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดการสังเคราะห์แอนโทไซติน
1.4 การศึกษาเกี่ยวกับปริมาณอะไมโลสและความคงตัวของแป้งสุกในข้าวไทยพบว่าข้าวเหนียวมีอะไมโลสปริมาณ 4.15-8.52% แต่ข้าวเหนียวมีอะไมโลสปริมาณ 12.40-31.80% สามารถที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไป
2. ลำไย
การพัฒนาเครื่องหมาย SCAR ด้วยเทคนิค Touchdown PCR สามารถใช้ตรวจสอบลำไยลูกผสมในการจำแนกลำไยพันธุ์ดอหลวงออกจากลูกผสมได้ในอนาคตเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านลดความเสี่ยงต่อระบบการปลูกลำไยเชิงเดี่ยวโดยต้องมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้มีพันธุ์ใหม่
3 แตงกวา
การศึกษาความดีเด่นของแตงกวาลูกผสมโดยใช้สายพันธุ์แตงกวาที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทย พบว่าการพัฒนาเป็นแตงกวาลูกผสมพันธุ์ใหม่โดยใช้สายพันธุ์แตงกวาพ่อที่มีการแสดงเพศดอกแบบดอกกระเทยจะสามารถผลิตลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงสำหรับอุตสาหกรรมเชิงการค้าและธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในอนาคตได้
4. ฝรั่ง
การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของฝรั่งในแปลงรวบรวมพันธุ์เพื่อประโยชน์ทางด้านปรับปรุงพันธุ์พบว่าRADPเป็นเครื่องหมายดีเอนเอที่สามารถแสดงความแตกต่างมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าฝรั่งจะมีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.73-0.96 และ ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน 0.81 สามารถจำแนกฝรั่งได้ 3 กลุ่ม จึงคาดว่าจะสามารถใช้ไพรเมอร์ RAPD ในโครงการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งต่อไป
นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้เสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์เรื่อง “การจัดกลุ่มข้าวไทยด้วยยีนแก้ความเป็นหมันของเรณูในระบบข้าวลูกผสมสามสายพันธุ์”และได้รับหนังสือรับรองจากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้เลขที่ ศธ ๐๕๒๓.๖.๑ (ร)/๕๒ ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๐
ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านวิจัยและประกอบการเรียนการสอนในอนาคต