สรุปเนื้อหาที่ได้จากการประชุมวิชาการ Genomics and Genetics 2016
วันที่เขียน 6/9/2559 14:54:10     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:43:14
เปิดอ่าน: 4104 ครั้ง

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการศึกษาทางพันธุศาสตร์มีความก้าวหน้ามาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเทคนิค/วิธีต่าง ๆ น้อยลง และได้มีการนำความรู้มาใช้ในการรักษาที่จำเพาะกับบุคคล "Precision Medicine" รวมถึงการดัดแปลงดีเอ็นเอ (genome editing)ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งการรักษาโรคทางพันธุกรรม และการปรับปรุงพันธุ์ทางการเกษตร

ข้าพเจ้า นางสาวยุพเยาว์ คบพิมาย ตำแหน่งอาจารย์ สังกัด สาขาพันธุศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ Genomics and Genetics 2016 เมื่อวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2559  ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ ตามหนังสืออนุญาตเลขที่ ศธ 0523.4.9.1/080  ลงวันที่ 11 เมษายน  2559 ดังต่อไปนี้

จีโนมมนุษย์ประกอบด้วยดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในรูปของโครโมโซม 22 คู่ และโครโมโซม X และ Y นอกจากนี้ยังประกอบด้วยดีเอ็นเอรูปแบบวงกลมที่อยู่ในไมโทคอนเดรียอีกด้วย ในเซลล์สืบพันธุ์ประกอบด้วยดีเอ็นเอประมาณ 3,000 ล้านคู่เบส ลำดับดีเอ็นเอทั้งหมดของมนุษย์ได้ถูกเปิดเผยในปี 2003 โดยโครงการ Human Genome project (HGP)  ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีการหาลำดับดีเอ็นเอพัฒนามากขึ้น จึงมีการหาลำดับดีเอ็นเอของมนุษย์หลายพันคนโดยเทคนิค next generation DNA sequencing และคาดว่าในมนุษย์มียีนทั้งหมด 20,000-25,000 ยีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ ของดีเอ็นเอทั้งหมดในจีโนม ส่วนที่เหลือเป็น non-coding RNA, regulatory DNA, LINEs, SINEs, intron และลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ ที่ยังไม่ทราบหน้าที่

การศึกษาหน้าที่ของดีเอ็นเอบริเวณต่าง ๆ ในจีโนม รวมทั้งหน้าที่ของโปรตีนและอาร์เอ็นเอในมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากจะนำไปสู่การรักษาโรคต่าง ๆ โดยการใช้ยาที่จำเพาะที่เรียกว่า “precision medicine” เนื่องจากแต่ละคนมีสารพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจำเป็นต้องรู้ลำดับดีเอ็นเอของยีนที่ควบคุมโรคต่าง ๆ ในผู้ป่วยแต่ละรายอย่างจำเพาะ และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับยาที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างดี และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ในประเทศไทยได้เริ่มก่อตั้งโครงการ “Thailand Precision Medicine Initiative” โดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลักที่สำคัญของประเทศหลายแห่งเพื่อศึกษายีนที่มีผลต่อการเป็นโรคที่ร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคนิ่วในไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในระยะเวลาไม่กี่ปีนี้จะมีการรักษาโรคโดยวิธี "precision medicine" ขึ้นอย่างแน่นอน โดยจะเริ่มต้นที่โรงพยาบาลใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางและมีการวิจัยก่อน

นอกจาการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์ในมนุษย์แล้ว เทคโนโลยี next generation sequencing ยังเอื้อต่อการศึกษาพืชทางเศรษฐกิจที่ไม่ใช่พืชต้นแบบอีกด้วย เช่น ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น โดยการค้นหายีนจากลำดับเบสของ cDNA หรือ RNA,  การศึกษาความผันแปรของยีน, การแสดงออกของยีน, การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และการศึกษา QTL เป็นต้น

นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการค้นพบวิธีดัดแปลงดีเอ็นเอ (genome editing) ของมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคทางพันธุกรรม และใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ทางการเกษตร ซึ่งการดัดแปลงดีเอ็นเอมี 3 ระบบ คือ zinc-finger endonucleases (ZFNs), transcription activator-like effector nucleases (TALENs) และ interspaced short palindromic repeats (CRISPR)/CRISPR-associated (Cas) protein 9 system การทำงานของ 2 ระบบแรก อาศัยโปรตีนเป็นตัวนำทางไปยังดีเอ็นเอบริเวณที่ต้องการดัดแปลง ซึ่งมีความยุ่งยาก ส่วนระบบสุดท้ายอาศัยอาร์เอ็นเอเป็นตัวนำทางซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ง่ายกว่า

จากการเข้าร่วมประชุมข้าพเจ้าได้ทราบข้อมูลใหม่ ๆ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางด้านพันธุศาสตร์ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน รวมถึงการวิจัยในอนาคต

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=586
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:28:28   เปิดอ่าน 24  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง