Blog : การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ ๓
รหัสอ้างอิง : 401
ชื่อสมาชิก : พัฒนพงศ์ เทียนชัย
เพศ : ชาย
อีเมล์ : pattana@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 4/4/2554 13:38:06
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 4/4/2554 13:38:06

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ ๓
ตามหนังสือที่ อว ๖๙.๕.๑.๑/ ๒๔๔ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ได้อนุญาตให้ข้าพเจ้าเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ ๓ เรื่อง รับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้ ในรูปแบบโปสเตอร์และการนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผ่านระบบออนไลน์นั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงขอรายงานสรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ ๑. รูปเนื้อหาที่ได้รับจากการเข้าประชุม/อบรม ฯลฯ การประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ ๓ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เปิดโอกาสให้นักศึกษา คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่สนใจนำผลงานทางวิชาการและการวิจัยมาเสนอในที่ประชุมวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพร ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการ โดยการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักวิจัยต่างสถาบันในการต่อยอดและพัฒนางานวิจัยในด้านต่าง ๆ ในกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการบรรยายพิเศษของวิทยากรพิเศษในหลายๆเรื่อง อาทิ - โปรแกรมแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการเจาะกะโหลกเพื่อระบายน้ำในโพรงสมอง-นวัตกรรมล่าสุด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ - อุตสาหกรรมชีววิทยาสังเคราะห์ - นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ฯลฯ พร้อมทั้งมีการนำเสนอผลงานพิเศษของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์จากหลากหลายมหาวิทยาลัยโดยมีการแบ่งออกเป็น ๕ หมวดหมู่การนำเสนอ ได้แก่ ๑. กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และสิ่งแวดล้อม ๒. กลุ่มคณิตศาสตร์และสถิติ ๓. กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๔. กลุ่มเคมี และนวัตกรรม เคมีอุตสาหกรรม ๕. กลุ่มวัสดุศาสตร์และฟิสิกส์ประยุกต์ ๒. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ๒.๑ ได้ทราบถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้จากการศึกษาและวิจัยของคณาจารย์ และนักศึกษา ๒.๒ ได้พบปะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ในการศึกษาและวิจัยของคณาจารย์ และนักศึกษา ๒.๓ ได้เห็นความก้าวหน้าทางวิชาการในแขนงต่าง ๆ ๓. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ) ๓.๑ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมอบรม มาใช้เป็นแนวทางในการทำงานวิจัยในสาขาได้เป็นอย่างดี ๓.๒ ได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ พร้อมนี้ได้แนบหลักฐานการเข้าร่วมประชุม จากการเข้าประชุม/อบรมฯลฯ มาพร้อมนี้แล้ว จำนวน 1 ชุด จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (รองศาสตราจารย์พัฒนพงศ์ เทียนชัย) ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๕
URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้