การดำเนินการ สำนักงานสีเขียว หมวด 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
วันที่เขียน 21/9/2566 11:47:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 16:00:15
เปิดอ่าน: 235 ครั้ง

แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice)

หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย เป็นการดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงานให้มีความสะอาด มีความน่าอยู่ และปลอดภัย เช่น ลดการเกิดฝุ่น เชื้อแบคทีเรีย ควันบุหรี่ การมีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการทำงาน การควบคุมการเกิดเสียง การจัดการพื้นที่การใช้งานอย่างเหมาะสม มีความน่าอยู่ และการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน ที่กล่าวมาทั้งหมด หากมีการดำเนินการที่ครบถ้วน จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสุขสบาย มีสุขอนามัยที่ดี และส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรายละเอียดของการดำเนินงานหมวด 5 มีดังนี้

 5.1 อากาศในสำนักงาน

จากเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน คือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสำนักงานให้มีอากาศถ่ายเท ลดฝุ่นและมลพิษที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพและทางเดินหายใจ ขั้นตอนแรก มีการกำหนดรายการที่ก่อให้เกิดมลพิษในอาคารสำนักงาน เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร พื้นที่ทำงาน พรม ม่าน มูลี่ ควันเสียจากรถยนต์ แม้กระทั่งการต่อเติมและซ่อมบำรุงอาคาร จากนั้นให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

เกณฑ์การประเมิน

การเตรียมเอกสาร

1.               มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง

(ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)

2.               มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลรักษา

นำรายการที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ มากำหนดในแผนการบำรุงรักษาประจำปี โดยกำหนดความถี่ที่เหมาะสม และกำหนดผู้รับผิดชอบที่จัดเจน สำหรับแบบฟอร์มสามารถกำหนดขึ้นเองได้ หรือใช้ แบบฟอร์มที่ 5.1.1(1) แผนการบำรุงรักษาประจำปี

3.               มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1

การแนบรูปถ่ายการฏิบัติงานตามแผน หรือ แนบ TOR การจ้างเหมา เช่น การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสารการดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ และ การบำรุงรักษา พื้นที่ทำงาน ม่าน มู่ลี่และพรมปูพื้น

4.               มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1

การใช้ไม้ประดับมาช่วยในการดูดสารพิษภายในอาคาร และการรักษาความสะอาดของพื้นที่

5.               การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน

การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer)  ควรจัดไว้นอกห้องปฏิบัติงานของบุคลากร มีการใช้เครือข่ายในการเชื่อมต่อการทำงาน ทำให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ ลดปัญหามลพิษภายในห้องปฏิบัติงาน และลดค่าใช้จ่าย

6.               การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์

มีการจัดการจุดจอดรถทีชัดเจน มีป้ายจอดรถกรุณาดับเครื่องยนต์ การปลูกต้นไม้ลดมลพิษ 

 

เกณฑ์การประเมิน

การเตรียมเอกสาร

7.               การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษ อากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)

หากมีการใช้ยาพ่นกำจัดยุง เป็นข้อกำหนดรายละเอียดการจ้างเหมาว่าต้องใช้ยาพ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

8.               มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียม ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

การสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อเช่น Line ระบบ ERP และ Facebook ของสำนักงานสีเขียวศูนย์กิจการนักศึกษา นำรูปมารายงาน

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด คือ มีการจัดพื้นที่สูบบุหรี่ สำหรับผู้มาใช้บริการ โดยภายในพื้นที่นั้นมีการติดป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังมีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ (ขนาดไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร) และติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ (ขนาดไม่น้อยกว่า 70 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร) ติดสัญลักษณ์ทางเดินไปพื้นที่สูบบุหรี่

1.             มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

 

2.             มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

 

3.             มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่

 

4.             เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่บริเวณทางเข้า – ออก ของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้บริการสถานที่นั้น

 

5.             ต้องไม่พบการสูบบุหรี่หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

 

5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน คือ มีการกำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร โดยมีการกำหนดมาตรการและมีการจัดเตรียมพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน

1.               กำหนดมาตรการการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร

1.   การดำเนินการกำหนดมาตรการ ต้องมีการจัดพื้นที่สำรองให้กับพนักงาน

2.   มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

3.   มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

2.               ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ในข้อ  1

 

 

 

5.2 แสงในสำนักงาน

จากเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด คือ สำนักงานมีการวัดแสงให้เพียงพอตามลักษณะงาน มาตรฐานห้องทำงานอยู่ที่ 300 ลักซ์ และต้องทำทุกปี พร้อมทั้งสรุปผลการตรวจค่าแสงและให้คำแนะนำการเพิ่มแสงสว่าง ทั้งนี้เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่างได้มีการสอบเทียบและได้ผลตามมาตรฐาน และผู้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

1.               มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน

2.               เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)

3.               ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด

4.               ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

เอกสารแนบ

5.2.1(1)(3) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างและผลการตรวจวัด

5.2.1(2) เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่างมีการสอบเทียบมาตรฐาน

5.2.1(4) ประกาศนียบัตรของผู้ตรวจวัดความเข้มของแสง

 

 

5.3 เสียง

สำนักงานจะต้องมีการจัดการให้มีสภาวะเรื่องเสียงในสำนักงานที่เหมาะสม เช่น เสียงที่เกิดจากการทำงาน เสียงที่เกิดจากการปรับปรุงสำนักงาน รวมไปถึงเสียงจากภายนอกสำนักงานที่อาจส่งผลภายในสำนักงานได้ หากร่างกายได้รับเสียงดังมากเกินขีดจำกัดของร่างกาย จะส่งผลกระทบได้ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ขาดสมาธิทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

จากเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน คือ ต้องมีการสำรวจแหล่งกำเนิดเสียงที่เกิดจากการทำงาน เสียงที่เกิดจากอุปกรณ์ในสำนักงาน  เสียงจากการปรับปรุงสำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ เสียงจากการปรับปรุงสำนักงาน การเจาะ หรือตอกผนัง  และเสียงจากภายนอกอาคาร เช่น  เครื่องยนต์ การก่อสร้างบริเวณใกล้เคียง การตัดหญ้าของงานภูมิทัศน์

1.               กำหนดมาตรการการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

1.   การดำเนินการกำหนดมาตรการ ต้องมีการจัดพื้นที่สำรองให้กับพนักงาน

2.   มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

3.   มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

 

2.               ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ในข้อ  1 ถ้าพบว่ามีเสียงดังมาจากภายในสำนักงาน

5.3.2  การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน คือ การกำหนดมาตรการการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร แนวทางการกำหนดมาตรการ มีดังนี้

1.               กำหนดมาตรการการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากการก่อสร้างต่อเติมอาคาร

มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน และมีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

2.               ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดไว้ในข้อ  1 ถ้าพบว่ามีเสียงดังมาจากภายในสำนักงาน

 

5.4 ความน่าอยู่

สำนักงานจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้มีความร่วมรื่น น่าอยู่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ทำงาน และ สถานที่บริการ ที่ถือเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ลด ความเครียด ในการทำงาน ส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เช่น การจัดพื้นที่สีเขียวภายในและภายนอกอาคาร การจัดมุมพักผ่อน การทำกิจกรรม 5ส. การควบคุมสัตว์พาหนะนำโรค เป็นต้น โดยมีขั้นตอนดำเนินงานดังนี้

จากเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

5.4.1           มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้

1.               จัดทำผังของสำนักงานทั้งภายในและภายนอก กำหนดพื้นที่ชัดเจนพร้อมระบุผู้รับผิดชอบ การจัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น มุมพักผ่อน จุดใช้อุปกรณ์ร่วมกัน  มุมกาแฟ เป็นต้น และสื่อสารด้วยป้าย

2.    มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในและภายนอกอาคาร

3.               มีการกำหนดเวลาในการดูแลที่ชัดเจน

4.               มีการกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและรักษาคงไว้

เอกสารแนบ  ผังของสำนักงานทั้งภายในและภายนอก กำหนดพื้นที่ชัดเจนพร้อมระบุผู้รับผิดชอบ

เอกสารแนบ กำหนดแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

 

5.4.2  การใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด คือ มีการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น พื้นที่ที่สำนักงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง และได้มีการใช้พื้นที่ดังกล่าวตามที่ได้กำหนดจริง  เอกสารแนบ  รูปมีการใช้พื้นที่ร่วมกันตามวัตถุประสงค์และแบ่งแยกชัดเจน

 

5.4.3  ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น คือ มีการนำไม้กระถางมาใช้จัดมุมพักผ่อน และตามจุดต่าง ๆ ส่วนภายนอกอาคาร จะเป็นการปลูกไม้ต้นเล็ก ๆ เพื่อเป็นทางเดิน รอบอาคาร  โดยการดูแลพื้นที่ให้เรียบร้อยและมีความสะอาด เอกสารแนบ การดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ

 

5.4.4  มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด คือ ดำเนินการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงาน ได้แก่  นก หนู แมลงวัน แมลงสาบ และมด โดยกำหนดความถี่ที่เหมาะสม

1.    มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคอย่างเหมาะสม

2.    มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยพาหะนำโรคอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

3.               มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)

4.    มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค

เอกสารแนบ แบบฟอร์ม 5.4(2) แผนควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

เอกสารแนบ การตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่กำหนด

เอกสารแนบ รายงานการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค

 

 

5.5 การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

สำนักงานควรมีการเตรียมการรับสถานการณ์ภัยพิบัติเพื่อรองรับสภาวะฉุกเฉิน เช่น แผ่นดินไหว ซึ่งต้องมีการเตรียมแผนฉุกเฉินและแจ้งให้ทุกคนภายในอาคารทราบ และต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ เช่น ถังดับเพลิง ให้เพียงพอและมีการอบรมฝึกซ้อมการอพยพทุกปี

จากเกณฑ์การประเมิน แบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ดังนี้

5.5.1         มีการอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด

1.               มีการกำหนดแผนการอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตาม

เอกสารแนบ แผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ หรือแนบแผนการอบรมของหมวด 2

2.               มีจำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนบุคลากร

เอกสารแนบ คู่มือจำลองเหตุการอบรมและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

เอกสารแนบ การกำหนดจุดรวมพลเส้นทางหนีไฟและกำหนดทางออกฉุกเฉิน

3.               พนักงานทุกคนต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4.               มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย

5.               มีการฝึกซ้อมตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย

6.               มีการกำหนดยจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมป้ายแสดงอย่างชัดเจน

7.               มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติการ

8.               มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมป้ายแสดงอย่างชัดเจน

5.5.2  มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละพนักงานที่เข้าใจ

แผนฉุกเฉินประกอบด้วย

1.   ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนการอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย แผนการตรวจตราเพื่อป้องกันอัคคีภัย

2.   ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนระงับอัคคีภัย แผนอพยพหรีไฟ

3.   หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนบรรเทาทุกข์ แผนปฏิรูปฟื้นฟู

5.5.3  ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานที่ทราบวิธีการใช้งาน และตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว

มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย

1.   ถังดับเพลิงตรวจสอบเดือนละ  1 ครั้ง

2.   สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ปีละ 1 ครั้ง

3.   ติดตั้งตัวดักจับควันไฟ และตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง

4.   ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง เดือนละ 1 ครั้ง

5.   ระบบเครื่องสูบน้ำ (อัตโนมัติ) เดือนละ 1 ครั้ง

6.    สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด เดือนละ 1 ครั้ง

 

สรุปโดย นางหทัยชนก  ผิวผ่อง

ตัวแทนหมวด 5

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ถ่านชีวภาพ » การวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพตามมาตรฐาน
ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสมบัติแตกต่างกันตามกระบวนการและวัสดุที่ใช้ในการผลิต หากจะนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการเกษตร พืชก็มีความต้องการสมบัติของ ดิน น้ำ ถ่านชีวภาพที่มีความเหมาะสมกับชนิดแล...
ถ่านชีวภาพ มาตรฐาน การวิเคราะห์     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 17/3/2565 14:57:05  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 8:23:30   เปิดอ่าน 1975  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ถ่านชีวภาพ » การลดปริมาณ PAHs ด้วยถ่านชีวภาพในผลผลิตเกษตร
ในผลผลิตเกษตรมีการปนเปื้อน PAHs จากในดินและในอากาศ แนวทางหนึ่งในการลด PAHs มีการนำถ่านชีวภาพมาใช้ผสมในดินเพื่อช่วยลด PAHs จากในดิน ทั้งนี้การผลิตถ่านชีวภาพเองก็ทำให้เกิด PAHs ในถ่านชีวภาพอีกด้วย กา...
PAHs  ถ่านชีวภาพ  ผลผลิตเกษตร  สารก่อมะเร็ง  สารปนเปือน     บทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่วไป   การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
ผู้เขียน ธนศิษฏ์ วงศ์ศิริอำนวย  วันที่เขียน 2/8/2564 9:34:06  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/11/2567 23:48:02   เปิดอ่าน 1717  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง