กิจกรรมการประชุมเชิงวิชาการทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการวิจัย
วันที่เขียน 18/4/2562 11:39:50     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 21:30:00
เปิดอ่าน: 3081 ครั้ง

กิจกรรมการประชุมเชิงวิชาการทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการวิจัย และเทคนิคการเขียนหนังสือและตำรา ณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ข้าพเจ้าขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมเชิงวิชาการดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การวิจัยทางด้านการวิเคราะห์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทราบว่าทำการวิจัยทางด้านการวิเคราะห์ (Analysis) ถึงแม้จะเป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์แต่ต้องมีการประยุกต์ให้เห็น ทำวิจัยทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ก็ต้องมีทฤษฎีบทรองรับ การวิจัยทางทฤษฎีจุดตรึง (Fixed Point Theory) สามารถประยุกต์ไปทางการหาค่าที่เหมาะสม สมการเชิงอนุพันธ์ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริง การวิจัยทางด้านนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีบทการมีอยู่จริงของจุดตรึง และการศึกษาการทำซ้ำ หรือลำดับที่ลู่เข้าสู่จุดตรึง แนวทางการวิจัย เช่น การพิสูจน์วิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม การมีอยู่จริงของการหาค่าที่เหมาะสม หรือ Real World Application นอกจากนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ยังจะได้เปิดหลักสูตร Data Science เป็นการรวมกันของ 3 สาขา คือ คณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ ในอนาคตจะให้นักศึกษาเรียนทางคณิตศาสตร์การเงินอีกด้วย นอกจากนี้ทางสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรมีการทำวิจัยทาง Coding Theory, Probability และ Financial Mathematics

2. ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง “กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การวิจัยทางด้านพีชคณิต” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนชญ์ สิริพิทักษ์เดช มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทราบว่าประเทศไทยมีนโยบาย Thailand 4.0 มุ่งเน้นขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ต้องการให้คนไทยมีทักษะต่างๆ เช่น การเขียน การอ่าน หรือการคำนวณ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ปัญหาทางคณิตศาสตร์เกิดจากปัญหาในธรรมชาติแล้วแปลงไปเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ นักคณิตศาสตร์คิดวิธีแก้ปัญหา และมีการนำไปประยุกต์ใช้กับธรรมชาติต่อไป ประสบการณ์ด้านการวิจัยของท่านอาจารย์มาโนชญ์ทำให้ได้ทราบว่างานวิจัยทางด้านนี้แตกออกเป็นหลายๆแขนง และอาจารย์มีความเชี่ยวชาญทาง Semigroups และ Fuzzy Semigroups

3. ได้รับฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผลงานทางวิชาการในการเข้าสู่การกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ สวนใต้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งท่านอาจารย์ได้รับเชิญไปบรรยายตามสถาบันต่างๆ ได้ทราบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ เราต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและทราบเทคนิคการเขียนหนังสือและตำราว่าต้องมีการเขียนเค้าโครงก่อนว่าจะเขียนกี่บท อะไรบ้าง ต้องมีการเขียนคำเชื่อมกันของแต่ละบท แต่ละหัวข้อ มีการเกริ่นนำ มีการบรรยายถึงประวัติความเป็นมา นักคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การนำไปใช้ประโยชน์ มีบทสรุป 1 ย่อหน้า 5-10 บรรทัด ตอนท้ายของแต่ละบท ถ้าจะขอตำแหน่งศาสตราจารย์ ต้องมีการสอดแทรกแนวคิดและงานวิจัยของผู้เขียนอย่างกลมกลืนในแต่ละบท การเขียนที่ถูกต้องตามเกณฑ์ และต้องแก้ไขตามคำแนะนำของกรรมการทุกอย่าง เป็นแนวทางในการขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

การเข้าร่วมกิจกรรมประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้มีการนำไปใช้ประโยชน์คือ มีแนวทางในการทำวิจัยทางทฤษฎีจุดตรึงและการประยุกต์ มีแนวทางในการขอตำแหน่งทางวิชาการ มีความสัมพันธ์อันดีกับอาจารย์ นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการทำวิจัย หรือการบริการทางวิชาการในอนาคต อีกทั้งมีแนวทางในการขอทุนทำวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่อไป

 

 

 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง