รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561
วันที่เขียน 4/1/2562 9:38:25     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 8:12:11
เปิดอ่าน: 24576 ครั้ง

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอภาคบรรยาย ในหัวข้อ "Effect of solvents extraction on polyphenolic content and antioxidant activity of Rhizoclonium hieroglyphicum extract"

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอภาคบรรยาย ในหัวข้อ "Effect of solvents extraction on polyphenolic content and antioxidant activity of Rhizoclonium hieroglyphicum extract"

 

สรุปเนื้อหาที่ได้

            สารมลพิษ รังสียูวี หรือแม้แต่การเผาพลาญโดยใช้ออกซิเจนของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (free radical) ขึ้น อนุมูลอิสระคืออะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว ซึ่งไม่เสียรและมีพลังงานสูง มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในร่างกาย อนุมูลอิสระเหล่านี้สามารถเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ รวมถึงทำลายโครงสร้างและทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเซลล์ ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ในร่างกายได้ 

         สารประกอบฟีนอลิก (phenolic) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติในพืชหลากหลายชนิด โดยการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระนั้นอาจเป็นได้หลายแบบ เช่น การลดพลังงานของสารอนุมูลอิสระ การขัดขวางและการหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นต้น โมเลกุลของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปทำปฏิกิริยาด้วยการให้อิเล็กตรอนกับอนุมูลอิสระแล้วทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ของสารอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง และไม่เกิดเป็นสารอนุมูลอิสระตัวใหม่ เนื่องจากโมเลกุลของสารต้านอนุมูลอิสระมีความเสถียร ไม่ว่าในโครงสร้างหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีอิเล็กตรอนเดี่ยวหรือคู่ ถือได้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระเป็นตัวขจัดปฏิกิริยาลูกโช่ที่จะเข้าไปทำลายโมเลกุลสารในร่างกาย การชะลอและป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ ดังนั้นจึงมีงานวิจัยต่างๆ ให้ความสำคัญในการหาปริมาณหรือแม้กระทั่งสกัดสารประกอบฟีนอลิกในพืชหลากหลายชนิด เพื่อนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพและเวชสำอาง 

         ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารฟีนอลิกที่สำคัญในสำหร่ายไก (Rhizoclonium hieroglyphicum) ซึ่งนิยมรับประทานในการเป็นอาหารพื้นบ้านในประเทศไทย มีรายงานการพบสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกและโพลีแซคคาไรด์ ในการศึกษานี้ได้นำสาหร่ายไกที่เก็บจากแม่น้ำน่าน มาทำการสกัดด้วยตัวทำละลาย 4 ชนิด ได้แก่ เฮกเซน (แช่ 48 ชั่วโมง) อะซิโตน (แช่ 48 ชั่วโมง) เอทานอล (แช่ 48 ชั่วโมง) และน้ำ (ต้ม 2 ชั่วโมง) แล้วเปรียบเทียบปริมาณสารที่สกัดได้ (%yield) รวมถึงปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดแต่ละชนิด ในการศึกษานี้พบว่าสารสกัดที่ได้จากน้ำให้ปริมาณสารที่สกัดได้และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ในขณะที่สารสกัดในเอทานอลมีปริมาณสารฟีนอลิกสูงที่สุด 

         สรุป หลักการในการเลือกตัวทำละลายในการสกัด จะอาศัยหลักการ “like dissolves like” นั่นคือตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดควรต้องมีความเป็นขั้วที่คล้ายคลึงกับสารสำคัญที่ต้องการสกัด เช่น ถ้าต้องการสกัดสารสำคัญที่มีขั้ว ก็ควรใช้ตัวทำละลายที่มีขั้ว ถ้าสารสำคัญไม่มีขั้ว ก็ควรใช้ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วในการศึกษา ในงานวิจัยนี้ สิ่งหนึ่งที่ควรจะเพิ่มเติม คือ การควบคุมสภาวะของการสกัดระหว่างตัวทำละลาย เช่น อุณหภูมิของการสกัด ระยะเวลาของการสกัด เป็นต้น สารสกัดสาหร่ายไกในตัวทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ เฮกเซน อะซิโตน และเอทานอล ได้จากการสกัดด้วยการแช่ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ในขณะที่ในตัวทำละลายน้ำ ได้จากการสกัดด้วยการต้ม ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ผลการทดลองที่ได้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยสมบูรณ์

 

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตนเองและต่อหน่วยงาน

1. ก่อให้เกิดแนวคิดโจทย์วิจัย และนำมาปรับปรุงวิจัยที่ทำอยู่

2. นำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัย การสอน และการให้คำปรึกษาในรายวิชา วท 498 ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3. ได้เครือข่ายงานวิจัยและก่อให้เกิดความร่วมมืองานวิจัยระดับหน่วยงาน


ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง