สรุปเนื้อหาโดยย่อ
1. การพัฒนาด้านการวิจัย
ได้เข้าฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อที่น่าสนใจ คือ “ดิจิตอลพลิกโลกเกษตร” ความรู้ที่ได้รับในส่วนนี้ สามารถนำมาตั้งโจทย์วิจัยให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ โดยสร้างองค์ความรู้ที่สามารถต่อยอดสร้างนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตพืชต่าง ๆ
2. การพัฒนาด้านการเรียนการสอน
ได้มีชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในการนำเสนอผลงานวิจัยในภาคโปสเตอร์ 1 เรื่อง ดังนี้
- งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงร่วมกับ Pseudomonas aeruginosa”นำเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa PF2_L1_B4 ที่แยกได้จากส่วนใบของงาขี้ม้อนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ดี ทั้งส่วนของตะกอนเซลล์และน้ำเลี้ยงเชื้อ มาผสมในอาหารสูตร MS ปริมาณ 5 กรัม/ลิตร และ 5 มล./ลิตร ตามลำดับ เพื่อใช้เพาะเลี้ยงงาขี้ม้อน นาน 6 สัปดาห์๑ นำใบงาขี้ม้อนที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดพบว่า ใบงาขี้ม้อนที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงกว่าใบงาขี้ม้อนจากแปลงปลูก โดยทั้งอาหารที่เติมเชื้อแบคทีเรียและน้ำเลี้ยง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ 23 มิลลิกรัมแกลลิกแอสิด/กรัมของใบแห้ง โดยใบงาขี้ม้อนที่เพาะเลี้ยงในอาหาร MS ผสมตะกอนเชื้อแบคทีเรียเอนโดไฟท์ ตรวจพบปริมาณ Rosmarinic acid สูงสุด คือ 0.78 มก./กรัมน้ำหนักแห้ง ผลการทดลองนี้ ชี้ให้เห็นวำระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสามารถส่งเสริมการผลิตสารประกอบฟีนอลิกในใบงาขี้ม้อนได้
นอกจากนี้ได้เข้าฟังและชมการนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายและโปสเตอร์ตามความสนใจ เช่น
- งานวิจัยเรื่อง “ผลของ NAA และ TDZ ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพรรณไม้น้ำไวท์อนูเบียส” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่สามารถชักนำให้เกิดโปรโตคอร์มของไวท์อนูเบียส สูงที่สุดคือ TDZ 2 มก./ลิตร
- งานวิจัยเรื่อง “ผลของคลอรีนไดออกไซด์ต่อการทำให้ปลอดเชื้อในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไวท์อนูเบียส” ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของคลอรีนไดออกไซด์ที่ใช้ในการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนยอดไวท์อนูเบียส คือ 100 มก./ลิตร
- งานวิจัยเรื่อง “การใช้ระบบไบโอรีแอคเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตพรรณไม้น้ำไส้ปลาไหลของไทยเพื่อการอนุรักษ์” ได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวโดยให้อาหารเหลว 6 ครั้ง/วัน ครั้งละ 5 นาที ทำให้ต้นไส้ปลาไหลมีการการเจริญเติบโตดีดีที่สุด
จากความรู้ที่ได้รับข้างต้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างที่เกี่ยวข้อง ๆ เช่น ชว 310 สรีรวิทยาของพืชประยุกต์ ชว 411 หลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และ ชว 412 หลักการด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช ทช 510 ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น