สรุปเนื้อหาจากการนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการ World Congress on Engineering 2018 (WCE 2018)
วันที่เขียน 4/9/2561 7:17:43     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 8:26:18
เปิดอ่าน: 2802 ครั้ง

เนื้อหาจากการนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการ World Congress on Engineering 2018 (WCE 2018) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2561 ณ Imperial College กรุงลอนดอน เรื่อง“Contraction on Some Fixed Point Theorem in bv(s)-Metric Spaces” ผลงานวิจัยครอบคลุมทฤษฎีบทที่เป็นที่รู้จักกันดีในปริภูมิเมตริกก่อนหน้านี้

สรุปเนื้อหาจากการนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการ World Congress on Engineering 2018 (WCE 2018) ระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2561 ณ Imperial College กรุงลอนดอน เรื่อง“Contraction on Some Fixed Point Theorem in bv(s)-Metric Spaces” มีดังนี้

จุดประสงค์ของการวิจัยคือศึกษาทฤษฎีบทจุดตรึงของการส่งในปริภูมิเมตริก บีวีเอส ซึ่งเป็นปริภูมิที่ครอบคลุมปริภูมิเมตริกปกติ (Usual metric or standard metric spaces) ปริภูมิเมตริกเชิงสามเหลี่ยม (Rectangular metric spaces) ปริภูมิเมตริกบี (b metric spaces) ปริภูมิเมตริกเชิงสามเหลี่ยม บี (b-rectangular metric spaces) และปริภูมิเมตริกวางนัยทั่วไป วี (v-generalized metric spaces)  โดยทั่วไปงานวิจัยเกี่ยวกับการมีจุดตรึงบนปริภูมิเมตริกใด ๆ มักจะศึกษาเกี่ยวกับการส่ง (Mapping) และการวัดระยะทางหรือเมตริก (distance or metric) ในงานวิจัยที่นำเสนอนี้ก็เช่นเดียวกัน แต่ได้พิจารณาการส่งที่มีลักษณะพิเศษคือ การส่งแบบหดตัว (Contraction) และใช้สมบัติพิเศษอีกอย่างคือการใช้สมบัติของการวัดระยะทางแบบ wt ซึ่งทำให้ทฤษฎีบทที่ได้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมทฤษฎีบทต่าง ๆ ที่เป็นแบบฉบับเกี่ยวกับจุดตรึง และเพื่อที่จะหาจุดตรึง ข้อดีคือกรณีที่มีการเปรียบเทียบหลายจุดบนปริภูมิเราอาศัยค่าขอบเขตล่างค่ามากสุด (Infimum) ของเซตระยะทางของจุดเหล่านั้น 

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/4/2568 19:34:49   เปิดอ่าน 81  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/4/2568 22:30:12   เปิดอ่าน 119  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย » ขอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์
ตามที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้ AI ในการพัฒนางานวิจัย” ภายใต้ โครงการการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวันพุธที่...
AI  งานวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พรพรรณ อุตมัง  วันที่เขียน 21/2/2568 9:49:39  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 1/4/2568 18:40:57   เปิดอ่าน 224  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง