สรุปเนื้อหาการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 "ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสูประเทศไทย 4.0"
วันที่เขียน 20/8/2561 19:40:36     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 15:10:17
เปิดอ่าน: 2479 ครั้ง

ได้เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 “ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ประเทศไทย 4.0” ระหว่าง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเรือรัษฎา จังหวัดตรัง โดยได้นำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ และยังได้รับฟังปาฐกถาพิเศษ รับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้ชมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงานประชุมวิชาการในคร้้งนีี้ ทำให้ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ และสามารถนำไปประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาเกี่ยวกับงานวิจัย การพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งงานบริการวิชาการอีกด้วย

รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนา หรือประชุมวิชาการ

ข้าพเจ้านางสาว สมคิด ดีจริง ตำแหน่งอาจารย์ สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 “ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่ประเทศไทย 4.0”  ระหว่าง วันที่ 1-3 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมเรือรัษฎา  จังหวัดตรัง โดยได้รับฟังปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง  ทิศทางและนโยบายพัฒนาประเทศไทยโดยใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย โดยพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี   และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  และยังได้รับฟังการปาฐกถาพิเศษเชิงนโยบายและการเสวนาในหัวข้อเรื่อง  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกับบทบาทในการพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 โดย ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยและนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวข้อเรื่อง  จริยธรรมกับการเผยแพร่งานวิจัย โดย ศ. นพ. ยง ภู่วรรณ   หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หัวข้อเรื่อง  Power electronics: The key technologies for electrolyzer integration within multi-source system based on renewable energy sources” โดย  Assoc. Prof. Dr. Damien Guilbert,  University of Lorraine, France และเรื่อง Success factors for your article accepted in a peer review journal  โดย David  Crookall  จาก Institut suprieurd economieet de management (ISEM) University of Nice Sophia Antipolis  และยังได้รับฟังการนำเสนอในภาคบรรยายและโปสเตอร์ ในหัวข้อเรื่องต่าง ๆ  ดังนี้

 

ด้านเกษตรศาสตร์  ได้แก่

  1. กระตุ้นการสร้างพฤกษเคมีในต้นอ่อนทานตะวันด้วยวิตามินซี  และไคโตซานจากกากเห็ดหลินจือ

เพื่อเป็นการเร่งการเจริญในฤดูหนาวโดยใช้ปริมาณสารฟินอลิกรวม ความสามารถในการต้านออกซิเดชัน  และปริมาณคลอโรฟิลล์เป็นตัวบ่งชี้  พบว่า  สารละลายวิตามินซีเข้มข้น  25 มก./ลิตร  สามารถกระตุ้นให้ต้นอ่อนทานตะวันอายุ 5 วัน  สร้างสารฟินอลิกรวมสูงสุด 12.73  มก./กรัม น้ำหนักสด  ความสามารถในการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH สูงสุดพบในต้นอ่อนทานตะวันอายุ 9 วัน  ส่วนต้นอ่อนทานตะวันที่ถูกกระตุ้นด้วยไคโตซานจากกากเห็ดหลินจือ  พบว่า ไคโตซานเข้มข้น 0.2 มก./ลิตร  กระตุ้นให้ต้นอ่อนทานตะวันอายุ 7 วัน  มีการสร้างสารฟีนอลิกรวมสูงสุด 4.25 มก./กรัม  น้ำนักสด  ความสามารถในการต้านออกซิเดชันโดยวิธี DPPH  และปริมาณคลอโรฟิลล์  พบในต้นอ่อนอายุ 9 วัน  โดยมีความสามารถในการยับยั้งร้อยละ 21.93  ปริมาณคลอโรฟิลล์  1.15 มก./กรัมน้ำหนักสด  ตามลำดับ

  1. การคัดแยกแบคทีเรียแลคติกที่มีศักยภาพเป็นโปรไบโอติกจากไก่เบตง  พบแบคทีเรียที่มีคุณสม-

บัติการทนกรด 22 ไอโซเลท  ทนต่อพีเอช 2.0 เป็นเวลา  2 ชั่วโมง  โดยมีอัตราการอดชีวิตสูงกว่าร้อยละ 50 และแบคทีเรียเหล่านี้ร้อยละ 86.36  ทนต่อเกลือน้ำดีความเข้มข้นร้อยละ 1 โดยมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าร้อยละ 90  เมื่อนำแบคทีเรียเหล่านี้ไปบ่มในระบบกระเพาะอาหารและลำไส้จำลอง พบว่า มีอัตราการรอดชีวิตระหว่างร้อยละ 51.66-88.59  จากนั้นศึกษาความไม่ชอบน้ำเพื่อบ่งชี้การเกาะติดลำไส้ของผิวเซลล์ มีผลบ่งชี้การเกาะติดลำไส้มากกว่าร้อยละ 90.28 และ 82.89  ในไซลีนและโทลูอีน  ตามลำดับ  เมื่อทดสอบความต้านทานสารปฏิชีวนะ  พบว่า ไอโซเลทที่แสดงคุณสมบัติเด่นในการรอดชีวิตในระบบทางเดินอาหารจำลอง และผิวเซลล์  ความไม่ชอบน้ำสูง  ต้านทานสารปฏิชีวนะจำนวน 5-11 ชนิด  และจำแนกชนิดของแบคทีเรียเป็น Lactobacillus reuteri  ซึ่งแบคทีเรียที่คัดแยกได้จากทางเดินอาหารของไก่เบตงสามารถนำไปพัฒนาใช้เป็นโปรไบโอติกได้

3. เปรียบเทียบผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของผักเชียงดา 9 สายพันธุ์  ในพื้นที่จังหวัดลำปาง

พบว่า  ลักษณะการเจริญเติบโตของความกว้างทรงพุ่ม  ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ  แต่ทางด้านความสูง  อายุตั้งแต่ 28-42 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก  คลอโรฟิลล์ และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดา  ความชื้น และปริมาณของแข็งทั้งหมดของผักเชียงดา 9 สายพันธุ์  ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ

          4. การผลิตน้ำมังคุดเข้มข้นพร้อมดื่มโดยเทคนิคการระเหิดภายใต้สุญญากาศ   พบว่า น้ำมังคุด เข้มข้นที่ไม่ผ่านการลวกทำให้เข้มข้นภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส  มีคะแนนเฉลี่ยการยอมรับมากที่สุด ด้านลักษณะทั่วไป สี กลิ่น  รสชาติ  และความชอบรวม  น้ำมังคุดเข้มข้นพร้อมดื่มมีเนื้อของมังคุดแขวนลอยอยู่เล็กน้อยสีชมพูออกเข้มมีกลิ่นหอมของมังคุด  รสชาติหวานนำอมเปรี้ยวเล็กน้อย

          5. คุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพการหุงต้มข้าวจากน้ำแร่แจ้ซ้อนลำปาง ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพการหุงต้มข้าวที่ผู้บริโภคสนใจ  โดยเปรียบเทียบคุณภาพการหุงต้ม  และคุณค่าทางโภชนาการในข้าวกล้องที่ปลูกในเขตธารน้ำแร่แจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน   4 พันธุ์ คือ ข้าวไรซ์เบอรี่  ทับทิมชุมแพ  ข้าวเหนียวลืมผัว  กข แม่โจ้ 2 และ กข 6  เปรียบเทียบกับข้าวที่ปลูกในเขตอำเภอแม่ทะ  และอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง  พบว่า ข้าวกล้องทุกตัวอย่างไม่พบซัลเฟอร์  แต่พบปริมาณโลหะหนัก (แคดเมียม  โครเมียม  ปรอท  และนิกเกิล) ในช่วง 0.004-4.04 มก. ต่อ กก. โดยข้าวเหนียวลืมผัว และข้าวไรซ์เบอรี่มีปริมาณทองแดง เหล็ก แมงกานีส  สังกะสี สูงกว่า ข้าว กข6 และ กข แม่โจ้ 2 ส่วนคุณภาพการหุงต้มและสมบัติทางเคมีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระหว่างตัวอย่างข้าวที่วิเคราะห์คุณภาพทางสถิติปริมาณสารประกอบฟินอลิก  แอนโธไซยานิน  และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  พบว่า ข้าวเหนียวลืมผัวและไรซ์เบอรี่ในเขตน้ำแร่แจ้ซ้อนมีปริมาณสูงกว่าข้าวกล้องที่ปลูกนอกเขตธารน้ำแร่แจ้ซ้อนจังหวัดลำปาง

          6. การใช้ประโยชน์ของเหลือทิ้งจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และดินปลูก  พบว่า สูตรปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กากทะลายปาล์มร้อยละ 93 ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณไนโตรเจนร้อยละ 2.53  เมื่อหมักระยะเวลา 45 วัน ภายใต้การหมักแบบไร้อากาศ  และผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการใช้ดีเคนเตอร์ร้อยละ 67 มีปริมาณไนโตรเจนสูงสุดมีปริมาณร้อยละ 1.72   และการใช้กลีบเลี้ยงปาล์มร้อยละ 60 เป็นส่วนผสมดินสำหรับการหมักดินปลูก  พบว่า มีปริมาณไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม ร้อยละ 1.36, 1.01 และ 1.66  ตามลำดับ   สำหรับผลการใช้อัตราส่วนของดินปลูกกับปุ๋ยอินทรีย์  60 : 40  ต่อการเจริญโดยวัดค่าความเป็นสีเขียวของใบต้นดาวเรือง และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกดาวเรือง   ระยะเวลา 45 วัน  พบว่า  สามารถส่งเสริมการเจริญของต้นดาวเรือง  ใบดาวเรืองมีค่าความเป็นสีเขียวเท่ากับ 9.50  ดอกดาวเรืองมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 7.91 ซม. ซึ่งกากทะลายปาล์ม  ดีแคนเตอร์  และกลีบเลี้ยงเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการสกัดน้ำมันปาล์ม  เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และดินปลุก เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มต่อไป

7. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อองค์ประกอบผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของข้าวพันธุ์

ปทุมธานี 1  ที่ปลูกในดินชุดสรรพยา พบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา  100 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีธาตุอาหารหลักเท่ากับ  2.05-3.93-0.30 กิโลกรัม  N-P2O5-K2O/ไร่  ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 2.05-3.93-0.30 กิโลกรัม N-P2O5-K2O/ไร่ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดข้าวดี (80.25 เปอร์เซ็นต์) ผลผลิตข้าวเปลือก (816 กิโลกรัมต่อไร่)  ดังนั้น  การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีทำให้ข้าวมีผลผลิตและผลตอบแทนหลังหักต้นทุนค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น

8. ประสิทธิภาพของฮอร์โมนชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข 43    โดยศึกษา

ประสิทธิภาพของฮอร์โมนพืชต่อการผลิตข้าวพันธุ์ กข 43 โดยการใส่ฮอร์โมนสูตรหน่อกล้วย  ฮอร์โมนสูตรนมสด และฮอร์โมนสูตรไข่ พบว่า คุณภาพทางเคมีของฮอร์โมนสูตรนมสด และสูตรไข่  มีปริมาณไนโตรเจนรวมและปริมาณโพแทสเซียมรวมสูงกว่าฮอร์โมนสูตรหน่อกล้วย  และพบว่า ฮอร์โมนสูตรไข่ มีปริมาณโพแทสเซียมรวมสูงสุด แต่เมล็ดข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยฮอร์โมนหน่อกล้วยมีคุณภาพปริมาณไนโตรเจนรวม  โพแทสเซียมรวม  และฟอสเฟตรวมสูงสุด  ซึ่งพบว่า  ฮอร์โมนสูตรหน่อกล้วยและสูตรไข่มีศักยภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์ กข 43 ได้

9. ศักยภาพของวัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์และผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 พบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี  ทำให้ข้าวมีการเจริญเติบโตดีและสามารถช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึงร้อยละ 50 สรุปว่า วัสดุพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลมีศักยภาพสำหรับใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 

10. ความหลากหลายทางชีวภาพแมลงในนาข้าวอินทรีย์กับนาเคมี  พบว่า  ในนาข้าวเคมี  มีความหลากหลายทางชีวภาพของแมลงน้อยกว่านาข้าวอินทรีย์

11. ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต่อเพลี้ยไฟข้าว  ซึ่งเพลี้ยไฟข้าวเป็นแมลงศัตรูสำคัญ

ของข้าวในระยะแตกกอ  ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวทำให้ใบเหลืองและเหี่ยวแห้งตายในที่สุด  การใช้สารสกัดจากพืชเป็นทางเลือกของการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟข้าวที่มีประสิทธิภาพ  และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  จึงทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดเฮกเซนจากพืชสมุนไพร  ได้แก่ ยูคาลิปตัส ยาสูบ  ประคำดีควาย  หนอนตายอยาก  ว่านน้ำ  ผกากรอง  บอระเพ็ด  สะเดา และสาบเสือที่ความเข้มข้น 20 % (น้ำหนัก/ปริมาตร)   พบว่า สารสกัดจากบอระเพ็ดมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟข้าว

 

ด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  ได้แก่

1. การศึกษาทางชีววิทยาของกล้วยไม้สมุนไพรนกคุ้มไฟ  (Anoectochilus burmanicus Rolfe)

เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน  ซึ่งนกคุ้มไฟ (Anoectochilus burmanicus Rolfe)  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กล้วยไม้อัญมณี เป็นกล้วยไม้ดินหายาก  กระจายพันธุ์ในประเทศพม่า  ลาว จีน  ส่วนประเทศไทยพบที่จังหวัดเชียงใหม่ ตาก และเลย กล้วยไม้ในสกุลนี้หลายชนิดใช้รักษาโรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ  โรคเกี่ยวกับไตและตับ   ในประเทศไทยมีรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับกล้วยไม้ชนิดนี้น้อยมาก  ปัจจุบันจำนวนนกคุ้มไฟลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากสภาพนิเวศป่าที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาลักษณะทางชีววิทยาของนกคุ้มไฟในพื้นที่ป่าบ้านปงไคร้ อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของนก-คุ้มไฟ  พบว่า เป็นพืชล้มลุก  มีลำต้นใต้ดิน  แบบเหง้า  มีรากพิเศษงอกจากข้อ  ความสูงของลำต้นเหนือดิน  ใบเดี่ยว รูปรีถึงรูปไข่ ใบเรียงแบบสลับเป็นกระจุกที่โคนต้นอ่อนม้วนขนานกับแกนของใบ  ผิวใบมีขนละเอียด  ดอกเป็นดอกช่อแบบกระจะ  ดอกย่อยมีกลีบดอกสีม่วงแดง  กลีบปากสีเหลือง  รังไข่ยาว  ผลแห้งแล้วแตก  ส่วนลักษณะกายวิภาคของนกคุ้มไฟพบกลุ่มเส้นใยราไมคอร์ไรซาในบางเซลล์ของพาเรนไคมาในราก

2. ปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของย่านางผสมสมุนไพร  พบว่า สูตรย่านางผสมตะไคร้สัดส่วน 90 : 10 เป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป  เนื่องจากได้รับความชอบโดยรวมสูงสุด  มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกทั้งหมด 11.15  ไมโครกรัมของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรของตัวอย่าง

3. เชื้อจุลินทรีย์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคดื้อยา MRSA (Methicillin resistance Staphylococcus aureus) จากฟองน้ำทะเลดีโมสปองเจีย  ซึ่งทดสอบด้วยวิธี Agar well diffusion method  พบว่า น้ำเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ SK3 ซึ่งเป็นแบคทีเรียแยกได้จากฟองน้ำดีโมสปองเจียสีดำ ให้บริเวณยับยั้งกว้างที่สุด  เมื่อเทียบกับยาแวนโคมัยซิน ซึ่งแบคทีเรียนี้ เป็นแหล่งสารปฏิชีวนะสำหรับต้านแบคทีเรียดื้อยา MRSA ได้

          4. คุณค่าทางโภชนาการและสารต้านอนุมูลอิสระของกระเจี๊ยบเขียวอบแห้งจากชุมชนบ้านม่าหนิกในจังหวัดภูเก็ต  ซึ่งกระเจี๊ยบเขียว (Abelmoschus esculentus) เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่นิยมบริโภคฝักสด แห้ง ทอด หรือต้ม  โดยพบว่า กระเจี๊ยบเขียวมีปริมาณคุณค่าทางโภชนาการประกอบด้วยความชื้น เถ้า เยื่อใย  โปรตีน  ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต เท่ากับ  5.20, 12.40, 11.30, 9.55, 0.79 และ 72.06 น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ  นอกจากนี้  ยังพบว่า กระเจี๊ยบเขียวยังมีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 6.90  gallic acid equivalent/100g  น้ำหนักแห้ง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย  ซึ่งสามารถนำกระเจี๊ยบอบแห้งนี้ไปทำเป็นวัตถุดิบในการทำชาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้

5. อิทธิพลของระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักเซียงดา พบว่า การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 0.5 กรัมต่อต้น  ทำให้ผักเซียงดามีการเจริญเติบโตด้านความกว้างของทรงพุ่ม  น้ำหนักยอดรวมต่อต้นต่อเดือน  จำนวนยอดรวมต่อต้นสูงที่สุดและเพิ่มปริมาณสารฟินอลิก ส่วนการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 20.0 กรัมต่อต้น  ส่งผลให้ผักเซียงดามีความเขียวของใบสูงที่สุด

 

ด้านมนุษยศาสตร์  สังคมวิทยาและการศึกษา  ได้แก่

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ Active learning ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนกานสอนเพื่อนำไปร่างเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ  พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีคุณภาพตามเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ  3.86 อยู่ในเกณฑ์ระดับดี  ส่งผลให้พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับดี  และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ดีขึ้น

 

งานบริการรับใช้สังคม ได้แก่

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองและเกม  ซึ่งการสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดคือ มีจิตสำนึกด้านคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต  มีหลักคิด  ทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ  มีความรู้รอบและเท่าทันความเป็นไปในกระแสโลก  และรู้จักสามัคคี  ได้ดำเนินการผ่านการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป  และประกาศให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ทุกคน เรียนวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดิน  ซึ่งเป็นรายวิชาใหม่  หมวดศึกษาทั่วไป เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมจำลองเหตุการณ์ “วารีพินาศ”  กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  เก็บรวบรวมข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเกมจำลองสถานการณ์ “วารีพินาศ” ในหัวข้อ  “เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของมหาวิทลัยเกษตรศาสตร์”ผลการวิจัย พบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด  โดยนิสิตมีความเห็นว่า  บอร์ดเกมมีรูปแบบที่น่าสนใจ  อุปกรณ์สีสันสวยงาม  นิสิตเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน  ไม่รู้สึกเบื่อในการเรียนรู้  กิจกรรมบอร์ดเกมช่วยส่งเสริมให้นิสิตมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องเรียน ช่วยฝึกนิสิตในเรื่องการทำงานเป็นทีม  ผู้นำและผู้ตาม   บอร์ดเกมสอดคล้องกับหัวข้ออัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และกิจกรรมนี้ช่วยลดวิธีการสอนแบบบรรยายได้    ซึ่งในการประชุมวิชาการในครั้งนี้  ข้าพเจ้ายังได้ชมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอีกด้วย

สมคิด ดีจริง

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=825
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง