รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ ๗ – ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน
วันที่เขียน 12/6/2561 10:10:34     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 2:20:45
เปิดอ่าน: 2429 ครั้ง

การประชุมวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นการพัฒนาทางวิชาการด้านการวิจัยในเชิงประยุกต์ โดยการนำความรู้จากข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้จากการประชุม มาประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานทางวิชาการ และการเผยแพร่งานวิจัย อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเองในด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ

ข้าพเจ้า อ.ดร.ปริศญารัตณ์ สังกะเพศ ตำแหน่งอาจารย์  สังกัดสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ขอนำเสนอรายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการในการประชุมวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันที่ ๗ – ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามหนังสือขออนุญาตเดินทางไปราชการ เลขที่ ศธ.๐๕๒๓.๖.๑.๒.๑ / ๑๐๒ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าวข้าพเจ้าได้เลือกใช้งบประมาณการพัฒนาบุคลากรตามกรณีที่ ๒ จึงขอนำเสนอสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ดังต่อไปนี้

วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีกำหนดการและรายละเอียดต่างๆดังนี้ 

เวลา ๘.๓๐– ๙.๐๐น.   ลงทะเบียน

เวลา ๙.๐๐ – ๙.๓๐ น. พิธีเปิด โดย ผศ.ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้กล่าวถึง

ความสำคัญกับงานวิชาการที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม เกษตร และให้สร้างงานวิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

เวลา ๑๐.๐๐– ๑๒.๐๐น. ได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง “งานวิจัยกับนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐” โดย รศ.

ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล รองอธิการบดีฝ่ายระบบวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวให้แง่คิดเกี่ยวกับงานวิจัย ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง โดยใช้ความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องในงานวิจัย

เวลา ๑๓.๐๐– ๑๖.๐๐น. ได้เดินดูการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ สาขาเกษตรศาสตร์:ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

๑.     การศึกษารูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ระบบกักเก็บน้ำด้วยพืชเพื่อพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน โดย ผศ.ชรมย์ชลีรดา ด่านวันดี ได้ทราบถึงรูปแบบระบบกักเก็บน้ำด้วยพืช เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวชุมชนอย่างยั่งยืน และเพื่อการออกแบบภูมิทัศน์ที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย

๒.      แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการแพร่ระบาดโรคอีสุกอีใสเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดย อ.อดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง ได้ทราบถึงแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการแพร่ระบาดโรคอีสุกอีใสเมื่อมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และพบว่าการเพิ่มอัตราการฉีดทำให้ค่าระดับการติดเชื้อและจำนวนผู้ที่ติดเชื้อลดลง

๓.     ตัวแบบทางสถิติสำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.๒๕๕๔-พ.ศ ๒๕๕๘ โดยอ.ธีระพงศ์ คงเกื้อ ได้ทราบถึงตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดสงขลาในปี พ.ศ.๒๕๕๔-พ.ศ ๒๕๕๘ และพบว่าตัวแบบการถดถอยทวินามเชิงลบเป็นตัวแบบที่เหมาะสม

๔.     ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านการอักเสบของสารสกัดว่านบัวชั้น โดย ผศ. ดร. วรรธิดา ชัยญาณะ ได้ทราบถึงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านการอักเสบของสารสกัดว่านบัวชั้น โดยสกัดเหง้าด้วยเอทธานอลโดยใช้วิธีการหมักพื้นฐานกับการหมักด้วยความร้อน และพบว่าสารสกัดว่านบัวชั้นมีประสิทธิภาพที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป

วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีกำหนดการและรายละเอียดต่างๆดังนี้

ฟังการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย สาขาเกษตรศาสตร์:ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

เวลา ๙.๐๐-๙.๑๕ น.  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องการวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมด้วย

แบบจำลองโลจิตหลายทางเลือกของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่  โดย ผศ. พัชรินทร์ สุภาพันธ์ ได้ทราบถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมของสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปและพืชไร่ ตามทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด และพบว่ากลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมจะนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการตลาด

เวลา ๙.๑๕-๙.๓๐ น.  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องการจัดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ใน

พื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดย ผศ. นทยา กัมพลานนท์ ได้ทราบถึงแนวทางการจัด

จำหน่ายของผู้ประกอบการ และแนวทางการดำเนินงานระบบการกระจายสินค้าของผู้ประกอบการ

เวลา ๙.๓๐-๙.๔๕ น.  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิภาพการผลิตเพื่อสร้าง

ความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำรายย่อย โดย ผศ. ดร. กชพร ศิริโภคากิจ ได้ทราบถึงแนวทางในการศึกษาโดยเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตลูกไก่ประดู่หางดำจากการใช้เทคโนโลยีตู้ฟัก กับการใช้พ่อแม่พันธุ์ และทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตลูกไก่ประดู่หางดำ

เวลา ๙.๔๕-๑๐.๐๐ น.  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องแนวทางการตัดสินใจเพื่อผลิตลำไยอย่างเหมาะสม

ภายใต้แนวทางเกษตรแปลงใหญ่ของตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน โดย ผศ. ดร. มนตรี สิงหะวาระ ได้ทราบถึงแนวทางในการศึกษาโดยอาศัยแบบจำลองหลายเป้าหมายแบบหลายช่วงเวลา ร่วมกับวิธีการเชิงลำดับชั้นแบบคลุมเครือ เพื่อวิเคราะห์หาประสิทธิภาพในการผลิตลำไยเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนสูงสุดของเกษตรกร

เวลา ๑๐.๐๐-๑๐.๑๕ น.  ได้รับฟังการบรรยายเรื่องความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้บริโภคในเมืองและ

นอกเมืองต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่  โดย ผศ. ดร. รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์  ได้ทราบถึงเหตุผลในการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ กลุ่มพืชไร่ กลุ่มสินค้าอินทรีย์แปรรูปและกลุ่มสินค้าอินทรีย์สดของกลุ่มผู้บริโภคในเมืองและนอกเมืองและพบว่าผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ต่างพื้นที่กันมีเหตุผลในการตัดสินใจซื้อที่ต่างกัน

เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ได้เดินดูการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ สาขาพืชศาสตร์และสาขาประมงและทรัพยากรน้ำ ดังนี้

๑.     การศึกษาพันธุ์ขั้นต้นและการเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี ๑ และชัยนาท ๘o ที่ได้จากวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดกรอก โดย ผศ. ดร. วราภรณ์ แสงทอง ได้ทราบถึงวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดกรอก ในการเปรียบเทียบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี ๑ และชัยนาท ๘o และพบว่าข้าวเหนียวหอมจากข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี ๑ และชัยนาท ๘o มีผลผลิตซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับข้าวเหนียวพันธุ์ กข-แม่โจ้ ๒

๒.     การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี ๑  และชัยนาท ๘o ให้เป็นข้าวเหนียวหอม ด้วยวิธีผสมกลับโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก โดยนางสาวอนุชิดา  วงศ์ชื่น ได้ทราบถึงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพันธุ์ดี ๒ พันธุ์คือพันธุ์สุพรรณบุรี ๑  และชัยนาท ๘o ให้เป็นข้าวเหนียวหอม ด้วยวิธีผสมพันธุ์ข้าวเหนียว กข ๖ ทำการผสมกลับและใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก และพบว่าสามารถนำพันธุ์ไปปลูกเพื่อเพิ่มความคงตัวทางพันธุกรรมในฤดูต่อไปได้

๓.     ความหลากหลายของไส้เดือนน้ำจืดในแหล่งน้ำอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และจากร้านขายสัตว์เลี้ยงในภาคกลาง โดยผศ. ดร. ประจวบ ฉายบุ ได้ทราบถึงการจัดจำแนกระดับสกุลของไส้เดือนน้ำจืดจากลักษณะภายนอก โดยพบว่าไส้เดือนน้ำจืดที่จับได้จากธรรมชาติสามารถจำแนกได้ ๓ วงศ์ อย่างละ ๑ สกุล โดยสกุล Aeolosoma เป็นสกุลที่พบมากที่สุด และไส้เดือนน้ำจืดที่จับได้จากร้านขายสัตว์น้ำสามารถจำแนกได้ ๓ วงศ์ อย่างละ ๑ สกุล โดยสกุล Tubifex เป็นสกุลที่พบมากที่สุด

 

 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์

เป็นการพัฒนาทางวิชาการด้านการวิจัยในเชิงประยุกต์  โดยการนำความรู้จากข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้จากการประชุม มาประยุกต์ใช้ในการผลิตผลงานทางวิชาการ และการเผยแพร่งานวิจัย  อีกทั้งยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเองในด้านการผลิตผลงานทางวิชาการ

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=801
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง