ไปทำอะไร? ที่งานประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่เขียน 7/1/2561 16:08:07     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 15:36:01
เปิดอ่าน: 2639 ครั้ง

ในปีงบประมาณ 2560 นี้ ได้ขอรับงบประมาณพัฒนาบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายเข้าร่วมงานประชุมและเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2560 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 โดยการเข้าร่วมครั้งนี้ ได้ร่วมกิจกรรม 2 กิจกรรมได้แก่ การเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ และการจัดนิทรรศการผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัย

สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกปี เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอความก้าวหน้าด้านการวิจัยในสาขาวิชาการต่างๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความเคลื่อนไหวทางด้านวิชาการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยในปี 2560 นี้ ได้มีนักวิจัย คณาจารย์และนักศึกษาไม่เพียงจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เท่านั้นที่เข้าร่วมประชุมและเสนอผลงาน แต่ยังมีผู้เข้าร่วมจากภูมิภาคอื่น ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคใต้ให้ความสนใจมาร่วมงานครั้งนี้ด้วย เนื้อหาการประชุมได้ครอบคลุมทั้งสาขาเกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ ประมงและทรัพยากรทางน้ำ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จึงเห็นได้ว่า มีนักวิชาการหลากหลายแขนงมาพบปะกันในงานประชุมครั้งนี้

งานประชุมวิชาการในปีนี้ อาจถือได้ว่าเป็นความโชคดีของผู้เข้าร่วมงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มาจากต่างจังหวัด เพราะทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดงานคู่ขนานอีก 3 งาน คืองานแม่โจ้แฟร์ 2017 งานแสดงพันธุ์แตงกว่า 20 พันธุ์ และกาดแม่โจ้ 2477 โดยในส่วนของงานแม่โจ้แฟร์ 2017 นั้น เป็นการนำเสนอนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการนี้ ข้าพเจ้าก็ได้ร่วมเสนอผลงานนวัตกรรมจากการวิจัยด้วยเช่นกัน โดยเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบน้ำตาล FOS จากหัวหอมที่แปรรูปเป็นผงบรรจุแคปซูลและตั้งชื่อว่า ALLI-FOS ผลิตภัณฑ์นี้แม้เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แต่ได้รับโอกาสให้นำไปประกวดในงาน The IX European Exhibition of Creativity and Innovation (EUROINVENT) ณ the Palace of Culture เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2560 เป็นที่น่ายินดีที่ผลงานสิ่งประดิษฐ์นี้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากคณะกรรมการ อีกทั้งได้รับรางวัลพิเศษจากสมาคมนวัตกรรมแห่งประเทศโปแลนด์และไต้หวัน  

ขออนุญาตย้อนกลับมาที่ภาคการประชุมวิชาการ ข้าพเจ้าและคณะผู้วิจัยท่านอื่นๆ ได้แก่ ผศ.ดร.ฐิตินันท์ รัตนพรหม และ อ.ดร.อัจฉรา แกล้วกล้า ผู้ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้ประจำปี 2559 ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากยางพาราที่ปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ในการผลิตเป็นแผ่นวัสดุปิดแผล” จึงได้ตัดแบ่งเนื้อหาบางส่วนมาร่วมเสนอภาคโปสเตอร์ครั้งนี้ด้วย โดยนำเสนอในหัวข้อ “คุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของแผ่นยางพาราที่ผลิตจากน้ำยางพาราโปรตีนต่ำ (Physical and biological properties of Para rubber sheet produced from deproteinized Para rubber latex)” เนื้อหาผลการวิจัยนอกจากนำเสนอในโปสเตอร์แล้วยังมีบทความฉบับเต็มเผยแพร่ด้วย ทั้งนี้โอกาสการเข้าร่วมประชุมวิชาการตลอดจนงานอื่นๆ ที่จัดขึ้นคู่ขนานครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในวิทยาการด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสาขาเทคโนโลยีชีวภาพที่ตนเองถนัด หลายผลงานที่นำเสนอในงานนี้ สามารถนำมาเชื่อมโยงกับศาสตร์ความเชี่ยวชาญของข้าพเจ้าได้ หากมีการจัดงานลักษณะดังกล่าวนี้ขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้หรือภายนอก ข้าพเจ้าก็คาดหวังว่าจะได้มีโอกาสเข้าร่วมอีก เพื่อการพัฒนาตนเองให้มากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในยุคปัจจุบัน

 

 

ภาพที่ 1 กิจกรรมจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2560

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=761
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง