สรุปรายงานการประชุมวิชาการเรื่อง“พันธุศาสตร์บูรณาการ: จากการค้นพบสู่นวัตกรรม National Genetics conference 2017 (NGC2017)
I.การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 20ฟังบรรยายพิเศษจากวิทยากรรับเชิญจากต่างประเทศและในประเทศทางด้านความก้าวหน้าทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าใจความรู้ใหม่ๆที่อาศัยความรู้ทางพันธุศาสตร์เป็นรากฐานสำคัญสำหรับการวิจัยสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตั้งแต่จุลินทรีย์ พืช สัตว์และมนุษย์ ทำให้ทราบถึงหลักการศึกษาจีโนมในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจนประสบความสำเร็จ โดยอาศัยการศึกษาหาลำดับทั้งจีโนม ที่จะสามารถใช้เวลาไม่นานและมีความถูกต้องสูง ความเจริญก้าวหน้าและการก่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ของนักวิจัย ประสบการณ์ ที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือของนักวิจัยในประเทศและต่างประเทศสามารถสรุปหัวข้อหลักใหญ่มี 3 ข้อดังนี้คือ
1. New Gene Discovery การค้นพบยีนใหม่จะเน้นการศึกษายีนที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคในมนุษย์และยีนที่ควบคุมลักษณะฟีโนไทป์ในจุลินทรีย์ พืช และสัตว์เพื่อไปใช้ปรับปรุงลักษณะที่ต้องการ
2. Genome Editing วิธีการจะเน้นเกี่ยวกับการปรับปรุงลักษณะทางฟีโนไทป์ (phenotypic traits)ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทางด้านยา เกษตรและอุตสาหกรรม
3. Synthetic Biology การค้นพบยีนใหม่ก่อให้เกิดความเข้าใจในกลไกของยีนและ interrelationship ที่จะทำให้เกิดวิธีการที่เหมาะสมในการสังเคราะห์สารประกอบทางด้านชีววิทยาตามคุณสมบัติที่ต้องการ
II.นอกจากนี้ยังได้รับฟังบรรยายพิเศษเรื่อง Thirteen years of RD-Maejo 2 rice variety from molecular breeding to Thai farmers เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติการปรับปรุงพันธุ์ข้าวกข-แม่โจ้ 2 (RD-Maejo 2) โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ร่วมแบบ conventional breeding กับ molecular breeding ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับกรมการข้าวและหน่วยงานอื่นๆที่ต้องใช้เวลานานถึง 13 ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกรมการข้าว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 และคณะกรรมการรับรองพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้พันธุ์รับรอง ชื่อ กข-แม่โจ้ 2 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก ในปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ร่วมกับกรมการข้าวเพื่อสู่มือเกษตรกรนอกจากนี้ยังเข้าฟังวิชาการทางด้านข้าวในหัวข้อต่างๆเพิ่มเติมดังนี้ เช่น
Expression analysis and nucleotide variation of OsC1 gene associated with anthocyanin pigmentation in rice
III.สรุปความรู้เรื่อง Linking genotype to phenotype through modeling of the cellular regulation: an application in cassava starch biosynthesis arch biosynthesis -บรรยายเกี่ยวกับหลักการ Biomass reaction ร่วมกับ GMS (Genome – Scale Model) ที่ทำให้ทราบถึงความแตกต่างของ carbon assimilation ในมันสำปะหลังร่วมกับstarch biosynthesisให้พลังงานมากในระบวนการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นซูโครสและไปเป็นแป้ง (starch) นอกจากนี้ยังพบว่าSystems Biology Frameworkจะทำให้สามารถเข้าใจถึง Linking Genotype to phenotype ที่ชัดเจนมากขึ้น