ทำไมต้องไปศึกษาวิจัยที่ขั้วโลกใต้
วันที่เขียน 27/5/2560 8:36:19     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 10:15:58
เปิดอ่าน: 3712 ครั้ง

ทวีปแอนตาร์กติก หรือขั้วโลกใต้มีพื้นที่ประมาณ 14 ล้านตารางกิโลเมตรหรือใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณ 27 เท่า โดยประมาณร้อยละ 98ของพื้นที่ทั้งหมดถูกปกคลุมไปด้วยแผ่นน้ำแข็ง (ice sheet) ที่มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 2,450 เมตร ทวีปแอนตาร์กติกเป็นบริเวณที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอย่างถาวร มีเพียงคณะสำรวจของหลายประเทศที่เข้าพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยประมาณ 4,000 คนต่อปี พื้นที่นี้ถือได้ว่าเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวที่สุดในโลก เนื่องจากมีการระเหยของน้ำน้อย และมีอากาศที่ค่อนข้างแห้งมาก ประกอบกับไม่ได้รับความอบอุ่นจากมหาสมุทร อุณหภูมิต่ำสุดที่ตรวจวัดได้คือ -93.2 C ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติกอยู่ระหว่าง -1.8 ถึง 3.5 C โดยปกติบริเวณเขตขั้วโลกทั้งเหนือและใต้เป็นสถานที่ที่เปราะบางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เนื่องมาจากกระบวนการหมุนของโลกที่ทำให้ผลจากกิจกรรมนั้นๆ ส่วนใหญ่มารวมกันและปรากฏอยู่บริเวณแกนหมุนของโลก ขั้วโลกจึงจัดเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก และเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับตรวจวัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมโลก นอกจากนี้ขั้วโลกยังทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมให้กับโลกผ่านกระบวนการไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น โดยกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลกเป็นเครื่องมือทำความเย็นให้กับโลก ขณะที่กระแสน้ำอุ่นเป็นเครื่องมือระบายความร้อนในพื้นที่ต่างๆ มายังขั้วโลก เนื่องจากทวีปแอนตาร์กติกอยู่ห่างไกลจากทวีปอื่น และมีความหนาวเย็นอย่างมาก ทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ รวมถึงมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในแผ่นดินหรือตัวทวีป ดังนั้นปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตจึงถูกบันทึกรักษาไว้ภายใต้ผืนน้ำแข็งเป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังกล่าวทวีปแอนตาร์กติกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของโลก ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถไขปริศนาของอดีต ทราบถึงปัจจุบัน และสามารถคาดการณ์ถึงอนาคตของระบบนิเวศ รวมถึงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่แห่งนี้และของโลกด้วย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=685
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 6 ในวันที่ 27 มีนาคม 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการประมงแ...
การประชุมวิชาการ  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 2/4/2568 23:04:27  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 8:43:18   เปิดอ่าน 10  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์ » การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์
การหาเสถียรภาพ (Stability) ของสมการเชิงอนุพันธ์เป็นกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบว่าคำตอบของสมการเชิงอนุพันธ์มีแนวโน้มที่จะคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเวลาผ่านไป โดยทั่วไป การพิจารณาเสถียรภาพขึ้นอยู่กับพฤต...
การหาเสถียรภาพ  สมการเชิงอนุพันธ์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ธวัชชัย เพชรธาราทิพย์  วันที่เขียน 7/3/2568 14:18:42  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2/4/2568 20:09:37   เปิดอ่าน 84  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๕ : จากหลักการสู่การปฏิบัติ
จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนที่จะดำเนินการวิจัย โดยยึดหลักตามหลักการของ Belmont Report and Basic Ethical (1978) ประกอบด้วย 3 หลักกา...
จริยธรรมวิจัย  พฤติกรรมศาสตร์  วิจัยในมนุษย์  สังคมศาสตร์     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 26/2/2568 16:09:31  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 3/4/2568 4:35:56   เปิดอ่าน 125  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง