เสนอผลงานวิจัยในงานประชุม TSB2016
วันที่เขียน 15/3/2560 17:20:49     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 15:57:12
เปิดอ่าน: 2867 ครั้ง

ในระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2559 ได้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมและเสนอผลงานวิชาการในงานประชุม The 28th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology and International Conference ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม the Empress จังหวัดเชียงใหม่ งานประชุมนี้จัดขึ้นทุกปี ในปีนี้มีหัวข้องานคือ Natural Resources & Bio-based Innovation Products และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน ทั้งคนไทยและต่างชาติ ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ร่วมนำเสนองานภาคโปสเตอร์ในหัวข้อ Effect of Bacterial Protease on Mechanical Properties of Para Rubber Examination Glove ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับหัวข้องานประชุมที่เน้นการสร้างนวัตกรรมจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือยางพารานั่นเอง

ในรอบปีงบประมาณ 2560 นี้ ข้าพเจ้า นายไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้มีแผนพัฒนาทักษะการวิจัยของตนเอง จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมและเสนอผลงานวิชาการในงานประชุม The 28th Annual Meeting of the Thai Society for Biotechnology and International Conference ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ณ โรงแรม the Empress จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2559 งานประชุมนี้จัดขึ้นทุกปี ในปีนี้มีหัวข้องานคือ Natural Resources & Bio-based Innovation Products และมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คน ทั้งคนไทยและต่างชาติ ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ร่วมนำเสนองานภาคโปสเตอร์ในหัวข้อ Effect of Bacterial Protease on Mechanical Properties of Para Rubber Examination Glove ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ค่อนข้างสอดคล้องกับหัวข้องานประชุมที่เน้นการสร้างนวัตกรรมจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือยางพารานั่นเอง

การได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมครั้ง ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองเป็นอย่างมากในเชิงทักษะงานวิจัย เนื่องจากได้รับฟังบรรยายโดย Keynote speaker ที่เป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ญี่ปุ่น ออสเตรียและอเมริกา นักวิจัยเหล่านี้ ล้วนมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่บรรยายโดย Prof. Dr. Dietmar Haltrich จาก Laboratory of Food Biotechnology, Department of Food Science and Technology, University of Natural Resources and Life Sciences กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่บรรยายในหัวข้อ The LAB cell factory: lactic acid bacteria for the production of prebiotics เป็นหัวข้อที่ข้าพเจ้ามีความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าด้วยเรื่องของการใช้แบคทีเรียกลุ่มแลกติกเป็นตัวผลิตสารอาหารกลุ่มพรีไบโอติกส์ที่ใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เนื้อหาในงานวิจัยนี้ สอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชา ชว455 เทคโนโลยีชีวภาพของอาหารฟังก์ชั่นที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบสอนอยู่ ข้าพเจ้าสามารถนำกรณีตัวอย่างนี้มาบรรยายให้นักศึกษาได้เรียนรูปเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจากความรู้ที่ได้รับจากการฟังบรรยายแล้ว ข้าพเจ้ายังได้แนวทางการทำวิจัยของตนเอง และได้รับแรงบันดาลใจในการมุ่งมั่นทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น จากการเข้าฟังการนำเสนอผลงานของนักวิจัยท่านอื่นๆ ในรูปแบบปากเปล่า ก็ยังทำให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การวิจัยกับท่านเหล่านั้นด้วยเช่นกัน สร้างเป็นเครือข่ายทางวิขาการที่เข้มแข็งขึ้นได้ในอนาคต ข้าพเจ้าวางแผนว่า จะพยายามเข้าร่วมงานประชุมที่จัดโดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพนี้ทุกปี เพื่อเป็นการติดตามกระแสงานวิจัยที่เป็นที่ต้องการของโลก และนำมาปรับใช้เป็นแนวทางวิจัยของตนเอง เพื่อให้เกิดเป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่งานวิจัยขึ้นหิ้ง ที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใดๆ

 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=652
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง