การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ครั้งที่ 3
วันที่เขียน 11/3/2560 14:24:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 14:53:41
เปิดอ่าน: 1055 ครั้ง

การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Conference on Research and Creative Innovations: CRCI) การประชุมฯ เริ่มจัดเมื่่อปี พ.ศ.2557 ตามนโยบายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่สนับสนุนให้นักวิจัยในสังกัดได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในการเข้าร่วมนำเสนอผลงานในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนา ยกระดับ และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยใน และต่างประเทศ และเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งในงานประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ภายในงานมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านวิจัยหลากหลายด้าน เช่น สาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี สาขาบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและสุขภาพ เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร สาขาศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคมและชุมชน

การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ครั้งที่ 3 มีกิจกรรมภายในงานดังนี้

1. การเสวนาวิชาการ

2. การนำเสนอผลงานทางวิชาการ (บรรยาย/โปสเตอร์) ทางด้าน

   2.1 วิศวกรรม พลังงานและเทคโนโลยี

   2.2 บริหารธุรกิจและสิลปศาสตร์

   2.3 วิทยาศาสตร์กายภาพและสุขภาพ

   2.4 เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร

   2.5 ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม

   2.6 งานวิจัยที่มีผลกระทบต่อชุมชน สังคม ศาสนา และหน่วยงาน

3. การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์

4. การจัดบูธนิทรรศการ

โดยมีบทความที่นำเสนอในรูปแบบบรรยายทั้งหมด 62 บทความ นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ทั้งหมด 85 บทความ และประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์จำนวน 14 ผลงาน  นวัตกรรมจำนวน 6 ผลงานและผลงานสร้างสรรค์จำนวน 2 ผลงาน

ภายในงานประชุมวิชาการมีการเสวนาเรื่อง "แนวทางการพัฒนานักวิจัยฝ่ายวิชาการและฝ่ายอุตสาหกรรมท้องถิ่น"

ทั้งนี้ในงานประชุมวิชากาารครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้นำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบโปสเตอร์ ชื่อเรื่อง "การพยากรณ์จำนวนนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่" ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการกับนักวิจัยที่มาเข้าร่วมและนำเสนอผลงานทางวิชาการในครั้งนี้ อีกทั้งยังได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิในการนำงานวิจัยมาบูรณาการกับการเรียนการสอนในอนาคต อีกด้วย

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=631
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง