Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax
วันที่เขียน 16/2/2560 17:42:51     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 15:49:06
เปิดอ่าน: 3024 ครั้ง

ข้าพเจ้า ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2017) และได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ในหัวข้อ Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาการนำไขผึ้งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำและหาได้ง่ายในจังหวัดเชียงใหม่มาสกัดสารโพลิโคซานอล ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีมูลค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการในการทำให้โพลิโคซานอลมีความบริสุทธิ์มากขึ้น โดยพบว่า การเลือกใช้ชนิดของตัวทำลายอินทรีย์ในขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์มีผลต่อความบริสุทธิ์ของโพลิโคซานอลที่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการตกผลึกนับว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญซึงส่งผลต่อความบริสุทธิ์ของสาร นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่างๆ

ข้าพเจ้านางสาวอนรรฆอร ศรีไสยเพชร ตำแหน่ง พนักงานมหาวิทยาลัย (อาจารย์) สังกัด หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ Pure and applied Chemistry International Conference 2017 (PACCON 2017) ระหว่างวันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2560   ณ Convention Centre Building, The Government Complex, Chaeng Watthana Road, Thung Song Hong, Laksi, Bangkok และได้นำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ ในหัวข้อ Improvement of purity of policosanol extracted from beeswax ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาการนำไขผึ้งซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าต่ำและหาได้ง่ายในจังหวัดเชียงใหม่มาสกัดสารโพลิโคซานอล ซึ่งเป็นสารสกัดที่มีมูลค่า มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยได้มุ่งเน้นถึงกระบวนการในการทำให้โพลิโคซานอลมีความบริสุทธิ์มากขึ้น โดยพบว่า การเลือกใช้ชนิดของตัวทำลายอินทรีย์ในขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์มีผลต่อความบริสุทธิ์ของโพลิโคซานอลที่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการตกผลึกนับว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญซึงส่งผลต่อความบริสุทธิ์ของสาร

นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานในหัวข้อต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น

1. งานวิจัยที่ศึกษาถึงการตรึงเอนไซม์บนพาหะตรึง อันได้แก่ไคโตซาน เพื่อให้มีความทนทานต่อแรงจากภายนอกในกระบวนการหมักในสภาวะไร้อากาศ ทั้งนี้เพื่อให้เอนไซม์มีสเถียรภาพ และทำให้เกิดการเร่งปฏิกิริยาได้อย่างสูงสุด โดยใช้ไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังชันก์ที่เหมาะสมต่อการเป็นพาหะตรึง

          2. งานวิจัยที่ศึกษาการเร่งปฏิกิริยาด้วยไมโครเวฟ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการสังเคราะห์สารชนิดต่างๆ จากหลายสิบชั่วโมง หรือหลายวัน ให้เหลือเพียงไม่กี่นาที เนื่องจากการให้พลังงานด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยเป็นการทำให้โมเลกุลของน้ำเกิดการปั่นป่วนจนเกิดพลังงานความร้อนในการเร่งปฏิกิริยาขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความร้อนอย่างทั่วถึงจากด้านในออกมายังด้านนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถเร่งปฏิกิริยาโดยมีตัวเร่งวิวิธภัณฑ์ได้อีกด้วย

3. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับ โดยการสังเคราะห์พอลิเมอร์ในระดับนาโน โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ คือ แป้งจากต้นพุทธรักษาในการผลิตวัสดุพอลิเมอร์ขนาดนาโน ทั้งนี้แป้งที่นำมาใช้จะต้องผ่านกระบวนการดัดแปร โดยจากการศึกษาพบว่า การดัดแปรแป้งไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างส่วนผลึก ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบเมื่อนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพอลิเมอร์ระดับนาโน

4. งานวิจัยที่นำเสนอเกี่ยวกับการสกัดกลุ่มเอนไซม์จากจุลินทรีย์ Aspergillus sp. ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในการผลิตด้ายจากเส้นใยสับปะรด พบว่ากลุ่มเอนไซม์ที่สกัดได้สามารถทนทานต่อ NaOH ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญมี่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายจากเส้นใยสับปะรด

          ซึ่งทำให้ได้มองเห็นแนวทางการวิจัยที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=617
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 29/3/2567 1:29:15   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ
โครงการติดตามบุคคลากรคณะวิทยาศาสตร์ที่ครบกำหนดในการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น กิจกรรมที่ 1 การสร้างความรู้เกี่ยวกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 08.30 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาค...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 23/2/2567 23:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 27/3/2567 22:32:54   เปิดอ่าน 61  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง