การได้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) เมื่อวันที่ ๙-๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๙
วันที่เขียน 8/2/2560 13:01:31     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:31:54
เปิดอ่าน: 3649 ครั้ง

การนำไปใช้ประโยชน์หลังจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ ทรัพยากรชีวภาพสู่ผลิตภัณฑ์ระดับโลก ครั้งที่ ๓ The 3rd International Conference on Bioresources toward World Class Products (BWCP2016) โดยนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม นำมาประกอบการพัฒนาการสอน วิชา ชว ๔๕o เทคโนโลยีการหมัก วท 498 การเรียนรู้อิสระ และ ชว 454 การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพ รวมทั้งพัฒนางานวิจัย

องค์ความรู้ที่ได้ 

 

ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง Biocatalytic Process for Production of Bioactive Compound from Biomass จาก พิมพ์ใจ ใจเย็น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเนื้อหากล่าวถึงการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากชีวมวล ได้แก่ phenolic compound ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีความสำคัญอย่างมากโดยศึกษาหาวิธีการสกัดสารนี้ด้วยชีวิธีทางชีวภาพ

ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง The role of probiotics in boosting immune function for health จาก Jun Nishihira นักวิจัยจาก Hokkaido Information University ประเทศญี่ปุ่น โดยเนื้อหากล่าวถึงจุลินทรีย์โปรไบโอติคในกลุ่มของแบคทีเรียแลคติกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์โดยจะส่งเสริมให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคหวัดได้

ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย เรื่อง Honey as a Bioresource of Food, Medicine and the Economy จาก Kanthimathi นักวิจัยจาก University of Malaya ประเทศมาเลเซีย โดยเนื้อหากล่าวถึง การรวบรวมน้ำผึ้งป่าชนิดต่างๆ ในประเทศมาเลเซีย มีการใช้น้ำผึ้งป่าเป็นแหล่งอาหารและยา ในน้ำผึ้งป่ามีสารที่มีประโยชน์อย่างน้อย ๑๘๑ ชนิด ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำตาล และมีสารอื่นๆ ได้แก่ โปรตีน เอนไซม์ กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ไขมัน วิตามิน สารฟีนอลลิค ฟาลวานอยด์ แคโรตีนอยด์ และแร่ธาตุต่างๆ น้ำผึ้งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีความสามารถในการป้องกันการอักเสบ เป็นสารยับยั้งแบคทีเรียและสารยับยั้งมะเร็ง ซึ้งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แก่มนุษย์เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ คณะผู้จัดงาน ได้แก่ คณะกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช. NRCT) จัดทำเอกสารสรุป สารเคมีที่เป็นประโยชน์ ๕ กลุ่ม ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เกษตรแปรรูป วัสดุพอลิเมอร์ใหม่ สิ่งแวดล้อม และ พลังงาน แสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้

 

๑.      กลุ่มสุขภาพ ได้แก่ เรสเวอราทรอล (Resveratrol) และ เคอร์ซิทิน (Quercetin)

๒.      กลุ่มเกษตรแปรรูป  ได้แก่  สารฟีนอล (Phenolics) และ สารสีจากพืช (Pigments) สารฟีนอล (Phenolics) หรือ พอลิฟีนอล (polyphenols) กลุ่มที่เด่น ได้แก่

          caffeic acid  พบในเมล็ดกาแฟ

          gallic acid    พบใน ใบชา และ ถั่ว

          tannin         พบใน ผลไม้หลายชนิด

          cholorogenic acid พบใน กาแฟ และ ผลไม้

          catechin และ rutin  พบใน ผลไม้ และ พืช หลายชนิด

          สารสีจากพืช (Pigments) สารสีที่มีความสำคัญ ได้แก่

          สารกลุ่มคาโรทีนอยด์ (carotenoid) สารลูทีน (lutein) สารกลุ่มแอนโทไซยา สารสีจากพืช (Pigments) ดังกล่าว นำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องดื่มฟังก์ชัน (functional foods และ fuctional drinks)

๓.      กลุ่มพอลิเมอร์ใหม่ ได้แก่ มาเลอิกแอนไฮดรายด์ (Maleic anhydrilde) และ กลีเซอรอล (Glycerol)

๔.      กลุ่มสิ่งแวดล้อม  ได้แก่ เฟอร์ฟูราล (Furfural) และ เบนซัลดิไฮด์ (Benzaldehyde)

๕.                   กลุ่มพลังงาน ได้แก่ เอทานอล (Ethanol) ไขมัน และ น้ำมันกลีเซอรอล (Fats and glyceride oils) รายงานการวิจัยในประเทศไทยส่วนใหญ่เน้นการศึกษาหาตัวเร่งปฎิกิริยาใหม่ที่เพิ่มการเปลี่ยนไทรกลีเซอไรด์ให้ไปเป็นไบโอดีเซล และการแยกกลีเซอรอลที่ได้ในปฎิกิริยาให้เป็นสารที่บริสุทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป และแนวโน้มงานวิจัยในอนาคตจะเน้นเรื่อง

-          การขยายตัวด้านการตลาดของไบโอดีเซลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

-          การใช้แหล่งชีวภาพื่น เช่น สาหร่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบจะมีการวิจัยและพัฒนาอย่างก้าวกระโดด

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=613
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง