การบริการวิชาการเป็นภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา โดยเริ่มจากการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการ ทั้งการบริการวิชาการที่ทำให้เกิดรายได้และการบริการวิชาการที่จัดทำเพื่อสร้างประโยชน์แก่ชุมชนหรือสังคม โดยมีการประเมินความสำเร็จของการบริการวิชาการ และนำมาจัดทำเป็นแผนการใช้ประโยชน์จนเกิดผลลัพธ์ ที่สร้างความพึงพอใจต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ลักษณะของกิจกรรม/โครงการการบริการวิชาการแก่สังคม
- กิจกรรม/โครงการที่ขอใช้งบประมาณบริการทางวิชาการ ต้องเป็นกิจกรรม/โครงการที่มีลักษณะตามนิยามที่ สมศ.และ สกอ. กำหนด
- กลุ่มเป้าหมายของการให้บริการวิชาการ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าซึ่งในที่นี้เรียกว่า ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่ ด้วยกัน 7 กลุ่ม
- นักศึกษาปัจจุบัน
- บุคลากรภายใน
- ศิษย์เก่า
- ตลาดแรงงาน
- รัฐบาล
- สังคมและชุมชน
- ผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน
- มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่เน้นการบริการวิชาการแบบบูรณาการให้การบริการวิชาการมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ อาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยหรือจัดขึ้นในพื้นที่ได้
- ในการจัดโครงการบริการวิชาการ ควรศึกษาความต้องการของกลุ่มมีเป้าหมายก่อน เพื่อให้โครงการต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
- กิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ อาจเป็นโครงการแบบให้เปล่า โครงการที่เก็บค่าลงทะเบียนบางส่วน หรือเป็นโครงการที่เก็บค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย หรือเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกก็ได้
การเริ่มต้นบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้กับหน่วยงาน จึงต้องมีการพิจารณาภารกิจด้านการบริการวิชาการที่เป็นจุดเด่นของหน่วยงาน ซึ่งผู้รับบริการให้ความสนใจ โดยจะต้องมีการพิจารณาต้นทุนและความเหมาะสมในการให้บริการ เพื่อกำหนดรูปแบบและอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการ