การเตรียมการเพื่อขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ
การเตรียมการเพื่อขอรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ มี 9 ขั้นตอน ดังนี
1. ศึกษาและอบรมข้อกำหนด ISO/IEC 17025 :2005 และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1. ความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005
1.2. การจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005
1.3. การสอบเทียบเครื่องมือ (Calibration) และการตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check)
1.4. การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ (Validation of Methods)
1.5. การหาค่าความไม่แน่นอนของการวัด (Uncertainty of Measurement)
1.6. การควบคุมคุณภาพภายใน (Internal Quality Control)
1.7. การตรวจติดตามคุณภาพภายใน (Internal Audit)
2. ให้ความเห็นชอบในการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการโดยผู้บริหาร
ผู้บริหารต้องเล็งเห็นความสำคัญของการนำระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 มาควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการ และการบริหารจัดการ โดยมีการจัดนำเป็นนโยบายคุณภาพเพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบมาตรฐานร่วมกัน
3. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการ และเฝ้าระวังระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการประกอบไปด้วย
3.1. ผู้จัดการคุณภาพ
3.2. ผู้บริหารด้านวิชาการ
3.3. เจ้าหน้าที่ควบคุมเอกสาร
3.4. เจ้าหน้าที่ตรวจติดตามคุณภาพภายใน
4. กำหนดนโยบายวางแผนสำหรับการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 ในขั้นตอนนี้จะจัดทำเอกสารต่าง ๆ ตามลำดับชั้น ดังนี้
4.1. เอกสารคู่มือคุณภาพ
4.2. เอกสารคู่มือขั้นตอนการดำเนินงาน
4.3. เอกสารคู่มือวิธีทดสอบ
4.4. เอกสารคู่มือการปฏิบัติงาน
4.5. เอกสารสนับสนุนอื่น ๆ เช่น แบบฟอร์ม สมุดบันทึก เอกสารอ้างอิง เป็นต้น
5. ปฏิบัติงานตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ เช่น
5.1. จัดหาหรือซ่อมแซมเครื่องมือ, เครื่องแก้ว และวัสดุวิทยาศาสตร์
5.2. สอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้ว
5.3. ทดสอบความชำนาญของห้องปฏิบัติ และการทดสอบความใช้ได้ของวิธี
5.4. ปฏิบัติงานตามคู่มือต่าง ๆ และการนำเอกสารสนับสนุนมาใช้งาน
6.ตรวจติดตามคุณภาพภายใน
การตรวจติดตามคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบการดำเนินงานภายใต้ระบบมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจว่า มีการดำเนินงานตามระบบที่ได้กำหนดไว้ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 โดยเจ้าหน้าที่ตรวจติดตามคุณภาพภายในของหน่วยงานที่ผ่านการอบรมการตรวจติดตามคุณภาพภายในและมีการแต่งตั้ง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตรวจติดตามคุณภาพภายในต้องมีอิสระในการตรวจติดตาม ไม่ตรวจติดตามในงานที่ตนรับผิดชอบ
7. แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพภายใน ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ และต้องหาข้อสรุปให้ได้ทุกข้อบกพร่อง
8. ทบทวนการบริหารงานของห้องปฏิบัติการ โดยจัดให้มีการประชุม ทั้งนี้ให้กำหนดแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการ หรือเพิ่มคุณภาพในการให้บริการเพิ่มมากขึ้น
9. ติดตามหน่วยงานรับรองห้องปฏิบัติการ