การขนส่ง RNA ในพืช
วันที่เขียน 14/3/2558 16:34:41     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/4/2567 18:58:16
เปิดอ่าน: 7315 ครั้ง

การขนส่ง RNA ในพืช นั้นได้จากการฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง The complexities of RNA localization in plants using rice as a model โดย Professor Thomas W. Okita ณ ห้องประชุม 2 อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มีนาคม 2558

การขนส่ง RNA ในพืช

การศึกษาการแสดงออกของยีนในพืช พบว่ามีการขนส่งสาย RNA ที่ได้จากการ transcription ภายในนิวเคลียสไปยังออร์แกนเนลที่ต้องการ ซึ่งการขนส่งสาย RNA อาจเกิดอันเนื่องมาจากโครงสร้างของพืชที่มีแวคิวโอขนาดใหญ่เบียดส่วนประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ไปอยู่บริเวณขอบของเซลล์ ดังภาพ 1 ทำให้ยีนต่างๆ เมื่อเกิดการถอดรหัสภายในนิวเคลียสที่อยู่ด้านหนึ่งของเซลล์แล้ว จะต้องขนส่งสาย RNA ที่ได้ไปยังออร์แกนเนลเป้าหมายที่อยู่อีกด้านหนึ่งของเซลล์

 ภาพ 1 โครงสร้างของเซลล์พืชที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

ที่มา http://www.oncoursesystems.com/school/webpage/10845583/788307

          ซึ่งจากการบรรยายเรื่อง The complexities of RNA localization in plants using rice as a model โดย Professor Thomas W. Okita ที่ใช้ข้าวเป็นต้นแบบในการศึกษาการขนส่งของสาย RNA ของยีนโปรตีนสะสม 2 ชนิด คือ โปรตีน glutelins และโปรตีน prolamines ซึ่งโปรตีน glutelins จะสะสมใน storage vacuoles (PB-II) และโปรตีน prolamines สะสมใน ER lumen (PB-I) โดยที่ในการแสดงออกเป็นโปรตีนสะสมทั้งสองชนิดจะเกิดการถอดรหัส (transcription) เป็นสาย mRNA ที่นิวเคลียสจากนั้นจะขนส่งไปยังบริเวณเป้าหมาย โดยที่สายmRNA ของ prolamines จะขนส่งไปที่ PB-ER ส่วนสาย mRNA ของ glutelins จะขนส่งไปที่ C-ER ดังภาพ 2 เพื่อเกิดการแปลรหัส (translation) ได้เป็นสายโปรตีนต่อไป ซึ่งจากการแสดงออกในลักษณะดังกล่าว จึงเกิดคำถามว่าสาย mRNA ของยีน prolamines และยีน glutelins จะขนส่งไปยังบริเวณ PB-ER และ  C-ER เพื่อเกิดการแปลรหัสได้อย่างไร ซึ่งจากการศึกษาของ Professor Thomas W. Okita พบว่าการขนส่งจะต้องประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ สาย mRNA จะต้องมีสัญญาณเพื่อชี้นำว่าสาย mRNA นั้นจะต้องขนส่งไปยังบริเวณเป้าหมาย และโปรตีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง

 

ภาพ 2 การขนส่งสาย mRNA ของยีน glutelins และยีน prolamines

ที่มา http://www.plantphysiol.org/content/136/3/3414.full

 

องค์ประกอบหลักในการขนส่งสาย mRNA ของยีน glutelins และยีน prolamines จะขนส่งไปยังบริเวณ storage vacuoles และ ER lumen ได้แก่

  1. สัญญาณบนสาย mRNA

โดยในสาย mRNA ของยีน prolamine มีสัญญาณเป็น zipcode จำนวน 2 บริเวณ ที่ตำแหน่งภายในบริเวณรหัส (5’ CDS) และบริเวณไม่แปลรหัสด้าน 3’ (3’UTR) อย่างละ 1 บริเวณ ส่วนในสาย mRNA ของยีน glutelin จะมี zipcode จำนวนมาก อาจจะมีได้ถึง 6 บริเวณ โดยที่จะมีตำแหน่งภายในบริเวณรหัส (5’ CDS) และบริเวณไม่แปลรหัสด้าน 3’ (3’UTR) เช่นกัน โดยหากเกิดการกลายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าวจะทำให้การขนส่งไปยังบริเวณอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย

    2.โปรตีนขนส่งสาย mRNA

จากการศึกษาข้าวสายพันธุ์ที่ได้จากการกลายพันธุ์ (mutant) พบว่าข้าวที่มีการกลายพันธุ์ในยีน glu2 ยีน glu4 ยีน glu6 (ภาพ 3) จะมีความผิดปกติในการขนส่งสาย mRNA โดยที่ยีน glu4/glu6 จะเกี่ยวข้องกับโปรตีน GTPase และ GTP/GDP exchange ที่เกี่ยวข้องการขนส่งข้ามเยื่อหุ้ม ส่วนยีน glu2 เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้ม (membrane protein)

จากการศึกษาด้วยการติดตามการเคลื่อนที่ของสาย mRNA ที่ติดฉลากด้วยสารเรืองแสง พบว่าสาย mRNA จะเคลื่อนที่ภายในเซลล์ ดังภาพ 3 จึงสมารถตั้งสมมติฐานได้มาการเคลื่อนที่/ขนส่ง สาย mRNA น่าจะเกี่ยวข้องกับส่วน cytoskeleton ของเซลล์พืช (ภาพ 4) เพราะโครงสร้างส่วนนี้จะรักษารูปร่างและการเคลื่อนที่ของออร์แกนเนลต่างๆ ภายในไซโทพลาสซึม

ภาพ 3 การเคลื่อนที่ของสาย mRNA ของยีน prolamine ที่เวลาต่างๆ (วินาที)

ที่มา http://public.wsu.edu/~tokita/research.htm

ภาพ 4 โครงสร้างของ cytoskeleton ของเซลล์พืช

ที่มา http://pixshark.com/cytoskeleton-in-cell.htm

จากการศึกษาพบว่ามีโปรตีนกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาย mRNA  โดยการนำสาย mRNA ที่มีบริเวณ zipcode มาตึงบนอนุภาค จากนั้นนำโปรตีนมาผ่านอนุภาค หากโปรตีนนั้นเกี่ยวข้องกับการจับสาย mRNA จะถูกตรึงไว้กับอนุภาค แล้วล้าง และชะเอาโปรตีนที่จับอนุภาคออกมาศึกษา โดยโปรตีนที่ได้จะเป็นกลุ่มโปรตีนที่จับกับสาย mRNA (RNA binding proteins; RBPs) ได้ ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนจำนวนมาก (RBP-A ถึง RBP-R) เป็น heterogeneous nuclear ribonucleoproteins (hnRNPs) ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน post-transcription จากนั้น ซึ่งในขณะนี้พบว่าโปรตีน RBP-A, RBP-I, RBP-J, RBP-K เกี่ยวข้องกับการจับสาย mRNA บริเวณ zipcode เมื่อนำโปรตีน RPBs เหล่านี้ไปเป็นตัวจับสาย cDNA ที่ได้จากการเปลี่ยน mRNA ทั้งหมดของเซลล์ จากนั้นนำไปอ่านลำดับเบส พบว่าได้สาย cDNA ของ mRNA จำนวน 168 RNAs พบว่าเป็นยีนของ small expressed proteins, transposon, gluteins, ATP synthatase, ribosomal proteins, RBPs, transporters และ starch biosynthesis จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านอกจากสาย mRNA ของยีน gluteins และ prolamines แล้วยังมียีนในกระบวนการอื่นๆ ในพืชก็มีการขนส่งสาย mRNA ไปยังส่วนต่างๆ ของเซลล์ เพื่อการแปลรหัสต่อไป

  นอกจากนี้ยังพบโปรตีน Tudor-SN/ Rp120 (multi-functional RNA binding protein) ที่มีคุณสมบัติเป็น RBP (RNA binding protein) พบมากในส่วนที่เป็นโปรตีนจาก cytoskeleton (cytoskeleton-protein  body fraction) จะพบอยู่รวมกับ microtubules (องค์ประกอบของ cytoskeleton) ซึ่งจากการศึกษาด้วยเทคนิค TILLING (targeting induced Local Lesions in Genomes) เป็นเทคนิคการทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอจีโนมของข้าว จากนั้นจะได้กลุ่มพันธุ์กลาย ที่จะนำมาศึกษาต่อได้ว่าบริเวณใดของยีนเกิดการกลายพันธุ์และมีผลกระทบต่อการขนส่งโปรตีนไปยังบริเวณอื่นๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมายก็จะพบว่าบริเวณนั้นหรือกรดอะมิโนนั้นสำคัญต่อการทำหน้าที่ของโปรตีนที่ศึกษา

 

ในการบรรยายพิเศษในครั้งนี้ยังได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาในงานชีวโมเลกุลเพิ่มเติม เช่น เทคนิคการติดฉลากสาย mRNA ด้วยสารเรืองแสง เพื่อใช้ระบุตำแหน่งของสาย mRNA ว่าอยู่บริเวณใดของเซลล์ เทคนิค immune-precipitation (IP) ที่เป็นการตกตะกอนโปรตีนที่ทำงานร่วมกันหรือจับกัน เพื่อแยกโปรตีนเหล่านั้นออกมาศึกษาจากโปรตีนทั้งหมดของเซลล์ เทคนิคการแยกโปรตีนที่จับกับสาย mRNA ด้วยการใช้สาย mRNA เป็นเหยื่อ เทคนิค TILLING ที่เป็นการสร้างพันธุ์กลาย (mutant) ข้องข้าว โดยจะได้ตัวอย่างพันธุ์กลายจำนวนมากที่จะผิดปกติในยีนแตกต่างกัน ซึ่งจะสามารถนำมาคัดเลือกเฉพาะลักษณะที่เราสนใจต่อไปได้ และเทคนิคการหาลำดับเบสของ cDNA ทั้งหมดที่ได้จากการตกตะกอนร่วมกับ IP

Smile  

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=355
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ณ ห้องเอกภพวิทยา ชั้น G อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจัดโดย...
ChatGPT  การประชุมวิชาการ  เทคโนโลยี  วิทยาศาสตร์  สิ่งแวดล้อม     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 11/4/2567 15:19:10  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/4/2567 22:17:03   เปิดอ่าน 22  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าอบรม สัมมนาหรือประชุมวิชาการ » รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมและนำเสนอผลงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5
รายงานสรุปเนื้อหา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิริพร สมุทรวชิรวงษ์  วันที่เขียน 2/4/2567 16:14:15  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/4/2567 16:56:52   เปิดอ่าน 41  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศ
การเขียนบทความทางวิชาการเพื่อให้ได้ตีพิมพ์ในวารสารในประเทศและวารสารต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับบุคลากรสายวิชาาร เนื่องจากหลังจากที่ทำการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ ๆ ๆได้แล...
Chat GPT  บทความวิชาการ  วารสาร     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 4/3/2567 10:52:45  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 20/4/2567 10:47:07   เปิดอ่าน 75  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง