ประชุมและเสนอผลงานวิชาการที่ประเทศมาเลเซีย
วันที่เขียน 12/3/2558 21:21:12     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 15:42:37
เปิดอ่าน: 3533 ครั้ง

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ ในงานประชุมของสมาคม the Asian Association for Biology Education ณ โรงแรม Crystal crown เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ พบว่าข้าพเจ้าได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายกับกลุ่มนักวิจัยจากต่างประเทศที่มีความสนใจด้านเดียวกัน ได้ความรู้ในด้านวิชาการและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและทางด้านการเกษตรมากยิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

การได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือนานาชาตินั้น ล้วนมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยและนวัตกรรมของแต่ละบุคคล  ในการนี้ข้าพเจ้าจึงได้เลือกที่จะเข้าร่วมประชุมและเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ในงานประชุมของสมาคม the Asian Association for Biology Education ณ โรงแรม Crystal crown เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 แล้ว

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานประชุมวิชาการ โดยมี Prof.Dr.Esther Daniel และ Prof.Dr. Carolina Lopez เป็นประธานในพิธีเปิด จากนั้นรับฟังการบรรยายเปิดประชุมโดย Prof.Dr.Dzulkifil Abdul Razak ในหัวข้อ Biology in the Era Convergence and Transdisciplinary ก่อนที่จะแยกย้ายเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงานภาคบรรยายของกลุ่มต่างๆ โดยข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังในกลุ่ม Creating the next generation of Biology teachers และ Research in Biology ซึ่งมีหัวข้อเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิค Gallery walk ที่ข้าพเจ้าสนใจ ภาคบ่ายเข้ารับฟังการบรรยายโดย Dr. Chen Zhong ในหัวข้อ Challenges of plant science education and research in garden city และร่วมการนำเสนองานภาคโปสเตอร์ของกลุ่มแรก ซึ่งข้าพเจ้าร่วมเสนอในกลุ่มนี้ด้วย จากนั้นเวลาตั้งแต่ 15.30 น. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็น Chairman ในการเสนอภาคบรรยายของกลุ่ม The endangered planet-How can Biology education help? ซึ่งมีนักวิจัยในกลุ่มนี้ทั้งสิ้น 4 คน ต่อจากการนำเสนอภาคบรรยาย ก็ได้มีการนำเสนอภาคโปสเตอร์ ซึ่งข้าพเจ้าก็ร่วมนำเสนอในครั้งนี้ด้วย โดยหัวข้อที่นำเสนอคือ Biomass production of Spirulina platensis in medium containing effluent from Para rubber sheet manufacturing process ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อคือ

          “น้ำทิ้งจากโรงงานแปรรูปยางพาราเป็นยางแผ่นพบว่ามีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ฟอสเฟต น้ำตาล โปรตีน และสารอินทรีย์อื่นๆ ดังนั้นจึงได้มุ่งที่จะประยุกต์ใช้น้ำทิ้งนี้เป็นแหล่งของสารอาหารในอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ต่อไป น้ำทิ้งดังกล่าวได้ถูกปรับค่า pH ความกระด้าง และของแข็งแขวนลอยโดยใช้ NaOH ปูนขาว โซดาแอช หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำน้ำทิ้งที่ผ่านการปรับสภาพนี้มาใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย Spirulina platensis ผลการทดลองพบว่า การเจริญของสาหร่ายได้ลดลงเมื่อมีการเพิ่มอัตราส่วนของน้ำทิ้งเป็นส่วนประกอบของอาหารเลี้ยงสาหร่ายสูตรมาตรฐาน ในการเสริมน้ำทิ้งสัดส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ พบว่าให้ผลการทดลองที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าค่าอัตราการเจริญจำเพาะและเวลาที่ใช้เพิ่มจำนวนเป็นสองเท่าของสาหร่ายเมื่อเลี้ยงในอาหารสูตรปรับปรุงนี้มีค่าเท่ากับ 0.09 + 0.012 Day-1 และ 8.0 + 1.6 Day ตามลำดับ ในขณะที่สาหร่ายที่เจริญในอาหารสูตรมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.15 + 0.008 Day-1 and 4.57 + 0.25 Day ตามลำดับ อย่างไรก็ตามปริมาณโปรตีนหยาบของสาหร่ายที่ได้จากอาหารเพาะเลี้ยงทั้งสองสูตรนี้ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05)” 

จากการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ พบว่าข้าพเจ้าได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายกับกลุ่มนักวิจัยจากต่างประเทศที่มีความสนใจด้านเดียวกัน ได้ความรู้ในด้านวิชาการและการวิจัยในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและทางด้านการเกษตรมากยิ่งขึ้น ตลอดจนทำให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

 

 

ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน

(12 มีนาคม 2558)

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=353
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง