โครงการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน
วันที่เขียน 12/3/2558 20:54:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:26:51
เปิดอ่าน: 3419 ครั้ง

รวบรวมความรู้ที่ได้รับจากการได้เข้าร่วมโครงการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557 ณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน ที่ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร. อติชาต เกตตะพันธุ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านได้บรรยายเรื่อง คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กับโบราณคดีที่วัดอุโมงค์ ซึ่งวัดอุโมงค์เป็นวัดที่มีความโดดเด่นโดยมีจิตกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจะมีอายุราว 500-600 ปี เป็นภาพเล่าเรื่องราวในพุทธศาสนา แต่จิตกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคืออยู่ในรูปแบบ Wall Paper ที่มีลวดลายซ้ำไปมา และมีลักษณะการโค้งของเพดานในอุโมงค์เป็นแบบโค้งวงรีและโค้งฟังก์ชันยกกำลังซึ่งสามารถเขียนแทนได้ด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งวิทยากรได้กล่าวถึงประโยชน์ของการวิจัยทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย ณ. วัดอุโมงค์ เช่น การเข้าใจการก่อสร้างวัดอุโมงค์ได้ดียิ่งขึ้น  การสร้างภาพจำลองสามมิติ การบูรณะปฏิสังขรณ์ ความสำคัญในการทำรางวัด การสรางหุ่นจำลอง (Model) อุโมงค์ และเจดีย์  และการสร้างอุโมงค์จำลองขนาดเท่าของจริง โดยท่านได้จัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่วัดอุโมงค์ หลายอย่าง ได้แก่ 1) การวัดความสูงของเจดีย์ โดยใช้ความรู้ทางเรขาคณิต 2) การวัดความกว้างยาวสูงของแต่ละอุโมงค์ โดยใช้ตลับเมตรและลูกดิ่ง 3) การวัดทิศและมุมของแต่ละอุโมงค์ โดยใช้เข็มทิศและที่วัดมุม 4) การใช้คณิตศาสตร์ช่วยคำนวณหาจำนวนดอกไม้ภายในอุโมงค์ 5) การศึกษาลักษณะความโค้งของเพดานของอุโมงค์ ว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับโค้งวงกลม วงรี แครีนารี พาราโบลา หรือฟังก์ชันยกกำลัง หรือไม่ ซึ่งจากการได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับดิฉันอยากจะบูรณาการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในวิชา คศ 371 การหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization) ซึ่งเป็นวิชาที่เน้นวิธีการทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหาเพื่อหาค่าที่เหมาะสมที่สุดของปัญหา และเพื่อเป็นการให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของไทย ซึ่งนักศึกษาสามารถนำวิธีการของการหาค่าเหมาะที่สุดไปใช้ประยุกต์ในการแก้ปัญหาหลายเรื่อง เช่น การวิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย ของการจัดงานวันลอยกระทง ต. แม่ลาด จ. กำแพงเพชร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547- 2556 การวิเคราะห์จำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์ การวิเคราะห์จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวชมศิลปวัฒนธรรมของไทย เป็นต้น

ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง