การศึกษาชุดโครโมโซมในเซลล์พืช ด้วยเครื่อง Flow Cytometry (Plant DNA Ploidy Analysis with Flow Cytometry)
วันที่เขียน 10/3/2558 16:03:47     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 13:11:49
เปิดอ่าน: 4981 ครั้ง

เครื่อง Flow Cytometry เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่มีความสามารถในการวิเคราะห์คุณสมบัติหลายๆ ประการของเซลล์ สามารถนำเอาเทคนิคดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่ศึกษาในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้ง สัตว์ พืช และจุลชีพ

เครื่อง Flow Cytometry เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่มีความสามารถในการวิเคราะห์คุณสมบัติหลายๆ ประการของเซลล์ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ทั้ง สัตว์ พืช และจุลชีพ ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์เซลล์แต่ละเซลล์ซึ่งจะถูกบังคับให้เคลื่อนที่เป็นเซลล์เดี่ยวๆ ผ่านลำแสงต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณสมบัติของเซลล์สิ่งมีชีวิตที่สนใจ โดยการวิเคราะห์เซลล์ด้วยเครื่อง Flow Cytometry นี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการต่างๆ โดยเฉพาะงานวินิจฉัยและวิจัยทางด้านการแพทย์ เช่น การวิเคราะห์จำนวนประชากรเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ในตัวอย่างเลือด เพื่อการตรวจสอบหาความผิดปกติทางโลหิตวิทยา การวิเคราะห์หาระดับเม็ดเลือดขาวเพื่อวินิจฉัยหรือติดตามการรักษาผู้ป่วยเอชไอวี หรือแม้กระทั่งการวิจัยเพื่อค้นหาสารหรือยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเซลล์มะเร็งเป็นต้น ทั้งนี้จะทำการย้อมผนังเซลล์ด้วยสารเรืองที่จับกันอย่างจำเพาะกับโปรตีนที่อยู่บนผิวเซลล์ นอกจากนี้ยังสามารถย้อมโครโมโซมที่อยู่ภายในเซลล์เพื่อตรวจสอบกระบวนการการแบ่งตัวของเซลล์ เป็นต้น ในการศึกษษสิ่งมีชีวิตกลุ่มจุลชีพ นั้นเครื่อง Flow Cytometry ก็นิยมนำมาใช้เพื่อตรวจสอบการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพ ตอบสนองต่อสารอาหารหรือสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยง โดยองค์ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และตรวจสอบมาตรฐานในระดับอุตสาหกรรมที่มีการใช้เชื้อจุลชีพเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ในส่วนการศึกษาด้านพืชนั้น ได้มีการนำเครื่อง Flow Cytometry มาใช้ในการวิเคราะห์การเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซม (ploidy) โดยได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ตรวจสอบในบริษัทและหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่มีการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยอาศัยการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซมในพืช ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เครื่อง Flow Cytometry เป็นเครื่องมือที่สำคัญชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ ในงานวิจัยทางด้านพืช โดยในการบรรยายครั้งนี้เป็นการบรรยายที่เพิ่มองค์ความรู้ให้ผู้เข้าฟังบรรยายเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งผู้ฟังบรรยายสามารถเข้าใจถึงหลักการและการประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าว ซึ่งจะสามารถนำเอาความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยต่อไป อีกทั้งสามารถนำไปถ่ายทอดต่อไปยังผู้สนใจหรือนักศึกษาต่อไปได้ 

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=348
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การจัดสอบระบบ Dugga » เรียนรู้การใช้งานระบบ Dugga - Digital Assessment Platform
Dugga - Digital Assessment Platform (https://www.dugga.com) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการสอบ บนโลกออนไลน์ ให้สะดวก ปลอดภัยมากขึ้น แนวทางการออกแบบประเภทคำถามมีหลากหลายกว่า 15 ประเภท แนะการจัดการระบบความปล...
AI  Dugga  Exam     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ฐิติพรรณ ฉิมสุข  วันที่เขียน 9/7/2567 12:31:51  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 11:47:10   เปิดอ่าน 26  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ/อบรม/สัมมนา » โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
โครงการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน วิทยากรโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์...
การขอตำแหน่งทางวิชาการ  การตีพิมพ์ผลงาน  จริยธรรมการวิจัย     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน พิกุล ศรีดารัตน์  วันที่เขียน 7/7/2567 15:01:14  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 16/7/2567 7:01:51   เปิดอ่าน 23  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน
หลักเกณฑ์การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การวิจัย จริยธรรมการวิจัย และการตีพิมพ์ผลงาน บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ กรรมการ กพว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับ หลักเก...
ตำแหน่งทางวิชาการ  ประกาศ ก.พ.อ.     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:15:17  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 2:37:51   เปิดอ่าน 46  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
การจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา » ความเข้าใจที่อาจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE
เป็นประเด็นที่ผู้ประเมินอาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ OBE โดยที่ประเด็นต่าง ๆ ที่นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการเป็นผู้ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปในทิศทางเดี...
AUNQA  OBE  ประกันคุณภาพการศึกษา     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน ศิรศักดิ์ ศศิวรรณพงศ์  วันที่เขียน 28/6/2567 15:04:09  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 15/7/2567 4:48:37   เปิดอ่าน 42  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง