ความก้าวหน้าทางด้านเกษตร วิจัย และนวัตกรรมทั่วไป ปรับปรุงพันธุ์ พันธุศาสตร์ ชีววิทยาและสิ่งแวดล้อมโดยสามารถสรุปเนื้อหาสำคัญต่างได้ดังนี้คือ 1.งานวิจัยเรื่องเครื่องหมายไมโครแซตเทลไลต์ที่แยกความแตกต่างระหว่างข้าวโฟเลตสูงและต่ำ เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีปริมาณโฟเลตสูงโดยการทดลองครั้งนี้มีการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอจำนวน 27 เครื่องหมาย พบว่า 5 เครื่องหมาย ได้แก่ RM3042 RM13473 RM18828 RM6082 และ RM2482 เครื่องหมายดีเอ็นเอเหล่านี้จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายดีเอ็นเอกับปริมาณโฟเลตในประชากร F 2 ต่อไปซึ่งศึกษาเครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซตเทลไลต์ที่สามารถตรวจสอบความแตกต่างระหว่างข้าวที่มีปริมาณโฟเลตสูงจำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ ขี้ตมแดง และเจ้าเหลืองและข้าวที่มีโฟเลตต่ำแต่คุณภาพการหุงต้มดีเป็นที่นิยมบริโภคจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ กข 43 ไรซ์เบอรี่ ปทุมธานี 1และเจ้าก่ำหอมแม่โจ้ 1 เอแสดงความแตกต่างของขนาดแถบดีเอ็นเอระหว่างพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณโฟเลตสูงและต่ำ 2.งานวิจัยเรื่อง การแก้ไขยีน Pi21 โดยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวต้านทานโรคไหม้ (ณัฐพงและคณะ,2566)ศึกษาพบว่า ยีน Pi21 มี ผลควบคุมเชิงลบต่อความต้านทานโรคไหม้โดยเป็นที่สำคัญที่เกิดจากเชื้อราทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตของข้าวอย่างรุนแรงในทุกปี งานวิจัยนี้จึงศึกษาลำดับเบสของยีน Pi21/pi21 ที่เกี่ยวข้องกับความ ต้านทานโรคไหม้ และแก้ไขยีน Pi21 ด้วยระบบ CRISPR/Cas9 เพื่อให้ข้าวมีความต้านทานต่อโรคไหม้เพิ่มมากขึ้น โดยค้นหายีนPi21/pi21 ด้วยเทคนิคพีซีอาร์แล้ววิเคราะห์ลำดับเบส พบว่า ยีน Pi21 ในข้าว 3 พันธุ์ ได้แก่ หางยี 71 ขาวดอกมะลิ 105 และ Kasalath เป็น Haplotype C ที่จะพบในพันธุ์ข้าวอ่อนแอต่อโรคไหม้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ ออกแบบ sgRNA ของระบบ CRISPR/Cas9 มีตำแหน่งอยู่ที่เอกซอน 1 เพื่อให้เกิดการแก้ไขยีน Pi21 ที่จะกระทบต่อ บริเวณสำคัญของยีนทำให้ยีนไม่ทำงาน การถ่าย construct เข้าสู่ข้าวพันธุ์ Kasalath พบว่า มีประสิทธิภาพการถ่าย ยีนสูง และเมื่อนำต้นที่มีการแทรกของยีนระบบ CRISPR/Cas9 มาวิเคราะห์ลำดับเบสพบว่า มีการแก้ไขยีนแบบ biallelic หรือ heterozygous จึงจะนำเมล็ดข้าวรุ่น T1 ปลูกเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแก้ไขยีน Pi21 และทดสอบ ความต้านทานโรคไหม้ต่อไป 3.งานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกในลำไยพันธุ์ต่าง ๆ จากการกระตุ้นด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรตการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของลำไยทั้งหมด 32 พันธุ์ โดยวิเคราะห์รูปแบบของชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่ถูกเพิ่มจำนวนด้วยวิธีพีซีอาร์ โดยใช้คู่ไพรเมอร์ทั้งหมด 7 คู่ไพรเมอร์ที่ออกแบบมาจากลำดับนิวคลีโอไทด์ของชิ้นส่วนยีนที่แสดงออกแตกต่างกันระหว่างตัวอย่างลำไยที่ไม่ได้รับและได้รับสารโพแทสเซียมคลอเรตซึ่งมีความสามารถในการกระตุ้นการออกดอกของลำไย ผลการทดลองพบว่าไพรเมอร์จำนวน 7 คู่ไพรเมอร์ มีอุณหภูมิในขั้นตอน Annealing อยู่ระหว่าง 56 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งไพรเมอร์ชนิด “LcAF9” เป็นไพรเมอร์ที่ให้ผลการทดลองที่ดีที่สุด สามารถเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอได้อย่างจำเพาะ ปรากฎแถบดีเอ็นเอที่เห็นได้ชัดเจนและแสดงความแตกต่างทางพันธุกรรม ซึ่งมีลำไย 3 พันธุ์ ได้แก่ เบี้ยวเขียว แห้ว และเถา ปรากฏแถบของดีเอ็นเอมากกว่า 1 แถบ แตกต่างจากลำไยพันธุ์อื่น ๆ ที่ปรากฏแถบเพียงแถบเดียวเท่านั้น เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษากลไกการออกดอกของลำไย 4.เรื่องการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร ทำให้สามารถมีความรูความเข้าใจในกาสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ว่าจะต้องมีการพัฒนาและต่อยอดอย่างไรบ้างจึงจะก่อให้เกิดความสำเร็จ 5.กลยุทธ์การปั้นธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน โดยทำให้ทราบว่าภาคธุรกิจได้ช่วยเหลือเกษตรกรโดยมีการรับซื้อใบอ้อยมูลค่าเกือบตนบาทต่อตัน ทำให้เกษตรกรลดการเผาใบอ้อยลงไปมาก่อให้เกิดผลดีในการลดภาวะต่างๆรวมทั้งลดโลกร้อนด้วย สรุปฟังประชุมวิชาการด้านพันธุศาสตร์ทำให้สามารถเข้าใจถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มาช่วยทำให้การปรับปรุงพันธุ์พืชต่าง ๆสำเร็จได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและการบรรยายพิเศษด้านการใช้วัสดุเหลือใช้มาสร้างมูลค่าเช่นการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรทำให้มีการลดการเผาวัสดุลงไปอย่างมาก