SAFE2023 น้ำหอม กุหลาบ การสกัด
วันที่เขียน 25/9/2566 23:07:00     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 23/11/2567 16:51:00
เปิดอ่าน: 209 ครั้ง

กุหลาบมอญ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Rosa damascene Mill. วงศ์ Rosaceae ชื่อสามัญคือ Damask rose เป็นดอกไม้ที่สวยงาม มีกลิ่นหอมแรง ลักษณะสีดอกเป็นสีชมพูเข้ม ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการนำดอกกุหลาบมอญมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งด้านงานศิลปะ ด้านอาหารแต่งกลิ่น รส นำมาใช้ในการผลิตและปรุงน้ำหอม และด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ภาพรวมการนำมาใช้ประโยชน์ เช่น นำดอกกุหลาบมาร้อยพวงอุบะดอกไม้เพื่อนำไปใช้ในงานพิธีต่างๆ การนำดอกไม้สดมารับประทาน นำมาอบหรือตากแห้งผลิตเป็นชากุหลาบ หรือกระทั่งนำดอกกุหลาบมอญมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สกัดเป็นหัวน้ำหอม ทำบุหงาเครื่องหอม นอกจากการนำดอกกุหลาบมาใช้ประโยชน์ดังกล่าวแล้ว พบว่าฤทธิ์ทางชีวภาพและทางเภสัชวิทยาของดอกกุหลาบมอญมีหลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านไวรัส HIV ยาระบายอ่อนๆ ระงับอาการไอ ยาลดปวด ยาต้านการชัก เป็นต้น ในกลีบกุหลาบมีวิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินบี วิตามินเค โพแทสเซียม แร่ธาตุทองแดง ไอโอดีน แคลเซียม แคโรทีน เป็นต้น วิตามิน เกลือแร่ และแร่ธาตุ เหล่านี้ช่วยเรื่องระบบหัวใจ การสร้างเม็ดเลือด กระบวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในร่างกาย รวมถึงการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ น้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบช่วยคลายเครียด ลดการอักเสบ ฆ่าทำลายเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สมานรักษาแผล ทำให้นอนหลับ ช่วยระงับประสาท สารสกัดจากดอกกุหลาบพบสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยบำรุงและดูแลผิวหนัง เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ปรับสมดุลสภาพผิว ช่วยบรรเทาผดผื่นแดง อาการแพ้ระคายเคืองจากสารเคมี ลดการอักเสบของผิวจากการบวม ร้อนแดง จากรังสียูวีในแสงแดด เสริมภูมิต้านทานของผิวหนัง โดยทั่วไปเทคนิคการสกัดน้ำมันหอมระเหยมีหลายเทคนิค เช่น เทคนิคการกลั่นด้วยไอน้ำ (Stream distillation) เทคนิคการกลั่นด้วยน้ำ (Hydrodistillation) ซึ่งทั้งสองเทคนิคเป็นรูปแบบวิธีการสกัดด้วย Clavenger method การสกัดด้วยวิธีการบีบเย็น (Cold pressed) การสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (Solvent extraction) โดยตัวทำละลาย ที่มีการรายงานการนำมาใช้สกัด เช่น Petroleum ether, n-hexane เป็นต้น เทคนิคการสกัดด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลวหรือเรียกว่า การสกัดด้วยของไหลวิกฤตยิ่งยวด (Supercritical CO2 extraction) นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอื่นๆ เช่น การสกัดด้วยไขมันหรืออองเฟลอราจ (Enfleurage) การแช่หมัก (Maceration) น้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบมีหลายเทคนิค การสกัดด้วยเทคนิคดั้งเดิมส่วนใหญ่จะมีสองขั้นตอนหลักๆ คือ ขั้นตอนแรกเป็นการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ จะได้ผลิตภัณฑ์เรียกว่า rose concrete จะได้ส่วนสกัดที่เป็นสารประกอบหลายชนิด เช่น Paraffins, Fatty acids, Fatty acid methyl esters สารประกอบ di- Terpenic และ tri-Terpenic เป็นต้น ในขั้นตอนที่สองจะนำส่วนกลั่นในขั้นตอนแรกนำมาสกัดด้วยเทคนิคการกลั่นด้วยน้ำหรือ Hydrodistillation ในขั้นตอนนี้จะให้สารประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบที่นำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องหอมต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคนิคการสกัดน้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบ เช่น เทคนิค Supercritical CO2 extraction ที่ความดัน 80 บาร์ และอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ที่จะช่วยลดสิ่งเจือปนที่พบในการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ที่ส่วนใหญ่เป็นสารไม่ระเหย เช่น Paraffins สำหรับส่วนสกัดที่เรียกว่า สารสกัดกุหลาบ สามารถเตรียมสารสกัดได้หลายเทคนิควิธี เช่น การกลั่นด้วยน้ำ การแช่หมัก การสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากเทคนิคการสกัดดังกล่าวข้างต้นแล้ว อีกหนึ่งเทคนิคการสกัดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ใช้ตัวทำละลายคือ น้ำ และเป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสกัดสารจากพืชที่สนใจ และสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ คือ เทคนิคการสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟหรือ Microwave assisted extraction (MAE) (ทรงศักดิ์, 2559) ที่มีการพัฒนารูปแบบการสกัดทั้งแบบ Microwave hydrodistillation (MWHD) และ Solvent free microwave assisted extraction (SFME) สามาถใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยรวมถึงสารสกัดได้ โดยมีวัตถุดิบพืช ดอกไม้ สมุนไพร ในลักษณะพืชสด หรือแช่แข็ง เทคนิคประยุกต์เหล่านี้จะทำให้ลดระยะเวลาการสกัด ลดการใช้สารเคมีที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ในการสกัด เพิ่มคุณภาพน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดรวมถึงได้ร้อยละผลผลิตสูงมากขึ้น

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1385
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 22/11/2567 23:59:49   เปิดอ่าน 107  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง