" ทิศทางการขับเคลื่อนมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ”
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินการขับเคลื่อนมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ มาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน มีการจัดสรรทุนสนับสนุนให้เกิดหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินงานพัฒนาเครือข่าย พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานระดับชาติและนานาชาติ โครงสร้างของการบริหารการจัดการ ประกอบด้วย เครือข่ายวิจัยภูมิภาค (network) ในการเป็นศูนย์กลางของแต่ละภูมิภาค จำนวน 4 เครือข่าย ได้แก่ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคกลาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัจจุบันมี
- มหาวิทยาลัยแม่ข่าย (node) จำนวน 12 แม่ข่าย ได้แก่
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- และมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
- มหาวิทยาลัยแม่ข่ายขนาดกลาง (medium-node) จำนวน 3 M ได้แก่
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
- มหาวิทยาลัยลูกข่าย (sub-node) จำนวน 86 ลูกข่าย ทั่วประเทศไทย
ในปี 2565 มีจำนวนห้องปฏิบัติการที่ลงทะเบียนในระบบ ESPReL Checklist จำนวน 5,504 ห้องปฏิบัติการ จากผลการดำเนินงานในช่วงปี 2564-2565 มีการตรวจประเมิน Peer evaluation จำนวน 240 และ 140 ห้องตามลำดับมี โดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองผ่านตามเกณฑ์ครบทั้ง 7 ด้าน จะได้รับตราสัญลักษณ์ 7 ด้านและได้เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
สิ่งสำคัญในการดำเนินงานมาตรฐานความปลอดภัย
- เครื่องมือสนับสนุนในการดำเนินงาน Lab safety คือ ระบบ ESPReL Checklist ที่ออกแบบและพัฒนาระบบโดยสำนักงานงานการวิจัยแห่งชาติ ระบบ Smart Lab Platform (ระบบดิจิทัลอัจฉริยะเพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการแบบไร้รอยต่อ สู่การยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยไทยอย่างอย่างยั่งยืน) พัฒนาระบบโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ E-learning มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
- การเผยแพร่และพัฒนาบุคลากร เช่น การจัดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ โครงการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการการจัดการอบรมผู้ตรวจประเมินในรูปแบบ Peer Evaluation การอบรมผู้ตรวจประเมิน มอก.2677-2558
- จัดประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยประจำปีเพื่อเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมและกระตุ้นการดำเนินงานดำเนินมาตรฐานความปลอดภัย ตลอดจนการมอบรางวัลให้กับหน่วยงานที่มีการดำเนินงาน best practice
ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ยังได้ฟังการนำเสนอผลงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็น Good practices ของหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของเครือข่ายวิจัยของแต่ละภูมิภาคทั้ง 4 จากภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ทำได้ได้รับความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดี สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของหน่วยงานตนเองได้ ตลอดจนได้มีโอกาสเยี่ยมชมโปสเตอร์งานด้านมาตรฐานความปลอดภัยของหน่วยงานต่างๆ และได้แลกเปลี่ยนความรู้รวมถึงได้รับคำแนะนำต่างๆ ในการดำเนินงานตามระบบ ESPReL Checklist 7 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบการป้องกันและแก้ไขภัย การใช้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และการจัดการข้อมูลและเอกสาร เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและใช้ปรับกับห้องปฏิบัติงานของตนเองอย่างเหมาะสมได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการระหว่างหน่วยงานงานเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของหน่วยงานต่อไป
นอกจากนี้ นายแพทย์จารุพงษ์ พรหมวิทักษ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชาเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ได้บรรยายในหัวข้อ “Respiratory Protection Program” ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ที่มีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน และจะต้องมีการเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโดยอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ประเภทอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ใช้งานต้องมีมาตรฐานตาม OSHA Standards : 29 CFR 1910.134 และต้องใช้งาน Mask และ Respiration ให้เหมาะสมกับประเภทของงานที่ปฏิบัติ รวมทั้งต้องมีตรวจสุขภาพผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี