Blog : พัฒนาตนเอง-นงคราญ
รหัสอ้างอิง : 963
ชื่อสมาชิก : นงคราญ พงศ์ตระกุล
เพศ : หญิง
อีเมล์ : nongkran@mju.ac.th
ประเภทสมาชิก : บุคลากรภายใน [สังกัด]
ลงทะเบียนเมื่อ : 1/3/2555 14:59:05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 1/3/2555 14:59:05

รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมดของ Blog : พัฒนาตนเอง-นงคราญ
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 แบบออนไลน์ผ่านระบบ Microsoft Teams ของการเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ซึ่งการนำเสนอผลงานวิชาการของแต่ละเรื่องมีเนื้อหาสาระ ความน่าสนใจ สามารถสรุปเนื้อหาพอสังเขปได้ดังนี้ การเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทั้งหมด 11 เรื่อง • ผลงานเรื่อง “ผลของน้ำหมักชีวภาพจากกล้วยตานีสุกต่อการจับตัวและคุณสมบัติทางกายภาพของ ยางก้อนกล้วย” นำเสนอโดย นางสาวรัตนสุข จันทร์เพ็ญ โดยสรุป กรดสังเคราะห์ที่ช่วยทำให้นำยางจับตัวนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำและดินรวมทั้งชาวสวนยาง ดังนั้นจึงศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้น้ำหมักชีวภาพจากการหมักกล้วยตานี โดยพบว่าการหมักกล้วยตานีสุก 2,000 กรัม ร่วมกับน้ำเปล่า 3 ลิตร และ พด.2 จำนวน 5 กรัม เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งปริมาณน้ำหมักชีวภาพต่อน้ำยาง 50:100 สามารถทำให้ยางก้อนกล้วยจับตัวได้ที่เวลา 14.31 นาที ซึ่งช้ากว่าการใช้กรดฟอร์มิกที่ใช้เวลา 7.29 นาที • ผลงานเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่อง ECO- SMART ต่อการลดการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหาร” นำเสนอโดย นางสาวเพ็ญนภา ตาคำ โดยสรุป การทำงานของเครื่อง ECO- SMART ซึ่งเป็นเครื่องกำจัดขยะเศษอาหาร มีกระบวนการทำงานคล้ายกระบวนการทำ Flash pasteurization แต่มีระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ (contact time) ที่นานกว่าทำให้มีความสามารถในการลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียได้ และการนำขยะประเภทต่างๆ จากครัวเรือนมาบำบัด้วยเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียลงได้ เมื่อทดสอบทั้งในสภาวะมีอากาศและสภาวะไร้อากาศ • ผลงานเรื่อง “การเปรียบเทียบฤทธิ์การต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดระหว่างข้าวก่ำพันธุ์ดั้งเดิมกับข้าวก่ำ มช.107”นำเสนอโดย นางสาวอภิชญา ปริศนานันทกุล โดยสรุป จากการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ของข้าวก่ำพันธุ์ดั้งเดิมและข้าวก่ำเจ้า มช. 107 พบว่า สารสกัดข้าวก่ำเจ้า มช.107 มีค่า DPPH Assay IC50 อยู่ 119 ?g/mL ซึ่งสูงกว่าสารสกัดข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมืองดอยสะเก็ด และเมื่อสารสกัดข้าวก่ำทั้งสองชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญของมะเร็ง A549 พบว่า การสารสกัดข้าวก่ำเจ้าทั้งสองชนิดที่ระดับความเข้มข้น 200 ?g/mL ต้านเซลล์มะเร็งปอดชนิด A549 ให้ผลแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย • ผลงานเรื่อง “การใช้ไมโครแคปซูลจากยีสต์ในการเพิ่มความเ สถียรของผลิตภัณฑ์ในสภาวะน้ำย่อยจำลองและการเก็บรักษาสารเคอร์คูมินอยด์” นำเสนอโดย นางสาววราทิพย์ ชวนคิด โดยสรุป การผสมสารเคอร์คูมินอยด์ที่สกัดจากขมิ้นชัน เข้ากับสารผสม (wall materials) ชนิดต่างๆ มีผลกระทบต่อ การละลายน้ำของเคอร์คูมินอยด์ และเคอร์คูมินอยด์มีความสามารถในการละลายที่ต่างกัน โดย demethoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin สามารถละลายน้ำได้ดีกว่า curcuminoids สารหุ้มช่วยในการชะลอการปลดปล่อยสารสำคัญของ curcuminoids ในสารละลายน้ำย่อยกระเพาะอาหารจำลอง (simulated gastric fluid) นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อผสมยีสต์ เคอร์คูมินอยด์ และ sodium alginate ร่วมกันส่งผลให้การปลดปล่อยสารสำคัญชะลอตัวลงได้ดี • ผลงานเรื่อง “การศึกษาประชากรจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับแห้วหมู (Cyperus rotundus L.) และกิจกรรมของเอนไซม์ของประชากรแบคทีเรีย” นำเสนอโดย นายเกียรติศักดิ์ ทาเจริญ • ผลงานเรื่อง “ผลของแหล่งคาร์บอนต่อการเจริญเติบโตและการผลิตกรดไขมันดีเอชเอจาก Aurantiochytrium acetophilum FIKU 003 สายพันธุ์ใหม่” นำเสนอโดย นางสาวกมลรัตน์ นิลสุวรรณ • ผลงานเรื่อง “ผลของสูตรอาหารต่อการเพาะเลี้ยงอย่างง่ายก้วยไม้กะเรกะร่อน” นำเสนอโดย นางสาวรวิวรรณ หมานจันทร์ โดยสรุป การเพาะเลี้ยงโปรโตคอร์มกล้วยไม้ระเรกะร่อนทั้งสองสักษณะในสูตรอาหาร MS, ? MS, VW, และ VW+ micro MS ที่ใช้ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ แล้วเลี้ยงเป็นเวลา 30 วัน พบว่าโปรโตคอร์มเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โปรโตคอร์มที่ได้มีลักษณะสีเขียวสมบูรณ์เริ่มเกิดที่ใบ และมีสัดส่วนโปรโตคอร์มขนาด ? 0.9 cm. มากที่สุด • ผลงานเรื่อง “การทำให้บริสุทธิ์ของเอนไซม์อะไมเลส เซลลูเลส และไซแลนเนส ที่ผลิตจากการหมักเชื้อรา Rhizopus oryzae บนรำข้าว” นำเสนอโดย นางสาวอรจินดา กานุมัด • ผลงานเรื่อง “การศึกษากระบวนการทำข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอกต่อปริมาณสารกาบา สารประกอบ ฟีนอลิคและสารต้านอนุมูลอิสระ” นำเสนอโดย นางสุรัลชนา มะโนเนือง โดยสรุป ในงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวอินทรีย์ให้แก่กลุ่มเกษตรกร และเพื่อศึกษากระบวนการทำข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอกที่จะทำให้ได้สารกาบาในปริมาณที่สูง รวมถึงการศึกษาปริมาณสารประกอบฟินอลิค และฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระในข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอก โดยผู้วิจัยพบว่า จากการทดลองเปรียบเทียบกระบวนการทำข้าวกล้องหอมมะลิเพาะงอก พบว่า เมื่อระยะเวลาบ่มนานขึ้น ทำให้สารกาบาสูงขึ้นตามระยะเวลาในการบ่ม เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการทำงอกทั้งสองแบบพบว่าการสีปลอกออกก่อนทำงอกมีปริมาณสารกาบาสูงกว่า การสีหลังจากการทำงอก จึงควรเลือกวิธีการทำงอกโดยสีเปลือกก่อนการเพาะงอก และใช้ระยะเวลาในการบ่ม 36 ชั่วโมง เพื่อให้ได้สารกาบาสูงสุด ปริมาณสารประกอบฟินอลลิคมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ • ผลงานเรื่อง “ผลของความเครียดเค็ม ความเครียดแล้ง และไตโตซานต่อการเจริญของแคลลัสข้าวหอมมะลิแดง” นำเสนอโดย นางสาวกองทอง ไพลขุนทด • ผลงานเรื่อง “ผลของสูตรอาหารและสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีต่อการชักนำให้เกิดแคลลัสและตายอดจากชิ้นส่วนใบดาวเรือง” นำเสนอโดย นางสาวขวัญดาว จันทะหา โดยสรุป การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบดาวเรืองบนอาหารสูตร MS ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต BA และ NAA ที่แตกต่างกัน มีผลทำให้เกิดแคล
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร"
จากการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร “อุดมคติ On Tour" เรื่องหัวข้อ “การผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตคราฟต์เบียร์ และได้ฝึกปฏิบัติกระบวนการผลิตคราฟต์เบียร์ ขนาด 20 ลิตร ที่สามารถนำไปลองทำด้วยตนเองได้ ซึ่งเป็นความรูู้ที่น่าสนใจและอยากเผยแพร่ให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลและสาระจากบทความนี้
คำสำคัญ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ  การผลิตคราฟต์เบียร์  เบียร์ (ฺBeer)  พัฒนาตนเอง  อบรม  อบรมเชิงปฏิบัติการ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1847  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 9/1/2567 14:47:56  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 23:20:56
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » "การประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ครั้งที่ 3) Laboratory Safety Network Annual Symposium 2022 : Safety Culture: Together Towards A Better Tomorrow”
"การประชุมประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ครั้งที่ 3) Laboratory Safety Network Annual Symposium 2022 : Safety Culture: Together Towards A Better Tomorrow” ได้จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 16.30 น. ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ มีการประชุมรายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการประจำปี 2565 และมีการนำเสนอผลการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยที่เป็น Good practices ของหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของเครือข่ายวิจัยทั้ง 4 ภูมิภาค
คำสำคัญ : ESPReL Checklist  ประชุมวิชาการ  มาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ  แลกเปลี่ยนเรียนรูู้  อบรม  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 226  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 7/9/2566 17:53:25  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 30/8/2567 12:27:03
พัฒนาตนเอง-นงคราญ » สรุปเนื้อหาและการนำไปใช้ประโยชน์จากประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่
การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2
คำสำคัญ : ประชุมวิชาการ  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ  
กลุ่มบทความ : กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร
หมวดหมู่ : กลุ่มงานช่วยวิชาการ
สถิติการเข้าถึง : เปิดอ่าน 1221  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
ผู้เขียน นงคราญ พงศ์ตระกุล  วันที่เขียน 24/6/2564 15:01:49  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7/9/2567 15:46:07

URL สำหรับอ้างอิงถึงหน้านี้