จุดประสงค์ของการอบรมเพื่อลดผลกระทบในเชิงลบของข้อมูลบิดเบือนในประเทศสมาชิกอาเซียนและสร้างภูมิคุ้มกันต่อข้อมูลบิดเบือน และข้อมูลเท็จให้แก่ชุมชนในภูมิภาค พบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาด้านดิจิตอลและมีสถิติการใช้งานอินเทอร์เนตและโซเชียลมีเดียสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะเดียวกันอาชญากรทางด้านไซเบอร์ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นเท็จบิดเบือนโฆษณาชักจูงประชาชนให้หลงเชื่อแบบผิดๆ และหลอกลวงให้แชร์ หรือบางครั้งเราเรียก Fake News เราสามารถแบ่งความผิดปกติของข้อมูลข่าวสารออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
- ข้อมูลที่แฝงเจตนาร้าย ( Mal-information) เป็นข้อมูลที่มีพื้นฐานของความจริงแต่ถูกนำไปใช้เพื่อทำร้ายบุคคลองค์กร
- ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลที่ผิด (Misinformation) ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อน ข้อมูลอาจมีทั้งจริงและเท็จผสมกัน ผู้ส่งสารตั้งใจจะส่งข่าวออกไป แต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่าข่าวนั้นมีข้อมูลที่ผิดพลาดอยู่ เช่น ข่าวลือต่างๆ
- ข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) เป็นข้อมูลที่ถูกเผยแพร่โดยรู้ว่าไม่เป็นความจริงและตั้งใจก่อให้เกิดความเสียหายเพื่อผลประโยชน์ และข้อมูลบิดเบือนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
3.1 Click-Bait เป็นข่าวที่ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปอ่านหลงกลดลึกเข้าไปเพื่อเรียกยอดวิวในเว็บไซต์นั่นเอง
3.2 การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง
3.3 ข้อมูลบิดเบือนทางการเมือง
3.4 ข้อมูลบิดเบือนจากรัฐบาล
- ผลกระทบของ Fake News
- ผู้รับได้ข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด อาจส่งผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น แชร์ข้อมูลว่าดื่มน้ำมะนาวช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ผู้ป่วยอาจเลิกไปรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดกับหมอ ทำให้มะเร็งลุกลามถึงขั้นเสียชีวิต
- ผู้รับเกิดความตระหนกตกใจ เช่น ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับภัยพิบัติ หรือโรคระบาดต่าง ๆ อาจทำให้ผู้คนแตกตื่น แห่กักตุนของกินของใช้ หรือไปเข้าคิวฉีดวัคซีนป้องกันโรคซึ่งไม่เกิดขึ้นจริง ข่าวการเมืองหรือนโยบายของรัฐที่อาจทำให้หุ้นขึ้นหรือลง นักลงทุนเทขายหุ้นหรือซื้อเพื่อเก็งกำไร
- ผู้ถูกแอบอ้างได้รับความเสียหาย เช่น ถูกล้อเลียน ดูหมิ่น กลั่นแกล้งรังแก (bully) เพราะข้อมูลเท็จที่เกิดจากการตัดต่อให้ดูตลกขบขัน ถูกเกลียดชังจากข้อมูลเท็จเชิงใส่ร้ายป้ายสี หรือตัวอย่างข่าวดาราดังป่วยหนักใกล้เสียชีวิต ทำให้ประชาชนสงสาร มิจฉาชีพฉกฉวยโอกาสเรี่ยไรเงินช่วยเหลือครอบครัวดาราดัง
- ข้อมูลที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น ข้อมูลเท็จทางด้านการเมือง ข่าวสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาจนำไปสู่ความไม่สงบสุขในสังคม สร้างปัญหาระหว่างประเทศได้
- แนวทางป้องกันข้อมูลบิดเบือนหรือข้อมูลเท็จ
- การตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact-checking เช่น การพิสูจน์อักษร การใช้เครื่องมือออนไลน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าว เช่น ค้นหาประวัติโปรไฟล์ของผู้โพส
- ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ไม่หลงเชื่อเนื้อหาที่ได้อ่าน ให้ศึกษาพิจารณาอย่างรอบคอบ
- สื่อควรคำนึงถึงหลักจริธรรมก่อนทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
- ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)
- การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้รับให้บุคลากรภายในองค์กรทราบ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางป้องกันหน่วยงานหรือองค์กรในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะ และการบริโภคข้อมูลข่าวสารต่อไป